โครงสร้างราวกันตก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

หากเพื่อนๆ มีโอกาสได้เดินทางไปตามท้องถนนด้วยรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางในประเทศไทยก็ดีหรือในต่างประเทศก็ดี เวลาที่เราต้องเดินทางขึ้นไปบนสะพานหรือทางยกระดับต่างๆ เพื่อนๆ เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่า ราวกันตกที่ถูกทำการติดตั้งลงไปเพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันการตกของรถยนต์นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมดกี่ประเภทด้วยกัน ?

ราวกันตกที่ว่านี้ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนโครงสร้างอย่างหนึ่งก็ได้เพราะชิ้นส่วนๆ นี้จะต้องทำหน้าที่รับแรงกระแทกจากตัวรถยนต์หรือยานพาหนะใดๆ ก็ตามที่อาจจะมีการสัญจรไปมาบนท้องถนน ซึ่งหากจะทำการจำแนกประเภทของโครงสร้างราวกันตกจริงๆ อาจจะทำได้หลายวิธีอยู่เหมือนกันแต่วิธีการที่ผมจะนำมาใช้อธิบายกับเพื่อนๆ ในวันนี้เป็นการจำแนกประเภทของราวกันตกด้วยการชี้วัดด้วยค่าความแข็งเกร็งของโครงสร้างหรือ STRUCTURAL STIFFNESS นั่นเองครับ

1. แบบแรกได้แก่ ราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปที่น้อยมากๆ หรืออาจจะไม่ยอมให้เกิดการเสียรูปเลย หรือ RIGID GUARD ซึ่งลักษณะเด่นของราวกันตกประเภทนี้คือ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกทำขึ้นโดยการใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง ซึ่งข้อดีของโครงสร้างราวกันตกประเภทนี้คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่อาจจะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ภายนอกโครงสร้างนั้นได้รับความปลอดภัยจากการชนหรือกระแทกของตัวรถยนต์หรือยานพาหนะที่อาจจะกระทำกับตัวโครงสร้างราวกันตกได้ ส่วนข้อเสียก็คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่เข้ามากระแทกหรือชนเข้ากับตัวราวกันตกนั้นมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือภัยอันตรายในระดับที่สูงมากๆ ทั้งนี้เป็นเพราะราวกันตกประเภทนี้มีค่าความแข็งเกร็งที่ค่อนข้างจะสูงเอามากๆ หรือ HIGH STIFFNESS แน่นอนว่าพอเกิดการกระแทกขึ้นตัวรถยนต์หรือผู้คนที่โดยสารมาบนยานพาหนะนั้นๆ ย่อมที่จะต้องได้รับอันตรายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นะครับ

2. แบบที่สองนั้นได้แก่ ราวกันตกแบบที่ยอมให้เกิดการเสียรูปได้บ้าง หรือ FLEXIBLE GUARD ซึ่งลักษณะเด่นของราวกันตกประเภทนี้คือ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกทำขึ้นโดยการใช้โครงสร้างเหล็กที่ถูกนำมาขึ้นรูป ซึ่งข้อดีของโครงสร้างราวกันตกประเภทนี้คือ เป็นราวกันตกที่จะทำให้คนและยานพาหนะที่อาจจะอยู่ข้างล่างหรืออยู่ภายนอกโครงสร้างนั้นได้รับความปลอดภัยจากการชนหรือกระแทกของตัวรถยนต์หรือยานพาหนะที่อาจจะกระทำกับตัวโครงสร้างราวกันตกได้อีกทั้งโครงสร้างประเภทนี้ยังถือได้ว่าเป็นราวกันตกที่จะช่วยทำให้คนและยานพาหนะที่เข้ามากระแทกหรือชนเข้ากับตัวราวกันตกนั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่ดีและน่าพึงพอใจด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะราวกันตกประเภทนี้มีค่าความแข็งเกร็งอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักจึงยอมให้เกิดการเสียรูปได้หรือ HIGH FLEXIBILITY พอเกิดการกระแทกขึ้นทั้งตัวรถยนต์ที่เป็นผู้ชนและรถยนต์ที่อาจจะสัญจรไปมาอยู่ข้างล่างหรือแม้กระทั่งผู้คนที่โดยสารมาบนยานพาหนะนั้นๆ และผู้คนที่อาจจะอยู่บริเวณข้างล่าง ก็จะยังคงมีความปลอดภัยด้วยนะครับ

แน่นอนว่าในปัจจุบันราวกันตกประเภทที่สองนั้นเป็นที่ต้องการสูงกว่าแบบแรกเพราะราวกันตกประเภทนี้เป็นราวกันตกที่ช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อตัวรถยนต์และผู้คนที่อาจจะอยู่ข้างล่างและอยู่ภายในเหตุการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุโดยตรงด้วย ซึ่งก็ต้องยอมรับกันตามตรงด้วยว่า ราวกันตกประเภทนี้จะมีราคาต้นทุนของค่าก่อสร้างที่สูงกว่าราวกันตกประเภทแรกมากเนื่องจากสาเหตุหลายๆ ประการด้วยกัน ซึ่งผมคิดว่าเราคงต้องหวังพึ่งพาและอาศัยเทคโนโลยีในการก่อสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตในการที่จะช่วยทำให้สามารถที่จะลดต้นทุนค่าก่อสร้างที่สูงนี้ให้สามารถลดต่ำลงมาให้ได้ สำหรับหัวใจและหลักการสำคัญในการออกแบบโครงสร้างประเภทนี้จึงอยู่ที่ เราจะทำการออกแบบโครงสร้างราวกันตกนี้อย่างไรให้มีค่าความแข็งเกร็งอยู่ในระดับที่มีความพอดีและที่สำคัญ มีคุณสมบัติทางด้านความเหนียวที่มีค่าสูงๆ หรือ HIGH DUCTILITY นั่นเองครับ

ในสัปดาห์หน้าที่เราจะกลับมาพบกัน ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีในการทำงานออกแบบและข้อกำหนดต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกันกับโครงสร้างราวกันตกนี้เอามาอธิบายต่อกันอีกสักหนึ่งโพสต์ หากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในวันพุธหน้าได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#โครงสร้าวราวกันตก
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com