รอยแตกในผนังอิฐก่อใต้พื้นชั้นล่างของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เมื่อช่วงเวลาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ผมได้ทำการพูดถึงและหยิบยกและนำเอาประเด็นของการที่อาคารนั้นเกิดการวิบัติเนื่องจากปัญหาของการที่เราละเลยในเรื่องของสภาพชั้นดินซึ่งในตัวอย่างที่ผมนำเอามาให้เพื่อนๆ ได้รับชมนั้นก็จะเป็นปัญหาที่มีความใหญ่มากเลยทีเดียวและเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผมก็ได้นำเอาปัญหาที่ต้องถือว่ามีความเล็กน้อยหรือเบาบางกว่าปัญหาในกรณีก่อนหน้านี้เป็นอย่างมากแต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่เจ้าของบ้านไม่น้อยเลยทีเดียวเอามาฝากเพื่อนๆ ด้วยซึ่งจะเป็นกรณีที่ทางเจ้าของบ้านได้ทำการต่อเติมส่วนหลังคากันสาดเหล็กออกมา โดยที่ปลายข้างหนึ่งนั้นยึดเข้ากับตัวบ้านเดิมและปลายอีกข้างหนึ่งนั้นก็ถูกยึดเข้ากับโครงสร้างพื้นที่ไม่ได้ทำการลงเสาเข็มใดๆ เอาไว้เลย ซึ่งพอเวลาผ่านไปผลที่ได้ตามมาก็คือ โครงสร้างพื้นที่ไม่ได้ทำการลงเสาเข็มใดๆ เอาไว้ก็เกิดการทรุดตัวลงไป ซึ่งจากการสอบถามไปยังเจ้าของบ้านก็ได้รับคำยืนยันมาว่า โครงสร้างส่วนต่อเติมนี้เพิ่งจะมีการก่อสร้างมาได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้นแต่จากในรูปเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้ว่าระยะการทรุดตัวนี้เกิดขึ้นมากถึงประมาณ 100 มม เลยทีเดียว ในที่สุดพอพื้นดังกล่าวนั้นได้เกิดการทรุดตังลงไปมากๆ เข้าก็ได้ไปทำการดึงให้โครงสร้างของหลังคากันสาดเหล็กส่วนที่ต้องรับแรงดึงนั้นหลุดออกจากตัวโครงสร้างบ้านของอาคารหลังเดิมเลย ซึ่งจากตัวอย่างปัญหาง่ายๆ แบบนี้เราก็จะสามารถเห็นได้ว่า โครงสร้างหลังคากันสาดเหล็กที่ใช้ในโครงการนี้จะเป็นเพียงโครงสร้างที่มีลักษณะค่อนข้างที่จะเบามากๆ เลยแต่ก็ยังพบเจอเข้ากับปัญหาในรูปแบบที่โครงสร้างของอาคารเดิมนั้นไม่เกิดการทรุดตัวแต่โครงสร้างของอาคารมใหม่นั้นเกิดการทรุดตัวลงไปจนในที่สุดทำให้เกิดการดึงรั้งกันระหว่างโครงสร้างเก่าและใหม่จนทำให้เกิดรูปแบบของความเสียหายดังที่ผมได้นำเอามาแสดงให้ดูไปก่อนหน้านี้นะครับ

ในวันนี้ผมจะขอหยิบยกเอากรณีง่ายๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้อีกสักกรณีหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่ผมหยิบยกนำเอามาในวันนี้อาจจะดูแล้วไม่ได้มีความรุนแรงอะไรมากมายนักแต่ก็ต้องถือได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งๆ ที่อาจจะสร้างความรู้สึกรำคาญใจให้แก่เจ้าของอาคารไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ดูเป็นตัวอย่างที่จะใช้ในการอธิบายว่าเพราะเหตุใดเรื่องการทรุดตัวจึงมีความสำคัญที่จะหลีกเลี่ยงไม่พิจารณาหรือไม่คำนึงถึงไม่ได้โดยเด็ดขาดเลยนะครับ

กรณีที่ว่านี้ก็คือ กรณีที่ชั้นล่างสุดของอาคารนั้นเป็นโครงสร้างที่มีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างฐานรากที่มีเสาเข็มคอยรองรับน้ำหนักอยู่ แต่ ใต้เนื่องจากว่าระดับความสูงของชั้นล่างนั้นจะถูกยกให้สูงขึ้นมาจากระดับดินเดิมพอสมควร จึงจะทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างโครงสร้างที่คอยรองรับชั้นล่างและดินเดิมอยู่ ซึ่งส่วนมากแล้วกรณีนี้ทางเจ้าของอาคารก็มีความกังวลว่า หากไม่ทำการปิดช่องว่างเหล่านี้ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้มีสุนัขจรจัด แมลงมีพิษต่างๆ เข้าไปอาศัยและทำรังอยู่ใต้อาคารได้ จึงได้บอกให้ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นปิดช่องว่างดังกล่าวนี้ด้วยการก่อผนังก่ออิฐปิดไปเลย ซึ่งเจ้าผนังอิฐที่ก่อขึ้นมานี้ก็มักจะไม่ได้ถูกรองรับด้วยโครงสร้างที่มีเสาเข็มคอยรองรับน้ำหนักอยู่ กล่าวคือทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างมักจะให้ช่างที่มีหน้าที่ในการก่อผนังอิฐนั้นทำการก่อผนังขึ้นมาโดยที่ให้อิฐนั้นวางตัวอยู่บนพื้นวางบนดินโดยตรงเลย ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ตามมาก็คือ โครงสร้างหลักของอาคารนั้นถูกรองรับด้วยโครงสร้างที่มีเสาเข็มคอยรองรับน้ำหนักอยู่จึงไม่ทำให้เกิดการทรุดตัวหรือต่อให้เกิดการทรุดตัวบ้างก็ต้องถือว่าน้อยมากๆ แต่เจ้าผนังก่ออิฐที่ไม่ได้ถูกรองรับด้วยโครงสร้างที่มีเสาเข็มคอยรองรับน้ำหนักอยู่ก็จะเกิดการทรุดตัว ในที่สุดก็จะผนังอิฐก่อดังกล่าวนั้นเกิดรอยแตกแยกออกจากกัน เหมือนกับในรูปที่ผมได้นำมาใช้โพสต์ประกอบในโพสต์ๆ นี้นั่นเองครับ

ดังนั้นหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความต้องการที่จะอยากทำการต่อเติมบ้าน อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิมซึ่งได้ทำการออกแบบและก่อสร้างให้มีการวางตัวอยู่บนโครงสร้างเสาเข็มเป็นอย่างดีอยู่แล้วโดยที่จะอาศัยโครงสร้างที่ไม่ว่าจะมีน้ำหนักที่น้อยหรือมีน้ำหนักเบาสักเพียงใดก็ตาม ผมคงต้องพูดซ้ำเป็นรอบที่ห้าร้อยหรือหนึ่งพันว่า เพื่อนๆ ควรที่จะต้องทราบหรือประมาณการให้ได้ก่อนว่า ดินที่จะทำหน้าที่ในการรองรับโครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นมีคุณสมบัติทางด้านกลศาสตร์ต่างๆ เป็นเช่นใด มีความแข็งแรงสามารถที่จะรับน้ำหนักได้ดีเพียงใดและมีความสามารถในการต้านทานการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใดก่อนเสมอ มิเช่นนั้นเพื่อนๆ อาจจะเจอเข้ากับกรณีปัญหาเหมือนที่ผมได้นำเอามาหยิบยกเป็นกรณีตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#กรณีตัวอย่างของรอยแตกในผนังอิฐก่อใต้พื้นชั้นล่างของอาคารที่เกิดจากการที่ไม่ได้มีการคำนึงถึงเรื่องการทรุดตัวของดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com