ปัญหาการเลือกวิธีการก่อสร้างต่อเติมหลังคา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


เพื่อนๆ มีบ้านซึ่งทำจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กอยู่หลังหนึ่งซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งบ้านหลังนี้ก็มีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว หากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างต่อเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างหลังคาให้มีการขยายออกไปจากส่วนที่เป็นอาคารเดิมของเพื่อนๆ ซึ่งเงื่อนไขของงานก่อสร้างมีเพียงประการเดียวเลยก็คือ เพื่อนๆ ไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่าส่วนของโครงสร้างเดิมของอาคารหลังนี้นั้นมีรายละเอียดและสภาพเป็นเช่นใดหรือมีความแข็งแรงอยู่ในระดับใดกันแน่ เพื่อนๆ จะเลือกวิธีในการก่อสร้างส่วนโครงสร้างหลังคาให้มีการขยายออกไปจากส่วนที่เป็นอาคารเดิมของเพื่อนๆ ด้วยวิธีตามกรณีใดระหว่าง

กรณีที่ 1 คือ ทำการเชื่อมโครงสร้างหลังคาเหล็กรูปพรรณส่วนใหม่ให้เข้าไปยึดติดกันกับโครงสร้างส่วนเดิมของอาคารโดยตรงเลยนะครับ
กรณีที่ 2 คือ ทำการก่อสร้างโครงสร้างหลังคาเหล็กรูปพรรณ เสาตอม่อและฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหม่ให้มีการแยกตัวออกจากโครงสร้างส่วนเดิมของอาคารและค่อยทำการปิดรอยต่อระหว่างโครงสร้างทั้งสองส่วนนี้ด้วย FLASHING นะครับ

#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการเลือกวิธีในการก่อสร้างต่อเติมหลังคา
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาทำเลือกวิธีในการก่อสร้างต่อเติมหลังคาที่มีความเหมาะสมต่องานวิศวกรรมโครงสร้างของเราไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ


เริ่มจากกรณีที่ 1 กันก่อน ซึ่งพอพิจารณาจากรูปแบบของการก่อสร้างแล้วก็จะพบว่าเป็นกรณีของการก่อสร้างต่อเติมโครงสร้างที่เรานั้นไม่อาจที่จะทราบว่า โครงสร้างเดิมของอาคารนั้นมีรายละเอียดเป็นเช่นใดและมีระดับของความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงใดกันแน่ หากเป็นดังเช่นกรณีนี้เราไม่ควรที่จะนำเอาโครงสร้างใหม่ใดๆ ไปฝากไว้กับโครงสร้างเดิมโดยเด็ดขาดเพราะมีความเสี่ยงมากเกินไปที่เราจะคาดหวังว่าโครงสร้างเหล่านั้นจะมีความแข็งแรงมากเพียงพอ คล้ายๆ กันกับกรณีที่ผมเคยนำเอามาใช้เป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้ดูไปก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือ ส่วนของโครงสร้างหลังคานั้นจะถูกก่อสร้างขึ้นโดยการตั้งอยู่บนโครงสร้างเสาและคานเหล็กรูปพรรณ โดยที่โครงสร้างส่วนต่อเติมซึ่งก็คือโครงสร้างส่วนใหม่นั้นจะไมได้ถูกเชื่อมต่อเข้ากับโครงสร้างส่วนเดิมซึ่งก็คือโครงสร้างส่วนเก่า ดังนั้นโครงสร้างส่วนใหม่เพียงแต่จะไปแปะซ้อนอยู่ข้างใต้โครงสร้างส่วนเดิมเท่านั้น ดังนั้นหากเกิดการทรุดตัวของโครงสร้างส่วนใหม่ก็จะไม่ทำให้เกิดการดึงรั้งกันของโครงสร้างทั้งสองส่วนน่ะครับ

มาต่อกันกับกรณีที่ 2 กันบ้าง ซึ่งพอพิจารณาจากรูปแบบของการก่อสร้างแล้วก็จะพบว่าเป็นกรณีของการก่อสร้างต่อเติมโครงสร้างที่เรานั้นทราบว่า โครงสร้างเดิมของอาคารนั้นมีรายละเอียดเป็นเช่นใดและมีระดับของความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงใด ทั้งนี้ก็เพื่อเราจะได้สามารถสามารถนำเอาโครงสร้างใหม่ของเรานั้นไปฝากไว้กับโครงสร้างเดิมได้เลยโดยตรง เหมือนกันกับตัวอย่างที่ผมเคยนำเอามาฝากกับเพื่อนๆ เช่น ส่วนของหลังคาใหม่นั้นจะถูกก่อสร้างขึ้นโดยการติดตั้งอยู่โดยที่จะยื่นตัวออกมาจากอาคารเดิม ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าน้ำหนักของโครงสร้างหลังคายื่นส่วนใหม่นั้นก็จะต้องถูกนำเอาไปฝากเอาไว้กับโครงสร้างส่วนเดิมโดยตรงนั่นเอง ซึ่งสาเหตุที่ผมได้แจ้งไปว่าในการทำงานวิศวกรรมโครงสร้างตามแบบๆ นี้เราควรที่จะต้องทราบว่า โครงสร้างเดิมของอาคารของเรานั้นจะมีรายละเอียดเป็นแบบใด มีระดับของความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพราะว่าหากเราไม่มีข้อมูลหรือไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่า โครงสร้างเดิมของอาคารของเรานั้นมีคุณลักษณะเป็นเช่นใดกันแน่ มันก็จะกลายเป็นความเสี่ยงที่มากจนเกินไปหากว่าเราจะต้องนำเอาน้ำหนักของตัวโครงสร้างส่วนใหม่นั้นไปฝากเอาไว้กับโครงสร้างส่วนเดิม ซึ่งหากทุกอย่างนั้นอำนวยจริงๆ การก่อสร้างด้วยวิธีการแบบนี้ก็จะมีข้อดีหรือประโยชน์ด้วยกันหลากหลายประการเลย เช่น จะไม่มีเสาเกิดขึ้นที่บริเวณด้านล่างให้เกะกะสายตาเลย ช่วยให้ประหยัดโครงสร้างเสาเข็มและฐานรากไปได้เยอะเพราะวิธีการนี้เราได้นำเอาโครงสร้างใหม่ไปฝากเอาไว้โดยตรงกับโครงสร้างส่วนเดิม เป็นต้นนะครับ

สรุปคำตอบที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับข้อจำกัดในปัญหาข้อนี้ของเราซึ่งได้แก่การที่เพื่อนๆ นั้นไม่อาจที่จะทราบได้จริงๆ ว่าส่วนของโครงสร้างเดิมของอาคารหลังนี้นั้นมีรายละเอียดและสภาพเป็นเช่นใดหรือมีความแข็งแรงอยู่ในระดับใดกันแน่ ดังนั้นจึงควรที่จะเลือกวิธีในกรณที่ 1 นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการเลือกวิธีในการก่อสร้างต่อเติมหลังคา
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com