เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล (CHEMICAL ANCHOR STEEL)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

เนื่องจากมีเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งของผมท่านหนึ่งได้สอบถามผมมาในอินบ็อกซ์เกี่ยวกับเรื่อง เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล (CHEMICAL ANCHOR STEEL) โดยมีรายละเอียดพอจับใจความได้ว่า

“ผมมีความจำเป็นต้องเลือกใช้งานเคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล จึงอยากจะสอบถามผมว่าเราจะมีวิธีการคำนวณและดูค่าจากในตารางคู่มือการใช้งานว่า แรง ที่จะทำการออกแบบว่าควรมีค่ามากที่สุดไม่เกินเท่าใด อยากให้ผมช่วยขยายความและลงรายละเอียดให้พอสังเขปสักหน่อยจะได้หรือไม่ครับ ?”

ด้วยความยินดีนะครับ ถึงแม้ผมจะเน้นย้ำตลอดว่า ผมจะทำการเผยแพร่และให้ความรู้แก่เพื่อนๆ แต่เพียงเท่านั้น แต่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อกรณีพิพาทใดๆ ผมจะขออนุญาตสงวนชื่อและรุ่นของเจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ยี่ห้อและรุ่นๆ นี้ซึ่งผมก็เชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนๆ ที่ใช้ผลิตภัณฑ์จำพวกนี้ก็น่าจะพอเดาออกว่าเป็น เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ยี่ห้อใดหรือรุ่นใดนะครับ

ผมขอเริ่มอธิบายการใช้งานเจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ก่อนนะครับ เราจะใช้ เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ก็ต่อเมื่อเราจะทำงาน คสล ในกรณีที่เราไม่ได้ทำการทิ้งหรือผูกเหล็กเสริมเอาไว้ในบริเวณโครงสร้างคอนกรีตหนึ่งๆ เอาไว้ตั้งแต่แรก ครั้นต่อมามีความจำเป็นต้องทำการเสริมโครงสร้างในบริเวณดังกล่าวด้วยงาน คสล เราก็จะทำการ เจาะ และ เสียบ เหล็กเสริมเข้าไปให้ได้ความลึกตามที่ได้รับการออกแบบเอาไว้ซึ่งจะแปรผันตรงกับค่า กำลัง ที่เจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล นี้จะรับได้นะครับ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ระยะในการฝัง เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ตัว เคมีภัณฑ์หรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล นั้นรับกำลังได้ มาก หรือ น้อย นะครับ

ทั้งนี้เราจะมีวิธีในการใช้งานเจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ง่ายๆ 2 วิธีด้วยกันนั่นก็คือ

(1) ทำการเปิดจากตารางและอ่านวิธีการใช้งานจากคู่มือการใช้งาน

(2) ทำการติดต่อบริษัทผู้ผลิตเพื่อขอคำปรึกษาหรือให้ทำการออกแบบให้

ดังนั้นในวันนี้ผมจะมายก ตย การคำนวณคร่าวๆ โดยจะทำการคำนวณเปรียบเทียบกันกับตารางการรับกำลังจากในรูปที่แนบมาในโพสต์ๆ นี้ด้วย โดยที่ผมจะใช้ค่าต่างๆ ใน ตย นี้ตามที่ตารางๆ นี้ได้กำหนดเอาไว้นั่นก็คือ เหล็กข้ออ้อยเกรด SD40 ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 MM ที่มีค่า กำลังดึงที่จุดครากเท่ากับ 4000 KSC หรือประมาณ 40 KN/CM^(2) และ ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตนั้นมีค่าเท่ากับ 200 KSC หรืออประมาณ 2 kN/CM^(2) ก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจาก ระยะฝังยึดน้อยที่สุด (MINIMUM EMBEDED LENGTH) โดยมากเจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล นั้นจะมีระยะนี้อยู่ที่ 10 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในทุกๆ ขนาดของเหล็กเสริมนั้นจะมีค่า ระยะฝังยึดน้อยที่สุด เท่ากับ 10 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมทั้งหมด และ สำหรับเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 MM ก็เช่นกันนะครับ เราจะเห็นได้ว่าระยะฝังน้อยที่สุดของเหล็กเสริมขนาดนี้ก็คือ 160 MM แต่ สิ่งหนึ่งที่ผมจะต้องย้ำเตือนเพื่อนๆ เอาไว้คือ ด้วยระยะฝังเพียงเท่านี้จะทำให้เหล็กเสริมนั้นไม่สามารถที่จะพัฒนากำลังไปได้จนถึงจุดครากได้ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ต้องการที่จะให้เจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล นั้นมีกำลังสูงสุด หรือ พัฒนากำลังไปจนถึงจุดครากได้ เพื่อนๆ ก็จำเป็นต้องทำการฝังให้ได้ระยะความลึกตามที่ในตารางช่องสุดท้ายทางด้านขวามือได้ทำการระบุเอาไว้ นั่นก็คือ ระยะความลึกถึงจุดคราก หรือ ค่า lb ซึ่งสำหรับเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 MM จะมีระยะนี้อยู่ที่ไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 230 MM ซึ่งเราจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ค่าระยะความลึกเหล็กเสริมที่ฝังในคอนกรีตตั้งแต่ 250 MM ขึ้นไป ค่าของ กำลัง ที่แนะนำให้ใช้ (Frec) จะมีค่าที่คงที่เท่ากันทั้งหมด นั่นเป็นเพราะเหล็กเสริมจะมีค่ากำลังสูงสุดก็คือที่จุดครากนั่นเองครับ

ทั้งนี้ผมก็ต้องเน้นย้ำเพื่อนๆ เอาไว้ด้วยนะครับว่า เจ้าค่า Frec นี้จะเป็นค่ากำลังในสภาวะใช้งาน (SERVICE STRENGTH) นะครับ ไม่ใช่ค่ากำลังประลัย (ULTIMATE STRENGTH) แต่อย่างใด โดยหากเราทำการคำนวณดูเราจะพบว่าค่ากำลังของเหล็กเสริมในสภาวะประลัยจากสมการพื้นฐานได้เท่ากับ

Fu = Ab fy
Fu = 2.01×40
Fu = 80.4 kN ≈ 81 kN

ดังนั้นเราก็จะสามารถคำนวณหาค่ากำลังของเหล็กเสริมในสภาวะใช้งานจากสมการพื้นฐานอีกเช่นกันว่าเท่ากับ

Fa = F rec
F rec = 0.6Fu
F rec = 0.60×81
F rec = 48.6 kN ≈ 49 kN

สุดท้ายนี้ผมอยากจะทิ้งท้ายเอาไว้ว่า หากเพื่อนๆ บังเอิญต้องไปพบเจอกับกรณีใดๆ ที่มีความแปลกในการออกแบบหรือใช้งานเจ้า เคมีภัณฑ์สำหรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไปนะครับ เพราะ ต้องไม่ลืมว่าตารางๆ นี้เป็นเพียงข้อมูลในเบื้องต้นเพียงเท่านั้น เช่น เรามีระยะฝังที่น้อยกว่าที่กำหนดในตารางๆ นี้ แต่ ก็ต้องการค่ากำลังที่สูงกว่าที่ระบุในตารางด้วย เป็นต้น หากเป็นเช่น ตย นี้เราก็เพียงทำการติดต่อไปที่บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อขอคำปรึกษาจากวิศวกรผู้ออกแบบของทางบริษัทเค้าได้เลยโดยตรง เค้าอาจจะให้คำแนะนำดีๆ และ มีประโยชน์ในการทำงานให้ก็ได้ นั่นเป็นเพราะ ในตารางๆ นี้ใช้ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีตที่ค่อนข้างน้อย คือ แค่ประมาณ 200 KSC เพียงเท่านั้น หากบังเอิญว่าในโครงสร้างของเรานั้นมีการใช้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่สูงกว่าค่าๆ นี้ ก็จะทำให้การยึดเกาะ (ANCHORAGE BOND) ระหว่าง คอนกรีต กับ เหล็กเสริม นั้นทำได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าที่ได้แสดงไว้ในตารางๆ นี้ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ค่ากำลังของเจ้า เคมีภัณฑ์หรับยึดจับเหล็กเสริมที่ใช้ในงาน คสล นั้นมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com