ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายถึงเรื่อง ความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับฐานรากแบบลึก (DEEP FOUNDATION) กันต่อก็แล้วกันแต่ก่อนอื่นผมจะขออนุญาตเท้าความก่อนสักเล็กน้อยว่าเป็นที่ทราบกันดีก่อนหน้านี้ว่าหากเราจะทำการแบ่งประเภทของฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบรรทุกต่างๆ จากอาคารเพื่อถ่ายต่อลงไปสู่ดินเราจะสามารถทำการจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

 

1.ฐานรากแบบตื้น

2.ฐานรากแบบลึก

 

ดังนั้นสำหรับของ ฐานรากแบบลึก เราจะพบว่าค่าคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงความแข็งแรงของชั้นดินนั้นจะดีกว่า ฐานรากแบบตื้น (SHALLOW FOUNDATION) ดังนั้นวิธีในการที่เราจะทำการประเมินเรื่องความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินนั้นก็จะสามารถทำได้ด้วยความง่ายดายกว่ามาก แต่ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการกำหนดให้ความลึกของหลุมทดสอบให้มีขนาดความลึกที่มากกว่า ฐานรากแบบตื้น ด้วยเช่นกันครับ

 

สำหรับวิธีการในการประเมินเรื่องความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินสำหรับ ฐานรากแบบลึก นั้นมีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ครับ

 

เริ่มจากเราควรที่จะทำการประมาณคร่าวๆ ออกมาก่อนว่า ขนาดความยาว ของเสาเข็มที่คาดหมายว่าเราจะทำการกำหนดให้ใช้ภายในโครงการก่อสร้างนั้นจะมีขนาดความลึกของเสาเข็มเท่ากับเท่าใด โดยเราจะให้ความลึกของเสาเข็มนี้มีค่าเท่ากับระยะ D โดยที่ความลึกของหลุมทดสอบในส่วนที่ 1 หรือค่า H1 นั้นจะมีค่าเท่ากับประมาณ 2/3 เท่าของระยะ D หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H1 = 2D/3

 

จากนั้นเราก็จะทำการประมาณการขนาดความกว้างที่มากที่สุดของฐานรากออกมาว่าจะมีขนาดโดยประมาณออกมาเท่ากับเท่าใด โดยเราจะให้ความกว้างของฐานรากนี้มีค่าเท่ากับระยะ B โดยที่ความลึกของหลุมทดสอบในส่วนที่ 2 หรือค่า H2 นั้นจะมีค่าเท่ากับประมาณ 3/2 เท่าของระยะ B หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H2 = 3B/2

 

สุดท้ายระยะความลึกของหลุมเจาะในการทดสอบชั้นดินสำหรับ ฐานรากแบบลึก หรือค่า H ก็คือการรวมผลกันระหว่างค่าความลึกในส่วนที่ 1 และ ค่าความลึกในส่วนที่ 2 ที่เราได้ทำการคำนวณเอาไว้ข้างต้น หรือ อาจจะเขียนง่ายๆ ให้อยู่ภายในรูปแบบของสมการการคำนวณได้ว่า

 

H = H1 + H2

 

ยังไงในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างการคำนวณหาค่าความลึกของหลุมเจาะเพื่อทำการทดสอบดินสำหรับ ฐานรากแบบตื้น และ ฐานรากแบบลึก กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความฉบับนี้ของผมได้ในครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#รายละเอียดวิธีในการประเมินในเรื่องของความลึกของหลุมทดสอบดินของฐานรากแบบลึก

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com