การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

เนื่องจากเมื่อหลายวันก่อนที่ผ่านมานั้นผมได้โพสต์อธิบายเพื่อนๆ ให้เข้าใจถึงเหตุผลว่า เพราะ เหตุใดหน้าตัดของโครงสร้าง คอร นั้นจึงมีความแข็งแรง สามารถที่จะ รับ นน บรรทุก และ ต้านทางการโก่งตัว ที่มากกว่าหน้าตัดของโครงสร้าง คสล แต่ การที่ผมระบุเช่นนั้น ก็มิได้ต้องการที่จะสื่อกับเพื่อนๆ ว่า ให้ทำการ ละทิ้ง หรือ ไม่ทำการ ตรวจสอบสภาวะทั้งทางด้าน กำลัง (STRENGTH) และสภาวะการ ใช้งาน (SERVICEABILITY) ต่างๆ ของโครงสร้างนะครับ

โดยเฉพาะการตรวจสอบทางด้านสภาวะการใช้งาน เช่น ค่าการสั่นตัว (VIBRATION) ค่าการโก่งตัว (DEFLECTION) เป็นต้น ในการออกแบบโครงสร้างการตรวจสอบสภาวะการใช้งานเหล่านี้ก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่เสมอ เพราะ ต่อให้ไม่ใช่โครงสร้าง คสล แต่เป็นโครงสร้าง คอร ก็ตาม เราก็ต้องไม่ลืมว่า ในกระบวนของการอัดแรงนั้นสามารถที่จะทำได้ทั้งหมด 3 แบบใหญ่ๆ คือ

(1) กรรมวิธี FULLY PRESTRESSING
การอัดแรงแบบนี้ คือ ในสภาวะ นน บรรทุกใช้งาน เราจะไม่ยินยอมให้เกิดแรงเค้นดึง (TENSILE STRESS) ขึ้นในหน้าตัดเลย (ZERO TENSILE STRESS) ซึ่งการอัดแรงด้วยวิธีการแบบนี้จะใช้งบประมาณค่อนข้างแพงมากๆ

(2) กรรมวิธี LIMITED PRESTRESSING
การอัดแรงแบบนี้ คือ ในสภาวะ นน บรรทุกใช้งาน เราจะยอมให้ค่าแรงเค้นดึง (TENSILE STRESS) เกิดขึ้นได้ในหน้าตัด หรือ
พูดง่ายๆ คือ หน้าตัดของเราจะไม่ใช่หน้าตัดที่มีแรงเค้นดึงเท่ากับ 0 (ZERO TENSILE STRESS) อีกต่อไป แต่ ก็มีข้อแม้ว่าแรงเค้นดังกล่าวจะต้องมีค่า ต่ำกว่า ค่าแรงเค้นดึงที่จะทำให้หน้าตัดนั้นเกิดการแตกร้าว (CRACKING STRESS) ซึ่งการอัดแรงด้วยวิธีการแบบนี้จะช่วยทำให้เกิดความประหยัดมากกว่าวิธีการที่ (1) มาก แต่ อาจกล่าวได้ว่าการอัดแรงแบบนี้มักไม่เป็นที่นิยม เพราะ โครงสร้างจะมีพฤติกรรมจริงๆ ที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันกับวิธีการอัดแรงแบบนี้

(3) กรรมวิธี PARTIALLY PRESTRESSING
การอัดแรงแบบนี้ คือ ในสภาวะ นน บรรทุกใช้งาน เราจะยอมให้ค่าแรงเค้นดึงเกิดขึ้นได้ สูงกว่า ค่าแรงเค้นดึงที่จะทำให้หน้าตัดนั้นเกิดการแตกร้าวได้ (CRACKING STRESS) แต่ ก็มีข้อแม้ว่าค่าแรงเค้นดึงดังกล่าวจะต้องมีค่า ต่ำกว่า ค่าแรงเค้นดึงที่ยอมให้ของหน้าตัด (PERMISSIBLE STRESS) และ แน่นอนว่าการอัดแรงแบบนี้ก็เท่ากับว่าเรายอมให้หน้าตัดนั้นสามารถเกิดการแตกร้าวได้เล็กน้อย ซึ่งวิศวกรผู้ออกแบบก็ต้องทำการคำนวณและตรวจสอบดูว่ารอยแตกร้าวดังกล่าวนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่ ? ซึ่งการอัดแรงด้วยวิธีการแบบนี้จะช่วยทำให้เกิดความประหยัดมากกว่าวิธีการที่ (1) และ (2) ค่อนข้างมาก และ อาจกล่าวได้ว่าการอัดแรงแบบนี้จะมีความสอดคล้องกันกับพฤติกรรมจริงๆ ของโครงสร้าง

หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่าจากทั้ง 3 วิธีการอัดแรงที่ผมกล่าวถึงข้างต้น จะทำให้หน้าตัดนั้นมีค่าโมดูลัสความเฉื่อยของหน้าตัดที่แตกต่างกัน โดยในแบบที่ (1) หน้าตัดจะเป็นแบบ

I section = I zero tension < I cracked < I allowable tension

ในแบบที่ (2) หน้าตัดจะเป็นแบบ

I zero tension < I section = I cracked < I allowable tension

และในแบบที่ (3) หน้าตัดก็จะเป็นแบบ

I zero tension < I cracked < I section = I allowable tension

โดยที่เราทราบดีอยู่แล้วว่ายิ่งหน้าตัดมีค่า โมดูลัสความเฉื่อย ที่ น้อย ก็จะสามารถต้านทานการโก่งตัวได้น้อยกว่าหน้าตัดที่มีค่า โมดูลัสความเฉื่อย ที่มีค่ามากมาก ดังนั้นในสภาวะที่ นน บรรทุกใช้งานเท่าๆ กัน และ คุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุเหมือนๆ
กัน แต่ แตกต่างกันที่กรรมวิธีในการอัดแรงเท่านั้นอาจสรุปได้ว่า

I (1) > I (2) > I (3)

ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้

Δ (1) < Δ (2) < Δ (3)

ดังนั้นทางที่ดีแล้ว ไม่ว่าเราจะเลือกทำการ PRE-STRESSING ตามกรรมวิธีการอัดแรงแบบใดก็ตามแต่ การตรวจสอบค่าต่างๆ ในสภาวะการใช้งาน โดยเฉพาะค่า DEFLECTION จึงยังคงมีความจำเป็นอยู่เสมอนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com