วิธีการออกแบบ ระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้น แบบทางเดียว และสองทาง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงกรณีของการออกแบบชนิดทั่วๆ ไปในเรื่อง วิธีในการออกแบบระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้นทั้งแบบทางเดียวและสองทางหลังจากที่เราได้ปริมาณของเหล็กเสริมใช้งานมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบและทำความเข้าใจกันนะครับ

 

  1. แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบทิศทางเดียวที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM ONE WAY SLAB

 

เราอาจจะพบได้ว่าในการออกแบบระยะห่างสำหรับแผ่นพื้นชนิดนี้ก็อาจจะมีความยุ่งยากในระดับหนึ่งแต่ก็คงจะไม่ได้มีความยากเย็นอะไรมากจนเกินไปนัก ขอเพียงแค่เราแยกให้ออกถึงกรณีของเหล็กเสริมให้ได้ก็เป็นการเพียงพอแล้วละครับ

 

  1. เหล็กเสริมเอกในทิศทางๆ ด้านสั้นหรือทางด้านของช่วงพาด โดยที่รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของเหล็กเสริมชนิดนี้มีข้อกำหนดดังต่อไปนี้นะครับ

 

A1. ชนิด และ ขนาด ที่เล็กที่สุดที่มาตรฐานการออกแบบนั้นยินยอมให้ใช้ในการเสริมเหล็กก็คือ เหล็กชนิดเส้นกลม ที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 6 มม หรือ RB6mm นั่นเองครับ

 

A2. ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดจะต้องมีค่าไม่มากกว่า 3 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม

 

A3. ระยะเรียงห่างกันที่น้อยที่สุดจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ใช้ หรือ ต้องไม่น้อยกว่า 1.34 เท่า ของขนาดโตที่สุดของมวลรวมหยาบที่ใช้ผสมลงไปในคอนกรีตที่ใช้เทพื้นแผ่นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 25 มม

 

  1. เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่อาจจะเป็นเหล็กเสริมที่ครอบคลุมการออกแบบและอยู่ในข้อ A. หรือ อาจจะหมายถึงเหล็กเสริมรองที่อยู่ในทิศที่อยู่ตรงกันข้ามกับทางด้านสั้นหรือทางด้านของช่วงพาดตามที่ได้กล่าวถึงในข้อ A. ก็ได้ โดยที่รายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของเหล็กเสริมชนิดนี้มีข้อกำหนดง่ายกว่าในข้อ A. ค่อนข้างมาก นั่นก็คือจะมีการกำหนดถึงเฉพาะเรื่องของระยะเรียงกันห่างมากที่สุดนั่นก็คือ ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมชนิดนี้จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 5 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม

 

  1. แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบสองทิศทางที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM TWO WAY SLAB

 

เราอาจจะพบได้ว่ารายละเอียดต่างๆ ของเรื่องขนาดและระยะของแผ่นพื้นชนิดนี้จะมีข้อกำหนดง่ายกว่าในข้อ 1. ค่อนข้างมากเลย นั่นก็คือจะมีการกำหนดถึงเฉพาะเรื่องของระยะเรียงกันห่างมากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมหลักในทั้งสองทิศทางซึ่งก็จะรวมถึงเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิด้วย นั่นก็คือ ระยะเรียงห่างกันที่มากที่สุดสำหรับเหล็กเสริมชนิดนี้จะต้องมีค่าไม่มากกว่า 3 เท่า ของขนาดความหนาของแผ่นพื้นนั้นๆ หรือ ต้องมีค่าไม่เกิน 450 มม

 

หากเพื่อนๆ ดูจากข้อมูลตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้นก็อาจจะพบได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเหล็กเสริมเอก เหล็กเสริมรอง หรือ เหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินั้นจะต้องมีระยะเรียงที่ห่างกันมากที่สุดไม่มากกว่า 450 มม ดังนั้นก็อาจจะเป็นข้อมูลที่เพื่อนๆ นั้นสามารถที่จะจดจำกันได้ไม่ยากเย็นจนเกินไปนักนะครับ

 

ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบโครงสร้างแผ่นพื้นที่ถือได้ว่ามีความสำคัญการออกแบบแผ่นพื้นไม่น้อยไปกว่าเรื่องที่ผมได้เคยกล่าวถึงไปก่อนหน้านี้เลยนะครับ ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน

#ความรู้และการยกตัวอย่างถึงเรื่องวิธีในการคำนวณเรื่องระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้น

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com