การระบุหน่วยในรายการคำนวณ

การระบุหน่วยในรายการคำนวณ

ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micro pile

สืบเนื่องจากรุ่นน้องท่านนี้ไปเห็นรายการคำนวณการออกแบบโครงสร้างของผม และ ไปเห็นว่า หน่วยที่ผมใช้นั้นแปลกๆ คือ ผมตั้งใจที่จะเขียนตัวเลขในพจน์นั้นเป็น แรง (FORCE) ที่มีหน่วยเป็น กก (kg หรือ kilogram) ผมจึงเขียนตัวย่อในรายการคำนวณว่า kgf หรือ kilogram-force น้องท่านนี้จึงได้ถามกับผมว่า เหตุใดผมจึงต้องเขียนเช่นนี้ ? จึงเป็นที่มาของคำถามในวันนี้นั่นเองครับ

ก่อนที่ผมจะตอบ ผมขออนุญาตลองถามเพื่อนๆ ดูแบบนี้จะดีกว่านะครับ เผื่อจะช่วยให้เกิดความกระจ่างได้มากยิ่งขึ้น ในต่างประเทศเพื่อนๆ คงจะทราบดีอยู่แล้วว่าในทางวิศวกรรมนั้นเค้าจะใช้หน่วย แรง ที่แตกต่างออกไปจากบ้านเรา เช่น กิโลนิวตัน หรือ kilonewton หรือ KN นะครับ แต่ หากเพื่อนๆ ไปตลาดในต่างประเทศ และ ต้องการที่จะซื้อผลไม้สักหน่อย เพื่อนๆ จะสังเกตได้ว่า เราไม่แจ้งปริมาณของผลไม้ที่เราต้องการที่จะซื้อกับคนขายว่า “ผมต้องการที่จะซื้อผลไม้นี้เป็นน้ำหนักเท่ากับ ……… kilonewton” ผิดกับในประเทศไทย ที่พอเราพูดถึงปริมาณของ แรง เราก็จะพูดถึงหน่วยที่เป็น กก และ พอพูดถึง น้ำหนัก เราก็ยังพูดถึงหน่วย กก อยู่ดี

พอผมอธิบายมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ พอที่จะเริ่มเข้าใจกันบ้างมั้ยครับ ?

ใช่แล้วครับ เวลาที่เราพูดถึงคำว่า ปริมาณ นั่นหมายถึงเรากำลังทำการระบุปริมาณในเชิงฟิซิกซ์อยู่ ซึ่งปริมาณทางฟิซิกซ์นั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ปริมาณหลักๆ ได้แก่

ปริมาณสเกลาร์ (SCALAR QUANTITY) คือ ปริมาณที่จะบ่งบอกแต่เพียงขนาดเพีงอย่างเดียว เช่น ปริมาณมวล ปริมาณพื้นที่ ปริมาณอัตราเร็ว ปริมาณงาน กำลังงาน เป็นต้น

ปริมาณเวกเตอร์ (VECTOR QUANTITY) คือ ปริมาณที่มีทั้ง ขนาด และ ทิศทาง เช่น ปริมาณความเร็ว ปริมาณความเร่งแรง ปริมาณน้ำหนัก ปริมาณโมเมนตัม เป็นต้น

โดยหากจะพูดถึงเฉพาะแค่ปริมาณ แรง (FORCE) มวล (MASS) และ น้ำหนัก (WEIGHT) เราจะมาดูนิยามของคำศัพท์แต่ละตัวกันก่อนนะครับ

(1) แรง (FORCE) คือ สิ่งที่สามารถทาให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ได้ หรือ ทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น หรือ ช้าลง หรือ สามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

(2) มวล (MASS) คือ ปริมาณเนื้อสารที่รวมกันเป็นก้อนวัตถุ เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุสิ่งที่เกี่ยวกับ ความเฉื่อย คือ
– ถ้าวัตถุมีมวลมาก ก็จะต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่มาก หรือ พูดง่ายๆ คือ มีความเฉื่อยมาก
– ถ้าวัตถุมีมวลน้อย ก็จะต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่น้อย หรือ พูดง่ายๆ คือ มีความเฉื่อยน้อย
โดยที่มวลของวัตถุใด ๆ นั้นจะมีค่า คงที่ (CONSTANT) เสมอ ไม่ว่าวัตถุนั้นๆ จะอยู่ที่ตำแหน่งใดๆ ก็ตามนะครับ

(3) น้ำหนัก (WEIGHT) คือ แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ เมื่อชั่งวัตถุนั้นภายแรงดึงดูดของโลก น้ำหนัก ของวัตถุจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ ขนาดของมวลสารของวัตถุมวลสารของโลก และ ระยะทาง ที่วัตถุอยู่ห่างจากศูนย์กลางของโลก หรือ นั่นคือ

W = mg

ในเมื่อ
W = น้ำหนักของวัตถุ [นิวตัน ; N] m = มวลของวัตถุ [กิโลกรัม ;kg] g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก 9.807 [เมตร/วินาที^(2) ; m/s^(2)]

เราจึงสามารถกล่าวได้ว่าน้ำหนักของวัตถุนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามแรงโน้มถ่วง ณ สถานที่นั้นๆ เช่น เมื่อนาวัตถุก้อนหนึ่งมี มวล เท่ากับ 60 kg มาทำการชั่งบนโลกจะมีน้ำหนัก W = 60 × 9.8 = 588 นิวตัน แต่ เมื่อนำมวลนี้ ไปชั่งบนดวงจันทร์ จะมีน้ำหนัก W = 60 × 9.8 × = 98 นิวตัน เพราะ บนดวงจันทร์จะมีแรงโน้มถ่วงเพียง 1/6 เท่าของโลกนั่นเองนะครับ

สรุป เมื่อผมทำการระบุหน่วย กิโลกรัม มวล ผมจะทำการระบุให้ชัดว่า kgm หรือ kilogram-mass และ เมื่อผมทำการระบุหน่วย กิโลกรัม แรง ผมก็จะทำการระบุให้ชัดว่า kgf หรือ kilogram-force นั่นเองนะครับ

สุดท้ายนี้ผมเชื่อเหลือเกินนะครับว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะงงและสงสัยกันนะครับ ว่าเหตุใดบ้านเมืองเราถึงใช้หน่วยอะไรที่พิลึกพิลั่นขนาดนี้ ซึ่งตัวผมก็ต้องยอมรับนะครับว่ามันไม่ค่อยเหมือนกับสากลประเทศสักเท่าใดนัก แต่ ผมก็แค่อยากให้พวกเรามองกันในแง่ดีก็แล้วกันนะครับ ว่าเป็นเพราะความมีเอกลักษณ์นี้เองที่ทำให้เรา ไม่เหมือนใคร ดังนั้นเมื่อเราใช้หน่วยที่แตกต่างออกไปจากประเทศเพื่อนบ้านเค้า เราก็แค่ควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีถึงความแตกต่างกันนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาด หรือ คลาดเคลื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เราต้องทำการประสานงานรายการคำนวณกับทางต่างประเทศนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1547738418605611

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์