วิธีในการคำนวณ ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินของฐานรากแบบตื้น หรือ BEARING CAPACITY OF SOIL FOR SHALLOW FOUNDATION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเริ่มต้นทำการให้คำแนะนำและทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนให้ได้มีความรู้พื้นฐานรวมไปถึงการทำความรู้จักกันกับวิธีในการคำนวณ ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินของฐานรากแบบตื้น หรือ BEARING CAPACITY OF SOIL FOR SHALLOW FOUNDATION กันนะครับ

 

ตามปกติแล้วการคาดคะเนกำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินที่ทำหน้าที่ในการรองรับฐานราก แบบตื้น หรือ แบบแผ่ ของอาคารใดๆ ก็ตามแต่ ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกๆ ของการออกแบบฐานรากชนิดนี้เลยนะครับ ซึ่งวิธีในการคาดคะเนค่าๆ นี้สามารถทำได้โดยหลากหลายวิธีการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอาไว้ ประกอบกับการใช้ประสบการณ์โดยจะนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้จากผลการเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อนำไปใช้คำนวณหาขนาดและรายละเอียดอื่นๆ ของฐานรากตื้นต่อไป ทั้งนี้วิธีการในการทำการคาดคะเนนี้อาจจะทำได้โดยอาศัย 3 แนวทางหลักๆ คือ

 

  1. การคาดคะเนจากคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของมวลดินโดยตรง
  2. การคาดคะเนจากผลการทดสอบมวลดินในสนามโดยตรง
  3. การคาดคะเนจากผลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกโดยใช้แผ่นเหล็กในสนามโดยตรง

 

ซึ่งแต่ละแนวทางข้างต้นถือว่ามีทั้ง ข้อดี และ ข้อเสีย เพราะฉะนั้นวิศวกรธรณีอาจจะเลือกใช้มากกว่า1 วิธีการในการคาดคะเนกำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของมวลดินได้ และ ในเมื่อจริงๆ แล้วฐานรากแบบตื้น คือ ฐานรากที่ต้องสามารถที่จะกระจายน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างผ่านฐานรากลงไปบนชั้นดินที่มีความแข็งแรงพอสมควรในระดับประมาณ 1 เมตร ถึง 3 เมตร จากผิวดิน เมื่อเราอาศัยวิธีการคาดคะเนข้างต้นไปแล้วเราเกิดพบว่า ดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ครบถ้วน เราถึงจะทำการตัดสินใจและกำหนดให้ชั้นดินนั้นๆ ของเราสามารถที่จะใช้เป็นฐานรากแบบตื้นได้ โดยที่เงื่อนไขต่างๆ ที่ถือได้ว่าเป็น พื้นฐาน ในการคำนึงถึงนั้นควรที่จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 ประการดังต่อไปนี้

 

1) ชั้นดินที่จะทำหน้าที่รองรับฐานรากแบบตื้นนี้จะต้องมีความแข็งแรงที่เพียงพอ โดยพิจารณาจากค่าการตอก ทดสอบ หรือ การทำ SPT ที่มีค่า N มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ครั้ง/ฟุต หรือ มีค่า qu หรือค่า UCS ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 15 ตัน/ตร.เมตร

2) จะต้องไม่พบว่ามีชั้นดินเหนียวอ่อนที่จะทำให้เกิดการทรุดตัวที่ มาก หรือ ทรุดตัวแตกต่างกัน ระหว่างฐานอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าระดับฐานรากลงไปเลย

3) เมื่อตรวจสอบดูแล้วต้องพบว่า ลักษณะการจัดเรียงตัวของชั้นดินที่จะใช้วางฐานรากตื้นนั้นต้องค่อนข้างที่จะมีความสม่ำเสมอดี

4) ชั้นดินที่จะใช้วางฐานรากตื้นนั้นต้องไม่อยู่ในบริเวณที่เป็น ร่องน้ำ หรือ ลำน้ำ ที่อาจจะเกิดการกัดเซาะมากจนต่ำกว่าระดับของฐานรากตื้นได้

 

ผมต้องขอย้ำอีกสักหนึ่งครั้งนะครับว่า ขั้นตอนในการคำนึงถึงข้างต้นเป็นเพียง พื้นฐาน เท่านั้น เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ จึงควรที่จะเข้าใจไว้ด้วยว่าข้อบ่งชี้ข้างต้นนั้น ไม่ถือว่าเป็นข้อสรุป หรือ หลักการที่ตายตัว สำหรับการเลือกใช้ฐานรากแบบตื้น แต่ หากว่าเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดนั้นไม่เป็นไปตามนี้แล้ว การตัดสินใจที่จะเลือกใช้ฐานรากแบบตื้นบนชั้นดินนั้นๆ จะต้องทำโดยมีความระมัดระวังและจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบการออกแบบที่มากเป็นพิเศษน่ะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#เริ่มต้นแนะนำวิธีในการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของดินเพื่อใช้วางฐานรากแบบตื้น

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com