ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของเพื่อนของผมท่านหนึ่งที่ได้ทำการส่งข้อความเข้ามาทางอินบ็อกซ์เพื่อที่จะปรึกษาเกี่ยวกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง ซึ่งตอนแรกที่ผมได้ยินคำถามก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไรใหญ่โตนัก แต่ คิดไปคิดมาก็ทำให้นึกไปว่า หากเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนไปเจอเข้ากับตัวเองก็อาจที่จะยังไม่ทราบวิธีในการแก้ปัญหาข้อนี้เช่นกัน ผมจึงตัดสินใจที่จะนำปัญหาข้อนี้มาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ปัญหาข้อนี้ก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับ วิธีในการตรวจสอบจำนวนรอบในการทาสีกันสนิมนะครับ

 

ตามปกติแล้วหากว่าในงานวิศวกรรมโครงสร้างของเรานั้นมีงานจำพวก วิศวกรรมโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้งานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กของเรานั้นมีอายุการใช้งานที่คงทนในระดับที่น่าพึงพอใจ เราก็มักที่จะเห็นว่าผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนั้นๆ ก็มักที่จะทำการกำหนดเอาไว้ในแบบอย่างชัดเจนว่า จะต้องมีการทาผิวของเหล็กรูปพรรณด้วยสีกันสนิมด้วยนะครับ

 

หากอ้างอิงตาม TOA RED OXIDE ซึ่งเป็นสีกันสนิมเจ้าที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากเจ้าหนึ่งในบ้านเรา ก็มักที่จะมีการกำหนดเอาไว้ว่า เมื่อสีแห้งแล้วชั้นของสีกันสนิมจะต้องมีความหนาของสีกันสนิมที่มากกว่าหรือเท่ากับ 40 MICRON ซึ่งตามปกตินั้นในการทาสีกันสนิมเพียง 1 รอบ เราจะได้ค่าความหนาของสีกันสนิมโดยเฉลี่ยที่ไม่ค่อยแน่นอนเท่าใดนักนะครับ โดยประมาณแล้วค่าของความหนาในการทาต่อ 1 รอบ ก็จะอยู่ระหว่าง 10 ถึง 30 MICRON ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วเราจึงมักที่จะทำการการกำหนดให้ทำการทาผิวเหล็กด้วยสีกันสนิมนั้นอย่างน้อยตั้งแต่ 2 รอบ ขึ้นไป แต่ ปัญหาที่เรามักจะพบก็คือ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ช่างเหล็กได้ทำการทาผิวเหล็กด้วยด้วยสีกันสนิมครบจำนวน 2 รอบ ตามที่เราได้ทำการกำหนดเอาไว้ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองนะครับ

 

เทคนิคที่ผมจะขออนุญาตนำมาแนะนำแก่เพื่อนๆ ในวันนี้ซึ่งถือได้ว่ามีความตรงไปตรงมามากที่สุดเลยก็คือ ทำการตรวจสอบโดยการอาศัยเครื่องมือที่จะทำหน้าที่วัดความหนาของชั้นฟิล์มสีกันสนิมโดยตรงเลยนะครับ ซึ่งในสมัยนี้เจ้าเครื่องมือชนิดนี้มีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก กะทัดรัด สามารถที่จะพกพาไปไหนมาไหนได้โดยสะดวก บางยี่ห้อหรือบางรุ่นสามารถที่จะเชื่อมต่อเข้ากันกับแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟนได้อีกต่างหาก จึงทำให้การใช้งาน การอ่านค่าต่างๆ ที่ทำการทดสอบได้นั้นสามารถที่จะทำได้ด้วยความง่ายดายมากกว่าแต่ก่อนมากๆ และ หากเจ้าเครื่องนี้ทำงานตามปกติและไม่มีปัญหาใดๆ ก็มักที่จะทำการตรวจสอบค่าชั้นความหนาของสีกันสนิมได้อย่างแม่นยำและให้ผลที่มีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ควบคุมงานที่จะต้องหมั่นและมีความขยันในการสุ่มตรวจสอบว่าชั้นความหนาของสีกันสนิมนั้นมีการทาที่ได้ชั้นความหนาที่เพียงพอและทั่วถึงอีกด้วยนะครับ

 

สำหรับอีกวิธีการหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นวิธีการบ้านๆ ลูกทุ่งๆ หน่อยก็คือ กำหนดให้ใช้สีกันสนิมในการทาทั้ง 2 รอบ นั้นเป็นคนละสีกัน โดยกำหนดให้ทำการทารอบแรกด้วยสีๆ หนึ่ง จากนั้นก็ต้องอาศัยลูกขยันเพื่อทำการตรวจสอบการทาสีในชั้นแรกเสียก่อน เมื่อตรวจสอบเสร็จก็ค่อยทำการสั่งให้ช่างทาสีกันสนิมรอบที่สองด้วยสีอีกสีหนึ่ง ซึ่งหากการทาในรอบที่สองนั้นยังคงเห็นสีที่ทาในรอบแรกอยู่ ก็ต้องถือว่าการทานั้นยังใช้ไม่ได้ ต้องทาจนกว่าจะมองไม่เห็นสีที่ทาไปในชั้นแรก ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้มีการชี้วัดด้วยค่าอะไรที่เป็นระบบระเบียบเท่าใดนัก อาศัยประสบการณ์ของช่างล้วนๆ กันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากเป็นงานที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย ที่ต้องการมาตรฐานการทำงานที่ค่อนข้างสูง ผมคิดว่าวิธีการนี้ไม่น่าที่จะมีความเหมาะสมในการนำมาใช้งานนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาการตรวจสอบชั้นความหนาในการทาผิวเหล็กด้วยสีกันสนิม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com