ความลึกที่เหมาะสมของโครงถักเหล็ก หรือ STEEL TRUSS

ความลึกที่เหมาะสมของโครงถักเหล็ก หรือ STEEL TRUSS

ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micro pile

ประเภทของโครงถักแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ

(1) โครงถักแบบท้องเรียบ (ความลึกเท่ากันตลอดทั้งความยาว)
(2) โครงถักแบบจั่ว (ชนิดมีความลึกที่ปลายด้วย)
(3) โครงถักแบบจั่ว (ชนิดไม่มีความลึกที่ปลายเลย)

หากเราให้
L เป็นความยาวช่วงทั้งหมดระหว่างเสาถึงเสาที่รองรับตัวโครงถัก
H เป็นระยะความสูงของโครงถักแบบเรียบ (ความลึกเท่ากันตลอดทั้งความยาว) และ โครงถักแบบจั่ว (ชนิดไม่มีความลึกที่ปลายเลย)
Hmax เป็นระยะความสูงมากที่สุดของตัวโครงถักแบบจั่ว (ชนิดมีความลึกที่ปลายด้วย)
Hmin เป็นระยะความสูงน้อยที่สุดของตัวโครงถักแบบจั่ว (ชนิดมีความลึกที่ปลายด้วย)
W เป็นระยะห่างของการถักของชิ้นส่วนด้านที่รับ แรงอัด ในตัวโครงถัก

เราจะสามารถทำการประมาณค่าขนาดความลึกของโครงถักโดยแบ่งได้จากเกณฑ์เรื่องขนาดความยาวของโครงถักได้ดังนี้นะครับ

(A) โครงถักแบบเรียบ (ความลึกเท่ากันตลอดทั้งความยาว)
(A1) กรณีหากระยะ L มีค่าน้อยกว่า 20 M
ค่า H อาจใช้ไม่เกิน 0.05L
ค่า W อาจใช้ไม่เกิน 0.05L
(A2) กรณีหากระยะ L มีค่ามากกว่า 20 M
ค่า H อาจใช้ตั้งแต่ 0.05L แต่ ไม่เกิน 0.08L
ค่า W อาจใช้ตั้งแต่ 0.05L แต่ ไม่เกิน 0.08L

(B) โครงถักแบบจั่ว (ชนิดมีความลึกที่ปลายด้วย)
(B1) กรณีหากระยะ L มีค่าน้อยกว่า 20 M
ค่า Hmax อาจใช้ไม่เกิน 0.04L
ค่า Hmin อาจใช้ไม่เกิน 0.02L
ค่า W อาจใช้ไม่เกิน 0.04Hmax
(B2) กรณีหากระยะ L มีค่ามากกว่า 20 M
ค่า Hmax อาจใช้ตั้งแต่ 0.04L แต่ ไม่เกิน 0.06L
ค่า Hmin อาจใช้ตั้งแต่ 0.02L แต่ ไม่เกิน 0.03L
ค่า W อาจใช้ตั้งแต่ 0.6Hmax แต่ ไม่เกิน 0.9Hmax

(C) โครงถักแบบจั่ว (ชนิดไม่มีความลึกที่ปลายเลย)
(C1) กรณีหากระยะ L มีค่าน้อยกว่า 20 M
ค่า H อาจใช้ไม่เกิน 0.08L
ค่า W อาจใช้ไม่เกิน 0.40Hmax
(C2) กรณีหากระยะ L มีค่ามากกว่า 20 M
ค่า H อาจใช้ตั้งแต่ 0.08L แต่ ไม่เกิน 0.12L
ค่า W อาจใช้ตั้งแต่ 0.40H แต่ ไม่เกิน 0.60H

เรามารับชม ตย กันดีกว่านะครับ หากเรามีโครงถักแบบจั่ว (ชนิดมีความลึกที่ปลายด้วย) ที่มีความยาวช่วงเท่ากับ 30 M เราจะต้องใช้กรณีที่ B2 ในการคำนวณ โดยที่ผมจะใช้สัดส่วนที่เป็นค่าเฉลี่ยในการคำนวณค่าต่างๆ นะครับ คือ
ค่า Hmax จะเท่ากับ 0.05×30 = 1.5 M → ใช้ 1.5 M
ค่า Hmin จะเท่ากับ 0.025×30 = 0.75 M → ใช้ 1 M
ค่า W จะเท่ากับ 0.75×1.5 = 1.125 M → ใช้ 1 M

โดยผมต้องเน้นย้ำในตอนท้ายนี้ก่อนนะครับว่าวิธีในการประมาณค่าข้างต้นนี้เป็นเพียงแนวทางในเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ และ เราจะสามารถใช้ได้เฉพาะสำหรับการออกแบบโครงถักที่มีสภาพการใช้งานที่ถือได้ว่า “ปกติ” เท่านั้นนะครับ เช่น มีการรับ นน ที่ถือว่าปกติ ไม่ได้มีการรับ นน อะไรที่มากจนผิดปกติ มีช่วงความกว้างในการรับ นน (BAY) ที่ปกติ ไม่ได้มากจนเกินไป มีการค้ำยันทางด้านข้าง (LATERAL BRACING) ที่เพียงพอ เป็นต้นครับ

หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1590057794373673

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com

#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์