โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาเล่าต่อให้จบถึงหัวข้อที่ผมได้ค้างเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวันก่อนนะครับ นั่นก็คือเรื่องประเภทหลักๆ ของโครงสร้างคอนกรีตที่มีการใช้งานกันในวงการวิศวกรรมโยธาของบ้านเรา

โดยที่เราสามารถแบ่งประเภทของโครงสร้างคอนกรีตออกได้เป็นทั้งหมด 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
(1) โครงสร้างคอนกรีตล้วน
(2) โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
(3) โครงสร้างคอนกรีตอัดแรง
(4) โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม

(รูป A)

(รูป B)

 

(รูป C)

(รูป D)

โดยเมื่อวันก่อนผมได้อธิบายหัวข้อที่ (3) ไปแล้วและในวันนี้ผมจะขอจบการอธิบายในหัวข้อที่ (4) ซึ่งเป็นหัวข้อสุดท้ายกันนะครับ

(4) โครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดผสม

หน้าตัดของโครงสร้างหน้าตัดผสมนี้จะคล้ายคลึงกับในหัวข้อที่ (2) ที่ผมเคยอธิบายไปก่อนหน้านี้นะครับ แตกต่างกันที่ในหัวข้อที่ (2) จะใช้เป็นวัสดุหลักๆ เพียงคอนกรีตและเหล็กเส้นเท่านั้น แต่ในหัวข้อนี้วัสดุหลักๆ ที่นำมาใช้ในการช่วยรับกำลังของหน้าตัดคอนกรีตจะไม่ใช่เหล็กเส้นเพียงอย่างเดียวแล้ว โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเสริมการรับกำลังนั้นอาจเป็นวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติไปจนถึงวัสดุที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตและสังเคราะห์ออกมาก่อน เช่น ไม้ไผ่ พลาสติกไฟเบอร์ เหล็กแผ่นพื้น เหล็กรูปพรรณและเหล็กเส้น (ดูได้จากบรรดารูปตัวอย่าง A B C และ D ที่แนบมาด้วยนะครับ) เป็นต้น

(รูป E)

ทั้งนี้ประเภทของหน้าตัดประเภทนี้จะทำการวิเคราะห์และออกแบบโดยที่มีขั้นตอนและวิธีการออกแบบที่ค่อนข้างจะยากและซับซ้อนกว่าหน้าตัดประเภทอื่นๆ ค่อนข้างมาก (ดูได้จากรูปตัวอย่าง E ที่แนบมาด้วยนะครับ) เพราะการจะนำวัสดุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาประกอบให้เป็นหน้าตัดเดียวกันโดยให้การทำงานของหน้าตัดนี้เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่จะต้องได้รับการออกแบบโดยขั้นตอนที่ค่อนข้างจะละเอียด ทั้งนี้ก็เพื่อให้หน้าตัดๆ นี้สามารถที่จะถ่ายแรงซึ่งกันและกันให้มากที่สุดและเพื่อให้พฤติกรรมของหน้าตัดนั้นเกิดขึ้นใกล้เคียงกับหน้าตัดที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันให้มากที่สุดนั่นเองครับ

 

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในเรื่อง ประเภทหลักๆ ของโครงสร้างคอนกรีตที่มีการใช้งานกันในวงการวิศวกรรมโยธาของบ้านเรา ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในหลายๆ วันที่ผ่านมานั้นจะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์