ค่ากำลังรับแรงแบกทานของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของรูปตัดของโครงสร้างฐานรากแบบตื้นโดยที่คุณสมบัติต่างๆ ของทุกๆ อย่างของทั้ง 3 กรณีนี้จะเหมือนกันทุกประการยกเว้นเพียงอย่างเดียวนั่นก็คือ พฤติกรรมในเรื่องระดับของน้ำใต้ดิน ซึ่งคำถามในวันนี้ก็คือ กรณีใดระหว่างกรณีที่ 1 กรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 ที่ดินที่ซึ่งทำหน้าที่ในการรองรับตัวโครงสร้างฐานรากแบบตื้นนั้นจะมีค่ากำลังแบกทานหรือ BEARING CAPACITY ค่าสูงที่สุด ค่ารองลงมา และค่าน้อยที่สุด

 

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหากรณีของน้ำใต้ดินที่จะมีผลต่อค่ากำลังรับแรงแบกทานของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น

ADMIN JAMES DEAN

 

เฉลย

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาค่อยๆ ทำการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาคำตอบของคำถามในข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ

(1)เริ่มจากกรณีที่ค่ากำลังแบกทานของดินสูงที่สุดกันก่อน คำตอบก็คือ กรณีที่ 3 เพราะว่ากรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะมีค่าต่ำกว่าระดับ Df และ B รวมกัน

D1 ≥ Df + B

5.5 > 2 + 3 = 5

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อระดับของน้ำใต้ดินที่ระดับของความลึกมากขนาดนี้ นั่นก็หมายความว่า ระดับของน้ำใต้ดินก็จะไม่มีผลอะไรต่อการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินเลย ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า ดินจะไม่ถูกผลกระทบจากน้ำใต้ทำให้ลดค่ากำลังแบกทานของดินลงไปเลยนะครับ

 

(2) กรณีที่ค่ากำลังแบกทานของดินที่รองลงมาบ้าง คำตอบก็คือ กรณีที่ 2 เพราะว่ากรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับของฐานรากของเรา โดยที่ระยะระดับของน้ำใต้ดินที่ต่ำกว่าระดับของฐานรากดังกล่าวนี้จะยังมีค่าน้อยกว่าระยะ Df และ B รวมกัน

Df < D1 ≤ Df + B

4.00 < 2.00 < 2 + 3 = 5

โดยหากเป็นเช่นนี้เราจะสามารถใช้ค่า q ในการคำนวณได้ตามกรณีปกติแต่จะต้องทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’’ โดยที่ค่าๆ นี้จะสามารถทำการคำนวณหาได้จาก

γ’’ = γ’ + d/B ( γ – γ’ )

ซึ่งพอมีพจน์ห้อยท้ายตามมาก็จะส่งผลทำให้ค่าที่คำนวณได้จากสมการๆ นี้มีค่าของกำลังแบกทานที่มากรองลงมาจากกรณีที่ 3 นะครับ

 

(3) กรณีที่ค่ากำลังแบกทานของดินน้อยที่สุดแล้ว คำตอบก็คือ กรณีที่ 3 เพราะว่ากรณีนี้ก็คือ กรณีที่ระดับของน้ำใต้ดินนั้นอยู่ระหว่างระดับของผิวดินแต่ว่าระดับของน้ำใต้ดินดังกล่าวนี้จะยังอยู่สูงเหนือกว่าระดับของฐานรากของเรา ซึ่งอาจที่จะเขียนโดยใช้ค่าต่างๆ ตามที่ผมได้นิยามข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่ายดังนี้ครับ

0 < D1 ≤ Df

0 < 1.00 < 2.00

หากเป็นเช่นนี้เราจะต้องทำการเปลี่ยนค่า q ซึ่งเดิมทีมีค่าเท่ากับ γ Df ทำให้กลายเป็นค่า q’ หรือค่า EFFECTIVE SURCHARGE เสียก่อน ซึ่งก็สามารถทำการคำนวณได้จาก

q’ = D1 γ + D2 [ γ(sat) – γ(w) ]

สุดท้ายพอเราได้ทำการดัดแปลงค่า γ ในพจน์สุดท้ายให้กลายเป็น γ’ โดยจะมีค่าเท่ากับ

γ’ = γ(sat) – γ(w)

 

ซึ่งหน้าตาของเจ้า γ’ และค่าเงื่อนไขอื่นๆ ของกรณีนี้ก็จะส่งผลทำให้ค่ากำลังแบกทานของดินนั้นออกมามีค่าที่ต่ำที่สุดจากอีก 2 กรณีที่เหลือนั่นเองครับ

 

สรุปก็คือ กรณีที่ดินจะมีค่าความสามารถในการรับแรงแบกทานได้ดีที่สุดก็คือ กรณีที่น้ำใต้ดินนั้นอยู่ใต้ฐานรากลึงลงไปมากกว่าระยะความกว้างของฐานรากเมื่อได้พิจารณาเฉพาะในด้านนั้นๆ ซึ่งหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีโอกาสได้เจอฐานรากที่น้ำใต้ดินนั้นมีพฤติกรรมเป็นเช่นดังในกรณีนี้ก็ต้องถือว่าโชคดีมากๆ เลยและนี่จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดผมจึงได้กล่าวไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ระดับของน้ำใต้ดิน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเรื่อง การกำหนดระดับของฐานรากแบบตื้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหากรณีของน้ำใต้ดินที่จะมีผลต่อค่ากำลังรับแรงแบกทานของโครงสร้างฐานรากแบบตื้น

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com