การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

k-ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micropile 02-04

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

เพื่อนๆ เคยเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่ครับ คือ กรณีที่เพื่อนๆ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะ หรือ ทำช่องเปิดบนโครงสร้างคอนกรีต ไม่ว่าโครงสร้างๆ นั้นจะเป็นโครงสร้าง คสล หรือ คอร ก็แล้วแต่ ซึ่งเพื่อนๆ ไมได้ทำการเตรียมช่องเปิดนี้เอาไว้ตั้งแต่ทีแรก เมื่อเพื่อนๆ จะทำการเจาะโดยการ CORING โครงสร้างชิ้นนั้นลงไป และ เพื่อนๆ ก็มีความกังวลว่าการเจาะนั้นจะทำความเสียหายแก่ เหล็กเสริม หรือ ลวดอัดแรง ที่มีอยู่ภายในโครงสร้างคอนกรีตนั้นๆ ได้

หากเพื่อนๆ เคยพบกับเหตุการณ์เช่นนี้ ในวันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการขจัดความกังวลข้อนี้ไปได้นะครับ นั่นก็คือ ก่อนที่เราจะทำการเจาะโครงสร้างคอนกรีตนั้นเราจะสามารถทำการตรวจสอบดูว่าบริเวณที่จะทำการเจาะนั้นมี เหล็กเสริม หรือ ลวดอัดแรง อยู่หรือไม่ โดยทำการแสกนโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการจะทำการเจาะเสียก่อนนั่นเองนะครับ

โดยการใช้งานการแสกนโครงสร้างนั้นสามารถที่จะทำการตรวจสอบตำแหน่งของ เหล็กเสริม หรือ ลวดอัดแรง หรือ ท่อโลหะ หรือ ท่อพลาสติกต่างๆ หรือ ใยแก้วนำแสง หรือ เศษไม้ต่างๆ ที่อาจฝังตัวอยู่ในโครงสร้างคอนกรีตที่มีสภาพที่แห้งที่ความลึกได้ตั้งแต่ 100 มม ถึง 300 มม ซึ่งการแสกนนี้จะสามารถลดความเสี่ยงในการทำลายวัสดุที่อยู่ภายในโครงสร้าง สำหรับงานเจาะติดตั้งพุกต่างๆ งานทำเปิดช่องต่างๆ รวมไปถึงงานเจาะรูเปิดด้วยดอกเจาะหัวเพชร ซ้ำยังช่วยในการประเมินคุณภาพงานติดตั้ง และ การตรวจสอบตำแหน่งของ เหล็กเส้น และ ลวดอัดแรง ที่มีอยู่ในโครงสร้างคอนกรีตได้

ในบางครั้งเราสามารถทำการตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสริมที่มีอยู่ในโครงสร้างเดิมเพื่อการเจาะติดตั้งเหล็กเสริมใหม่ให้ได้ตำแหน่งที่ต้องการ สำหรับในกรณีที่งานก่อสร้างนั้นเป็นงานต่อเติมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งจะรวมไปถึงการตรวจสอบหาตำแหน่งของวัสดุต่างๆ ที่อาจฝังอยู่ในพื้น ผนัง ระเบียง กำแพงหรือ แม้กระทั่งงานโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ๆ และมีความสำคัญมากๆ เช่น งานอุโมงค์ งานสะพาน และ อาคารต่างๆ เป็นต้น

ในวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตนำรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสกนโครงสร้างตามรูปที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ได้ดูกันในรูปของวันนี้ นั่นก็คือ เครื่อง X-SCAN PS 1000 ของ HILTI มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนดีกว่านะครับ เพื่อนๆ ทุกคนจะได้มีความรู้และได้ทราบถึงคุณสมบัติการใช้งานของเจ้าเครื่องมือชิ้นนี้กันให้มากยิ่งขึ้นนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ