ตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะ สำหรับการเจาะสำรวจชั้นดิน ในพื้นที่ต่างจังหวัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในครั้งที่แล้วผมได้นำตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล มาฝากเพื่อนๆ พร้อมกับได้ให้คำอรรถาธิบายไปพอสังเขปแล้ว ในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตนำข้อมูลและตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังพร้อมกันกับนำข้อมูลมาถกกันด้วยว่าเพราะเหตุใดข้อมูลจากทั้งสองตารางนี้จึงมีความแตกต่างกันนะครับ

ก่อนอื่นผมอยากให้เพื่อนๆ เริ่มต้นดูรูปที่แสดงตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัดกันก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่าช่องที่แสดงค่า ความลึกของหลุมเจาะ ในตารางๆ นี้จะมีความแตกต่างออกไปจากตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล ที่เคยนำมาเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้นะครับ

โดยที่ในช่องๆ นี้ของตารางที่แสดงนี้จะไมได้แสดงค่าความลึกของหลุมเจาะตรงๆ แต่ กลับแสดงว่าระยะนี้จะมีค่าเท่ากับระยะความลึกที่เมื่อทำการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N VALUE นั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับเท่าใดนะครับ

เมื่อเพื่อนๆ เห็นความแตกต่างของทั้งสองตารางนี้แล้วเกิดความสงสัยกันหรือไม่ครับว่าเพราะเหตุใดทั้งสองตารางนี้จึงมีความแตกต่างกัน ?

ผมขออนุญาตคลายความสงสัยแก่เพื่อนๆ ดังนี้นะครับ เนื่องจากว่าสภาพชั้นดินของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลนั้นมีลักษณะของชั้นดินที่ค่อนข้างมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างออกไปจากสภาพพื้นดินในภูมิภาคอื่นๆ นะครับ กล่าวคือ สภาพดินชั้นบนๆ ในบริเวณกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลนั้นมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนที่ได้ตกตะกอนและทับถมกันเป็นชั้นดินบางๆ โดยที่ความหนาของชั้นดินที่ว่านี้จะมีความหนาเฉลี่ยโดยประมาณอยู่ที่ 18 ม ถึง 20 ม และ ที่ระดับความลึกที่มากกว่านั้นดินจะค่อยๆ ทวีความแข็งแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเด็นๆ นี้เองนะครับคือปัจจัยหลักที่ทำให้ทั้งสองตารางนี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งสภาพของชั้นดินในเขตภูมิภาคอื่นๆ นั้นค่อนข้างที่จะมีความแข็งแรงมากกว่าในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลมากๆ นะครับ โดยที่สภาพของชั้นดินในเขตภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยในบางพื้นที่นั้นก็อาจที่จะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับในเขตกรุงเทพมหานครได้นะครับ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N VALUE เป็นการยืนยันว่า ณ ความลึกของดิน ณ ชั้นนั้นๆ มีความแข็งแรงมากเพียงพอแล้วนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมได้นำหลักการในการกำหนดความลึกและตำแหน่งในการเจาะสำรวจตัวอย่างดินที่กล่าวไว้ในเอกสารที่ใช้ในการอบรมการสำรวจชั้นดิน การออกแบบและการก่อสร้างงานฐานราก หน้า 312 ซึ่งจัดโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในปี พศ 2550 ด้วยนะครับ

โดยการกำหนดความลึกนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความแปรปรวนของชั้นดิน น้ำหนัก และ ความสำคัญ ของสิ่งก่อสร้าง โดยที่เราอาจจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้นะครับ

1) จะต้องมีหลุมเจาะนาร่อง ที่ตำแหน่งสำคัญที่สุดในฐานรากนั้น เช่นบริเวณที่น้าหนักลงมากที่สุด อาคารที่สูงสุดในพื้นที่ก่อสร้าง หลุมนาร่องนี้ต้องมีอย่างน้อย 1 จุด

2) จะต้องมีหลุมเจาะครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะการกระจายออกคลุมพื้นที่บริเวณฐานรากทั้งหมด เพื่อให้ทราบความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินในแนวราบ โดยมีระยะตามข้อเสนอแนะในตารางที่ผมได้นำมาฝากๆ เพื่อนๆ ไปแล้วนะครับ

3) จะต้องมีหลุมเจาะเสริม หรือ การทดสอบในสนาม หรือการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ๆ มีความกว้างมาก หรือ เป็นแนวยาวมากๆ นะครับ

ยังไงในตอนสุดท้ายนี้ผมก็ยังอยากที่จะขอเน้นย้ำกับเพื่อนๆ อีกครั้งก็แล้วกันนะครับว่าการทดสอบดินนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเริ่มต้นการทำงานในโครงการก่อสร้าง เพราะ หากขาดขั้นตอนนี้ไปแล้วในไม่ช้าก็เร็ว ก็อาจจะทำให้เรานั้นต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมายในการทำการก่อสร้างได้นะครับ ดังนั้นก็ขออย่าให้เพื่อนๆ นั้นมองข้ามขั้นตอนการทำงานนี้ไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com