การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

เพื่อนๆ เคยพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่ครับ ? นั่นก็คือ เพื่อนๆ มีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างเสาเข็มเจาะ (BORED PILE) แต่ ผลจากการทดสอบดินนั้นชี้ให้เห็นได้ว่าชั้นดินที่เป็นดินเหนียว (COHESIVE SOIL) นั้นอยู่ค่อนข้างที่จะตื้น ทำให้มีระยะที่จะทำให้เกิดการรับ นน เนื่องจากแรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (SKIN FRICTION CAPACITY) และ การรับ นน ที่ปลายของเสาเข็ม (BEARING CAPACITY) ที่ค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ พูดง่ายๆ คือ นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็มที่ได้จะมีค่าน้อยกว่าค่ากำลังจริงๆ ที่เราต้องการให้เสาเข็มเจาะต้นนั้นๆ สามารถที่จะรับได้ เพราะ เพื่อนๆ ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า เราสามารถที่จะทำเสาเข็มเจาะระบบแห้ง (DRY PROCESS) ได้เฉพาะในชั้นดินเหนียวเพียงเท่านั้น ครั้นจะเจาะโดยทำให้ปลายเสาเข็มนั้นมีกำลังเพิ่มขึ้นโดยที่เป็นการเพิ่มความยาวของเสาเข็มให้ส่วนปลายของเสาเข็มเจาะนั้นหยั่งลงไปอยู่ในชั้นดินที่มีทราย (COHESIONLESS SOIL) ปนอยู่ ก็ต้องทำการปรับเปลี่ยนระบบของการเจาะให้กลายเป็นระบบเปียก (WET PROCESS) แทนซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเสาเข็มเจาะนั้นเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวเลยนะครับ

ไม่ทราบว่าหากเพื่อนๆ นั้นต้องประสบพบเจอกับปัญหาในลักษณะแบบนี้เพื่อนๆ จะมีวิธีในการแก้ปัญหาแบบนี้ได้อย่างไรกันบ้างครับ ?

หากเพื่อนๆ ต้องประสบพบเจอกับปัญหา หรือ เหตุการณ์เช่นที่ผมเล่ามานี้ วันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมานำเสนอเทคนิคดีๆ ในการแก้ปัญหาๆ นี้มาแชร์ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ

ในเมื่อการที่จะทำให้เสาเข็มเจาะนั้นมีความยาวมากๆ โดยอาศัยระบบการเจาะแบบเปียกนั้นจะมีราคาต้นทุนที่สูงกว่าระบบแห้งค่อนข้างมาก เราก็ยังสามารถที่จะทำให้ความยาวของเสาเข็มเจาะของเรานั้นมีความยาวที่มากได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำด้วยระบบเปียก แต่ ทำด้วยระบบแห้งแทนก็ได้นะครับ

งงกับวิธีการที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนี้มั้ยครับ ?

ใช่ครับ เพื่อนๆ ได้ยินไม่ผิดแน่นอน และ ไม่ต้องงงนะครับ ผมจะขออนุญาตมาทำการขยายความให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันดีกว่าครับ

วิธีการดังกล่าวนี้เรายังถือว่าเป็นระบบแห้งอยู่ เพราะ เราไม่ได้นำสารที่ทำหน้าที่รักษาสภาพผิวของหลุมเจาะ (BENTONITE) มาใช้ในการทำหลุมเจาะของเรา แต่ เมื่อเสาเข็มของเรานั้นอยู่ในชั้นดินทรายเมื่อใด เราจะป้องกันไม่ให้ น้ำที่อยู่ในชั้นดินนั้นๆ ทะลักเข้ามาในตัวหลุมเจาะของเสาเข็มได้โดยการที่เราไม่ทำการถอนแบบหล่อ (CASING) ขึ้นมานั่นเอง พูดง่ายๆ คือ เราจะคาแบบหล่อเอาไว้ โดยที่เราจะทำการถอนแบบหล่อขึ้นมาก็ต่อเมื่อระยะความลึกของเสาเข็มเจาะนั้นใกล้ที่จะได้ตามที่ได้ทำการออกแบบเอาไว้แล้วนั่นเองนะครับ

โดยวิธีการนี้จะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเสาเข็มเจาะได้เยอะมากๆ แต่ สิ่งที่เราควรที่ต้องคำนึงถึงและระมัดระวังด้วยเสมอเลยก็คือ

(1) ระยะขนาด สผก และ ความลึก ของเสาเข็มต้องมีค่าไม่มากจนเกินไป เพราะ ยิ่งเสาเข็มเจาะของเรานั้นมีขนาดและความลึกที่มากเพียงใด ก็จะทำให้ขั้นตอนในการถอนแบบหล่อขึ้นมานั้นสามารถที่จะทำได้ยากมากๆ ตามไปด้วย

(2) หากเพื่อนๆ จะใช้วิธีการนี้จริงๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผลการทดสอบดินควบคู่กับการทำเสาเข็มเจาะด้วยเสมอ เพราะ เราจะสามารถกำหนดกะเกณฑ์ชั้นดินที่เหมาะสมในการวางปลายเสาเข็มของเราได้จากการอ่านข้อมูลจากการทดสอบดินนั่นเองนะครับ

(3) วิธีการนี้ค่อนข้างที่จะมีรายละเอียดและวิธีการทำงานที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนพอสมควร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมการทำงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะนี้โดยวิศวกรที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการทำเสาเข็มเจาะระบบแห้งโดยวิธีคาแบบหล่อเอาไว้เสมอในทุกๆ ครั้งเลยนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ หากเพื่อนๆ ประสบพบเจอกับปัญหาเฉกเช่นที่ผมได้ยก ตย ไปก็สามารถที่จะนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้นะครับ ขอแค่เพียงเพื่อนๆ นั้นทำตามข้อเสนอและข้อแนะนำ ที่ผมได้ให้เอาไว้อย่างเคร่งครัดนะครับ ผมคิดว่ารายละเอียดและวิธีในการทำเสาเข็มเจาะที่ผมได้นำมาแชร์แก่เพื่อนๆ ในวันนี้น่าที่จะเป็นแนวทางที่ดี ที่จะช่วยในการแก้ปัญหาการทำเสาเข็มเจาะที่ดีวิธีการหนึ่งเลยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com