โครงสร้างฐานรากและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

วันนี้ผมจะขออนุญาตหยิบยกและนำเอาเหตุผลหนึ่งของการอาศัยวิธีการจำลองให้โครงสร้างเสาเข็มโดยอาศัยหลักการของ SOIL SPRING นั่นก็คือ ทฤษฎีของคานที่วางอยู่บนฐานรากที่มีความยืดหยุ่น หรือ ในภาษาอังกฤษจะมีชื่อเรียกว่า THEORY OF BEAM ON ELASTIC FOUNDATION โดยหากเราไม่อาศัยวิธีการดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณ ผลที่ได้จากการคำนวณก็จะไม่ถือว่าเป็นที่ยอมรับได้เลยครับ

โดยตัวอย่างง่ายๆ ของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของคานที่วางอยู่บนฐานรากที่มีความยืดหยุ่นก็คือ การคำนวณโครงสร้างฐานรากแบบแพ หรือ RAFT FOUNDATION นั่นเอง โดยที่กรณีของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของคานที่วางอยู่บนฐานรากที่มีความยืดหยุ่นก็ได้แก่ การคำนวณโครงสร้างเสาเข็มที่จัดอยู่ในประเภทรับแรงฝืดหรือว่า FRICTION FORCE เป็นหลัก ทั้งนี้หากว่าดินนั้นมีค่าแรงฝืดที่มาก ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่า STIFFNESS ของ SOIL SPRING นั้นมีค่าที่มาก ในทางกลับกันหากว่าดินนั้นมีค่าแรงฝืดที่น้อย ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่า STIFFNESS ของ SOIL SPRING นั้นมีค่าที่น้อยตามไปด้วย ซึ่งผมขอให้เพื่อนๆ ค่อยๆ ดูรูปในโพสต์ๆ นี้ประกอบคำอธิบายไปพร้อมกันก็แล้วกันนะครับ

 

รูปแรกผมทำการตัด STRIP ของการออกแบบมา 1 ช่วง โดยรูปบนผมทำการจำลองให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นเป็นจุดรองรับของโครงสร้างนั้นอาศัยเป็น PINNED SUPPORT ซึ่งผมเชื่อว่าจุดรองรับในรูปแบบๆ นี้จะเป็นระบบของจุดรองรับที่พวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ส่วนรูปล่างจะเป็นการจำลองให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นเป็นจุดรองรับของโครงสร้างนั้นอาศัยเป็น SOIL SPRING SUPPORT แทนนะครับ

 

รูปที่สองจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทั้งในรูปบนและล่างนั้นจะเพียงสิ่งเดียวที่มีความแตกต่างกันนั่นก็คือลักษณะของจุดรองรับของโครงสร้าง นอกนั้นก็จะมีทุกๆ อย่างที่เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างที่มีความเหมือนกันในทุกๆ ประการเลย เช่น ขนาดของความหนา ช่วงระหว่างจุดรองรับ น้ำหนักบรรทุก เป็นต้นครับ

 

รูปที่สามจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงผลตอบสนองของโครงสร้างแล้ว ซึ่งในรูปๆ นี้ที่ผมได้เลือกนำเอามาแสดงก็จะเป็นผลตอบสนองของโครงสร้างต่อการเกิดแรงดัดของชิ้นส่วน ณ กึ่งกลางช่วงพอดิบพอดี ซึ่งผลก็ตามที่เห็นเลยครับว่า ณ ตำแหน่งเดียวกัน โครงสร้างในรูปบนก็จะมีค่าผลตอบสนองของค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนๆ นี้เกือบจะมีแรงดัดที่มีค่าน้อยที่สุดเลย ในทางตรงกันข้ามกับรูปล่าง ซึ่งค่าผลตอบสนองของค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนๆ นี้กลับจะมีแรงดัดที่มีค่าสูงที่สุดเลย ซึ่งหากทำการเทียบสัดส่วนหาค่าความต่างระหว่างค่าแรงดัดที่วิเคราะห์จากรูปบนและรูปล่างโดยที่อาศัยสมมติฐานของจุดรองรับที่มีความแตกต่างกันก็จะพบว่า รูปข้างล่างนั้นจะมีค่าผลตอบสนองที่มากกว่ารูปข้างบนมากถึงประมาณ 10 เท่าเลยล่ะครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ น่าที่จะแสดงให้เพื่อนๆ เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการนำเอาเรื่อง SOIL SPRING มาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีของคานที่วางอยู่บนฐานรากที่มีความยืดหยุ่นกันได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งผมต้องขอเน้นย้ำกับอีกครั้งหนึ่งไว้ตรงนี้ว่า ส่วนใหญ่แล้วกรณีของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของคานที่วางอยู่บนฐานรากที่มีความยืดหยุ่นก็จะได้แก่ การคำนวณโครงสร้างเสาเข็มที่จัดอยู่ในประเภทรับแรงฝืดเป็นหลัก ทั้งนี้หากว่าดินนั้นมีค่าแรงฝืดที่มาก ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่า STIFFNESS ของ SOIL SPRING นั้นมีค่าที่มาก ในทางกลับกันหากว่าดินนั้นมีค่าแรงฝืดที่น้อย ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้ค่า STIFFNESS ของ SOIL SPRING นั้นมีค่าที่น้อยตามไปด้วย โดยที่ในจุดนี้เองที่เราจะเห็นได้ว่า ค่า STIFFNESS หรือ ค่าความแข็งเกร็ง ของจุดรองรับของเรานั้นจะมีสภาพความสอดคล้องตรงกันกับสภาพความแข็งแรงของชั้นดินด้วย ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ถือได้ว่าสมเหตุสมผลและก็มีความตรงไปตรงมามากๆ เลยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#การไม่นำเอาค่าสปริงของดินมาใช้จะส่งผลอย่างไรต่อโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มบ้าง

#ครั้งที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com