สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง คำที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยๆ เวลาที่เรามีความเกี่ยวข้องกันกับการออกแบบโครงสร้างเพื่อที่จะให้สามารถต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้นะครับ
เริ่มต้นจากคำๆ แรกก็คือคำว่า “คาบการสั่น” หรือ “PERIOD” ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่า “คาบการสั่น” ก็คือ ช่วงเวลาของแกว่งตัวไปแกว่งตัวกลับไปมาครบ 1 รอบ โดยมีหน่วยเป็นเวลา ซึ่งมาตรฐานสากลนิยมแทนด้วยหน่วย “วินาที” หากว่าโครงสร้างของเรานั้นมีความสลับซับซ้อนก็จะยิ่งมีรูปแบบการแกว่งตัวหลากหลายๆ รูปแบบเป็นพิเศษ โดยที่แต่ละรูปแบบนั้นก็จะมีช่วงเวลาของการแกว่งครบรอบ หรือ “คาบการสั่น” เฉพาะค่าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากเราทำการคำนวณหาส่วนกลับของ “คาบการสั่น” ก็จะได้ออกมาเป็น จำนวนรอบที่แกว่งในเวลา 1 วินาทีที่เราเรียกว่า “ความถี่” ซึ่งจะมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์” นะครับ
คำต่อมาก็คือคำว่า “แรงกระทำแผ่นดินไหวเทียบเท่า” หรือ “EQUIVALENT SEISMIC FORCE” โดยหากเราสามารถทำการวิเคราะห์และคำนวณหาค่า “คาบการสั่นได้” เราก็จะสามารถนำค่าดะงกล่าวมาทำการประมาณค่าแรงแผ่นดินไหวที่กระทำต่อโครงสร้างได้ โดยหากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่า ขนาดของแรงๆ นี้จะมีผลมาจากค่าการแกว่งตัวในแบบที่ 1 มากกว่าในแบบอื่นๆ นะครับ
คำต่อมาก็คือคำว่า “การตอบสนองเชิงสเปรคตรัม” หรือ “RESPONSE SPECTRUM” จริงๆ แล้วค่าๆ นี้จะสามารถหาได้จากแผนภูมิเส้นที่แสดงผลความสัมพันธ์ของ การตอบสนองของโครงสร้าง กับ คาบการสั่น ที่ระดับของค่าการหน่วงตัวของโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL DAMPING ค่าต่างๆ ซึ่งการตอบสนองนี้อาจจะเป็น ค่าระยะของการเคลื่อนที่ ค่าความเร็ว หรือ ค่าความเร่ง โดยค่าๆ นี้มักที่จะแสดงเป็นค่าตอบสนองแบบสูงสุดเสมอนะครับ
คำต่อมาก็คือคำว่า “การออกแบบอาคารอ้างอิงตามระดับของสมรรถนะ” หรือ “PERFORMANCE BASED BUILDING DESIGN” วิธีการออกแบบนี้เป็นการออกแบบอาคารที่มุ่งเน้นให้ได้อาคารที่มีระดับของค่าสมรรถนะตามที่เราต้องการ ซึ่งจะต่างออกไปจากวิธีการออกแบบๆ ดั้งเดิมที่จะทำการออกแบบตามขั้นตอนตามปกติที่ได้ถูกกำหนดเอาไว้ โดยที่แนวคิดหลักที่สำคัญของวิธีการนี้ก็คือ การพิสูจน์สมรรถนะของโครงสร้างโดยเปรียบเทียบกันกับสมรรถนะเป้าหมายนะครับ
คำสุดท้าย แต่ ไม่ใช้ท้ายที่สุดนั่นก็คือคำว่า “ระดับเป้าหมาย” หรือ “DEMAND LEVEL” และ “ระดับกำลัง” หรือ “STRENGTH CAPACITY” โดยที่ “ระดับเป้าหมาย” ก็คือ ระดับของสมรรถนะที่เราต้องการให้อาคารสามารถที่จะมีได้ภายใต้แรงกระทำจากแผ่นดินไหว ได้แก่ ขนาดของแรง ระยะของการเสียรูป ส่วนคำว่า “ระดับกำลัง” ก็คือ ระดับของค่าความสามารถที่มีอยู่ของตัวโครงสร้างที่เรานั้นมีหน้าที่ต้องพิจารณาทำการออกแบบ
โดยที่การประเมินสมรรถนะของโครงสร้างของอาคารใดๆ นั้นจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อ โครงสร้างของเรานั้นมี “ระดับกำลัง” ที่สูงกว่า “ระดับเป้าหมาย” ที่เราตั้งเอาไว้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบนั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#อธิบายคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com