หากเสาเข็มในไซต์งานของเรามีความยาวของตัวเสาเข็มที่แตกต่างกัน

หากเสาเข็มในไซต์งานของเรามีความยาวของตัวเสาเข็มที่แตกต่างกัน และ เมื่อดูจากผลการทดสอบดินจะพบว่าชั้นดินที่ปลายเสาเข็มนั้นวางอยู่บนชั้นดินคนละชนิดกัน เราควรที่จะเชื่อถือ ผลจากการตอกเสาเข็ม หรือ ผลการทดสอบตัวเสาเข็ม และ เราจะมีวิธีในการคิดและตัดสินใจใช้ความยาวของเสาเข็มนี้อย่างไร ?

ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micropile

ผมต้องขอขยายความตรงนี้นิดหนึ่งก่อนนะครับ หากเราปล่อยให้ปลายของเสาเข็มนั้นวางอยู่บนชั้นดินคนละชั้นกัน และ ทำการควบคุมกระบวนการๆ ตอกเสาเข็มให้ได้จำนวน BLOW COUNT ที่ได้รับการออกแบบไว้แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีการคำนึงถึงผลจากการ ทดสอบชั้นดิน และ ผลการทดสอบเสาเข็ม เลยในช่วงตอนต้นของการใช้งานตัวเสาเข็มๆ อาจที่จะรับกำลังได้นะครับ แต่ หากทิ้งไว้สักระยะเวลาหนึ่ง ในชั้นดินที่มีความแข็งแรง น้อยกว่า ซึ่งปลายเสาเข็มถูกวางตัวอยู่นี้จะเกิดการ CONSOLIDATE ทำให้ชั้นดินนั้นๆ อาจเกิดการทรุดตัวที่เพิ่มมากขึ้นได้ โดยหากค่าๆ นี้เกิดขึ้นมากๆ และ แตกต่างออกไปจากค่าการทรุดตัวในชั้นดินที่มีความแข็งแรงมากกว่า ซึ่งที่ชั้นดินที่มีความแข็งแรงมากกว่านี้อาจจะมีการทรุดตัวที่น้อยมากๆ หรืออาจจะไม่มีการทรุดตัวเลยเนื่องจากกว่าเป็นชั้นดินที่มีความแข็งแรงมากๆ ปัญหาที่เพื่อนๆ อาจจะพบตามมาก็คือ ปัญหาการที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน หรือ ที่เราเรียกว่า DIFFERENTIAL SETTLEMENT นั่นเองนะครับ

ดังนั้นคำแนะนำของผมสำหรับการป้องกันการเกิดปัญหาเหมือนเช่นกรณีนี้ คือ เราควรที่จะจัดทำทั้ง 3 กระบวนการเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดตามมาแก่อาคารของเรานะครับ ได้แก่ กระบวนการทดสอบชั้นดิน (SOIL LABORATORY TEST) เพื่อที่จะได้ทราบสมมติฐานที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบเสาเข็มของเรา กระบวนการๆ ควบคุมการตอกเสาเข็มให้ได้ ความยาว และ จำนวนการตอก (BLOW COUNT) ตามที่ได้รับการออกแบบเอาไว้ และ สุดท้ายหากเป็นไปได้ก็ควรทำการทดสอบการรับ นน ของเสาเข็ม (PILE LOAD TEST) ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่เราเห็นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกันกับ ขนาด จำนวนเสาเข็ม ความซับซ้อนของปัญหาที่พบที่หน้างาน และ งบประมาณของการทำงาน ของตัวโครงการเป็นหลักนะครับ

โดยข้อมูลจากการทดสอบการรับ นน ของตัวเสาเข็มที่เราควรจะทำการเก็บข้อมูลจากการทดสอบเอาไว้ และ ถือว่ามีความสำคัญมากๆ เลยก็คือ
(1) ค่าการรับ นน แบบเต็มที่ (FULL SERVICE LOAD) ที่ถูกทำการปรับแก้ด้วยค่าปรับแก้ต่างๆ ของเครื่องมือในการทดสอบแล้ว แต่ ยังไม่ได้ทำการปรับแก้ด้วย อัตราส่วนความปลอดภัย (SAFETY FACTOR)
(2) ค่าระยะการทรุดตัวจริงๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ (ACTUAL DISPLACEMENT) เพราะ สุดท้ายแล้วเราจะนำค่าๆ นี้ไปทำการคำนวณค่า K หรือว่า ค่ากำลังของฐานรากยืดหยุ่นของดิน (SOIL SPRING STRENGTH) นั่นเองนะครับ

หากเราทำการทดสอบเสาเข็มทั้ง 2 ต้น โดยที่ปลายของเสาเข็มทั้ง 2 นี้ถูกวางตัวอยู่ในชั้นดินที่ความลึกแตกต่างกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราควรที่จะทำการเปรียบเทียบค่า K ของเสาเข็มทั้งสอง หากว่าค่า K จากทั้ง 2 กรณีนี้มีความแตกต่างกันไม่มาก (โดยประมาณการ คือ แตกต่างกันไม่เกิน 20%) นั่นก็อาจจะหมายความว่า ดินทั้ง 2 ชั้น ของเรานี้มีความแข็งแรงมากเพียงพอ หรือ พูดง่ายๆ คือ เราสามารถที่ให้ความยาวของเสาเข็มในอาคารนี้มีความยาวที่แตกต่างกันได้ เพราะ ความแข็งแรงของชั้นดินทั้ง 2 นั้นมีความแข็งแรงมากเพียงพอ แต่ หากทำการเปรียบเทียบแล้วค่า K นี้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก (โดยประมาณการ คือ แตกต่างกันเกิน 20%) นั่นก็อาจจะหมายความว่า ดินทั้ง 2 ชั้น ของเรานี้มีความแข็งแรงแตกต่างกันมากจนเกินไป หรือ พูดง่ายๆ คือ เราไม่สามารถที่ให้ความยาวของเสาเข็มในอาคารนี้มีความยาวที่แตกต่างกันได้ เพราะ ความแข็งแรงของชั้นดินทั้ง 2 นั้นมีความแข็งแรงที่ไม่เท่ากัน หากใช้งานไปนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหา DIFFERENTIAL SETTLEMENT ได้

สุดท้ายนี้ผมอยากที่จะขอให้ข้อคิดประการสุดท้ายแก่เพื่อนๆ นะครับ คือ กระบวนการทั้งหมดที่ผมได้ยก ตย ไปนี้เป็นไปได้ยากมากๆ ที่เพื่อนๆ จะมีความรู้เฉพาะทางๆ ด้านนี้ได้นะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ จึงไม่ควรที่จะลงมือและตัดสินใจกระบวนการเหล่านี้ด้วยตนเอง เพื่อนๆ ควรที่จะไว้วางใจมอบหมายให้วิศวกรโยธาเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรโครงสร้าง หรือ วิศวกรธรณีเทคนิค ก็ได้ เพราะ วิศวกรเหล่านี้เป็นผู้มีความชำนาญงานในการดำเนินการ แก้ไข และ ตรวจสอบปัญหา เหล่านี้อยู่แล้ว วิศวกรเหล่านี้ผ่านการทำงานจริงๆ มามาก และ พบเจอกับปัญหาเช่นนี้มาหลากหลายกรณีมากๆ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ต้องการที่จะให้โครงการก่อสร้างของเพื่อนๆ ออกมาดีและไร้ซึ่งปัญหาในการใช้งานในอนาคต ผมจึงอยากที่จะขอให้เพื่อนๆ เลือกใช้และมอบหมายหน้าที่ในการทำงานในลักษณะนี้ให้แก่วิศวกรที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะเป็นการดีที่สุดต่อตัวเพื่อนๆ เองนะครับ

เอาเป็นว่าผมขออธิบายพอสังเขปเพียงเท่านี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ วันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการยก ตย ทางด้านการคำนวณกันบ้าง เพื่อนๆ จะได้มองเห็นภาพขั้นตอนของการคำนวณนี้ออก หากเพื่อนๆ ท่านใดอ่านแล้วมีความสนใจ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันต่อได้ในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1564217003624419

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์