ค่า PARAMETER ที่สำคัญของ ดินทราย (COHESIONLESS SOIL)

17309193_1332641063448682_5055596965037875611_n[1]

17362904_1332641013448687_8958900165381209544_n[1]
BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม

ref:  https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1332642416781880

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ
วันนี้ผมจะมาให้ความรู้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบ และ รู้จักถึงค่า PARAMETER ที่สำคัญของ ดินทราย (COHESIONLESS SOIL) อีกค่าหนึ่ง ซึ่งก็คือค่ามุมของแรงเสียดทานภายใน (ANGLE OF INTERNAL FRICTION, Ø) กันนะครับ
ค่าของมุมของแรงเสียดทานภายใน (ANGLE OF INTERNAL FRICTION, Ø) ของดินทรายนี้เราสามารถที่จะคำนวณหาค่าได้จากความชันของแผนภูมิเส้นระหว่างหน่วยแรงเฉือน (SHEAR STRESS) และ หน่วยแรงอัดตั้งฉาก (NORMAL COMPRESSIVE STRESS) โดยเพื่อนๆ สามารถดูตัวอย่างแผนภูมินี้ประกอบได้จากในรูปที่ 1 นะครับ ซึ่งเราสามารถคำนวณหาค่าทั้งสองนี้จากการเก็บตัวอย่างดินจากที่หน้างานไปทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการนั่นเองครับ เพื่อนๆ สามารถดูรูปเครื่องมือทดสอบนี้ได้จากในรูปที่ 2 นะครับ
ปกติแล้วดินชั้นบนของ กทม จะเป็นดินเหนียวอ่อน (SOFT CLAY) ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 12 ถึง 15 ม โดยเราสามารถวางปลายของเสาเข็มให้อยู่บนชั้นดินนี้ได้ถ้าหากว่าอาคารของเราเป็นแค่อาคารพักอาศัยธรรมดาทั่วๆ ไป แต่ ต้องไม่ลืมว่าในชั้นดินนี้จะมีค่าแรงเสียดทานในดินที่ค่อนข้างน้อยมากๆ จึงทำให้เสาเข็มมีค่าความสามารถรับแรงตามแนวแกนที่ค่อนข้างน้อย การออกแบบเสาเข็มให้วางอยู่บนชั้นดินนี้ก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองจำนวนเสาเข็มมากกว่าการออกแบบจำนวนเสาเข็มที่น้อยกว่าแต่วางอยู่บนชั้นดินที่มีความลึกมากกว่าครับ และ ยังมีโอกาสสูงที่ดินชั้นนี้จะเกิดการทรุดตัวได้ ดังนั้นเวลาที่เพื่อนๆ ต้องออกแบบอาคารบ้านเรือนของเพื่อนๆ เองก็อย่าได้ลืมคำนึงถึงปัจจัยและข้อเท็จจริงเหล่านี้กันด้วยนะครับ ดังนั้นที่ดินชั้นนี้จะไม่สามารถใช้รองรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้นะครับ
ซึ่งหากน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างนั้นมีขนาดค่อนข้างจะใหญ่ เช่น อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป และ ไม่เกิน 15 ชั้น เป็นต้น อย่างน้อยวิศวกรผู้ออกแบบจะต้องพยายามวางให้ปลายของเสาเข็มนั้นอยู่บนชั้นดินเหนียวแข็ง (STIFF CLAY) ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 15 ถึง 19 ม หรือ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกัน (DIFFERENTIAL SETTLEMENT) มากจนเกินไปก็อาจต้องลึกจนไปถึงชั้นทรายชั้นที่ 1 ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 19 ถึง 27 ม
โดยหากเรากำลังพูดถึงสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้นไปอีก เช่น อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 ชั้นขึ้นไป เป็นต้น เราอาจจะต้องเลือกวางปลายของเสาเข็มไว้ที่ชั้น ดินเหนียวแข็งมาก (HARD CLAY) ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 27 ถึง 38 ม หรือชั้นทรายชั้นที่ 2 ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 38 ถึง 49 ม และในบางกรณีที่จำเป็นจริงๆ ก็อาจจะต้องทำการวางปลายของเสาเข็มไว้ในชั้นทรายชั้นที่ 3 ซึ่งจะมีความลึกโดยประมาณตั้งแต่ 49 ถึง 55 ม
ตัวเลขที่ผมได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นขนาดน้ำหนักบรรทุกของตัวอาคาร ขนาดความสูง และ ชั้นของอาคาร หรือ แม้กระทั่งความลึกของชั้นดินต่างๆ ณ สถานที่ก่อสร้าง ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงตัวเลขโดยประมาณการเท่านั้นนะครับ ในการออกแบบอาคารหนึ่งๆ เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องให้ทางวิศวกรโครงสร้างนั้นทำการออกแบบสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้แก่เพื่อนๆ รวมไปถึงว่าหากเพื่อนๆ ต้องการที่จะทราบข้อมูลที่แม่นยำของชั้นดินก็เป็นเรื่องจำเป็นที่เพื่อนๆ จะต้องทำการเจาะสำรวจดิน หรือ ทำ SOIL LABORATORY TEST หรือ ที่เรานิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าการทำ BORING LOG
ที่ผมอธิบายมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ เห็นนะครับว่าอาคารแต่ละประเภทที่มีการใช้งานแตกต่างกันก็จะมีน้ำหนักบรรทุกที่มากน้อยแตกต่างกันด้วยครับ ดังนั้นภาระเรื่องน้ำหนักและการทรุดตัวที่จะเกิดสืบเนื่องจากความแตกต่างของน้ำหนักบรรทุกเหล่านี้เองจึงเป็นสาเหตุให้วิศวกรจำเป็นต้องออกแบบให้ความยาวของเสาเข็มนั้นมากเพียงพอ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการออกแบบเสาเข็มให้มีจำนวนที่มีความประหยัดและเหมาะสมกับขนาดของโครงการ ที่สำคัญที่สุดก็คือเพื่อป้องกันการวิบัติของอาคารเนื่องจากเสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกของตัวอาคารได้ รวมไปถึงการทรุดตัวของอาคารที่อาจเกิดขึ้นด้วยนั่นเองครับ
ไว้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบ และ รู้จักถึงค่า PARAMETER ที่สำคัญของ ดินเหนียว (COHESIVE SOIL) ซึ่งก็คือค่าความเชื่อมแน่นระหว่างเม็ดดิน (COHESION, C) กันต่อในวันพรู่งนี้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

MICROPILE ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มไมโครไพล์ เข็มสปันไมโครไพล์ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ SPUNMICROPILE SPUN MICROPILE MICRO SPUNPILE