ลักษณะโครงสร้างชั้นดินเหนียวกรุงเทพ หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า Bangkok Clay

ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินท่ีตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ํา โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณน้ีเม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ําและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10-15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป

ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok Clay) มีลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของดิน ดังนี้

  • ชั้น Crust ที่มีความลึกประมาณ 0-2 เมตร ดินเหนียวชั้น Crust เป็นดิน เหนียวชั้นบนสุด ที่มีการแปรสภาพของดินจากกระบวนการ Weathering leaching และ cementation ทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีค่าความชื้นในดิน (Moisture Content) ลดลงทำให้กำลังสูงขึ้น
  • ถัดลงไปจะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนมาก (Soft Clay) มีความลึกประมาณ 7-15 เมตร
  • ชั้นถัดลงไปจะเป็น ชั้นดินเหนียวแข็ง (Stiff Clay) มีความลึกประมาณตั้งแต่ ประมาณ 15-24 เมตร เป็นต้น จนเจอชั้นทรายชั้นแรกและจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็ง

Bangkok Clay

การทำฐานรากบนชั้นดินเหนียวอ่อนของกรุงเทพมหานคร (Bangkok Clay)

  • พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีลักษณะชั้นดินแบบดินเหนียวอ่อนปากแม่น้ำหรือเป็นดินตะกอนที่ถูกพัดมาทับถมกัน หนาประมาณ 18 เมตร มีชื่อเฉพาะว่า Bangkok Clay
  • ดินชั้นบนของ Bangkok Clay ดินเหนียวอ่อน (Soft Clay) หนาประมาณ 12–15 เมตร รับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ไม่ได้
  • โดยทั่วไปต้องวางเข็มไปที่ชั้นดินเหนียวแข็ง (Stiff Clay) จนไปถึงชั้นทรายชั้นที่ 1 ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 19–27 เมตร
  • หากสิ่งก่อสร้างมีน้ำหนักบรรทุกมากขึ้น เช่น อาคารสูงตั้งแต่ 20 ชั้นขึ้นไป อาจต้องวางเข็มไปที่ชั้นดินเหนียวแข็งมาก (Hard Clay) หรือชั้นทรายชั้นท่ี 2 ซึ่งอาจพบที่ความลึกตั้งแต่ 38–49 เมตร เป็นต้นไป ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องวางปลายเข็มไว้ในชั้นทรายชั้นท่ี 3 ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 54–55 เมตร เป็นต้นไป

Foundation on Soft Bangkok Clay

การตอกเสาเข็มเพื่อทำฐานราก บนชั้นดินเหนี่ยวอ่อนบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล (Bangkok Clay) ถ้าเป็นบ้านและอาคารทั่วไป ค่าเฉลี่ยความลึกอยู่ที่ 21 เมตร และเนื่องจากว่าการจะทำเสาเข็มท่อนเดียวให้มีความยาว 21 เมตร เป็นเรื่องที่ยากมาก ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาทำเสาเข็มออกเป็นท่อนสั้นๆ แล้วนำมาเชื่อมต่อกันโดยการเชื่อมเหล็กรัดปลอกเสา

เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์จะผลิตให้มีความยาวท่อนละ 1.5 เมตร เพื่อให้สามารถเข้าทำงานในแค่แคบและมีความสูงจำกัดได้ สามารถดูรายละเอียดของเสาเข็มสปันไมโครไพล์ได้ที่นี่ ส่วนการจะเช็คว่าเสาเข็มที่ตอกไปมีความลึกจนถึงระดับที่สามารถรับน้ำหนักของตัวโครงสร้างอาคารหรือยัง จะใช้วิธีที่เรียกกันว่า Last 10 Blow คือนับการปล่อยลูกตุ้มครบ 10 ครั้ง แล้วขีดเส้นเพื่อทำเครื่องหมายไว้ที่เสาเข็ม 1 เส้น จากนั้นก็ตอกต่อไปอีก 10 ครั้ง แล้วขีดเส้นเส้นที่เสาเข็มใหม่ ถ้าหากว่าเส้นที่เราทำเครื่องหมายไว้อยู่ชิดกันตามในรูป นั่นหมายถึงว่าเสาเข็มที่เราตอกลงไปอยู่ในระดับดินที่สามารถรองรับน้ำโครงสร้างอาคารได้

เสาเข็มสปันไมโครไพล์

แหล่งข้อมูล – สภาวิศวกร