สิ่งที่มักจะลืม ในการออกแบบโครงหลังคา TRUSS เหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งที่วิศวกรออกแบบหลายๆ ท่านมักจะลืมเวลาที่ทำการออกแบบโครงหลังคา TRUSS เหล็ก นั่นก็คือเรื่อง BRACING นั่นเองครับ

หากพิจารณาถึงเนื้อที่หน้าตัดของโครงสร้างที่มีขนาดเท่าๆ กันระหว่างวัสดุ คอนกรีต และ เหล็ก จะพบว่าวัสดุคอนกรีตนั้นจะมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าโครงสร้างเหล็กอยู่ประมาณ 10 เท่านะครับ ดังนั้นหากเราทำการออกแบบโครงสร้างด้วยวัสดุที่เป็นเหล็ก เราจะพบว่าชิ้นส่วนของโครงสร้างที่ใช้ในองค์อาคารของเราจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้โครงสร้างเหล็กนั้นจะมีสัดส่วนที่ค่อนข้างจะมีความชะลูดที่มากกว่าโครงสร้างคอนกรีต ทำให้หากเราเลือกใช้วัสดุของโครงสร้างที่ทำจากเหล็ก ก็จะทำให้ตัวโครงสร้างที่ทำจากเหล็กนั้นมีโอกาสที่จะวิบัติเนื่องจากการที่ตัวโครงสร้างนั้นเกิดการสูญเสียเสถียรภาพที่สูงกว่าการที่เราเลือกใช้วัสดุที่เป็นคอนกรีตนะครับ

หากเพื่อนๆ สังเกตตัวโครงสร้างเหล็กจะพบว่าโครงสร้างเหล็กนั้นจะมีจุดต่อที่ค่อนข้างที่จะมีความยืดหยุ่นตัวที่สูง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องทำการยึดรั้งโครงสร้าง (STRUCTURAL BRACING) ให้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มเสถียรภาพ และ ความแข็งแรงทางด้านข้างให้แก่อาคาร โดยอาจจะทำการยึดรั้งทั้งระหว่างช่วงโครงเหล็ก (FRAME BRACING) และ ช่วงหลังคา (ROOF BRACING) เหมือนดัง ตย ที่แสดงในรูปนะครับ
ส่วนมากแล้วองค์อาคารที่ใช้ในการยึดรั้งมักจะเป็นโครงสร้างชนิดที่รับแรงดึงเพียงอย่างเดียวเนื่องมาจากว่าชิ้นส่วนนั้นจะมีความยาวช่วงที่ค่อนข้างมาก โดยเราอาจใช้ลวดสลิง หรือ เหล็กเส้นกลม ก็ได้ ซึ่งจะต้องติดตั้งให้มีความตึง คือ ต้องมีแรงดึงเกิดขึ้น ชิ้นส่วนโครงสร้างนี้จึงจะทำงานได้ ดังนั้นเราจึงมักที่จะใช้อุปกรณ์ขันเร่งเกลียว หรือ ที่เรานิยมเรียกเป็นศัพท์ทางเทคนิคว่า TURNBUCKLE โดยประเด็นสำคัญของการเลือกใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างชนิดนี้ คือ ของเราต้องทำการขึงให้ตึงด้วย ชิ้นส่วนโครงสร้างนี้จึงจะสามารถทำหน้าที่เป็นชิ้นส่วนยึดรั้งตามที่เราต้องการได้นะครับ

ผมจะพยายามหาเวลาที่จะมาแสดง ตย วิธีในการ คำนวณ และ ออกแบบ เจ้า BRACING และ TURNBUCKLE กันนะครับ เพื่อนๆ ที่สนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้ในโอกาสหน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com