ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในแต่ละหน้าแต่ละหัวข้อไปพร้อมๆ กันนะ โดยที่ในวันนี้ผมก็จะมาต่อกนในหน้าที่ 2 หลังจากที่เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาในการคำนวณในหน้าที่ 1 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็คือรูปที่ผมได้นำเอามาประกอบคำอธิบายในวันนี้นะครับ


โดยที่ในหน้านี้หลักๆ แล้วก็จะว่าด้วยเรื่องของการคำนวณหาคุณสมบัติและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับงานออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก อย่างหัวข้อแรกก็จะเป็นการคำนวณหาค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมที่สภาวะสมดุลหรือ Pb ค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมที่น้อยที่สุดหรือ Pmin และค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมที่มากที่สุดหรือ Pmax ซึ่งหน้าตัดแบบเสริมเหล็กรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวหรือ SINGLY REINFORCED SECTION นั้นควรที่จะมีนะครับ

หัวข้อต่อมาก็จะเป็นหัวข้อในการคำนวณหาค่าระยะความลึกประสิทธิผลหรือ EFFECTIVE DEPTH ของหน้าตัดด้านที่รับแรงดึงหรือระยะ d และของหน้าตัดด้านที่รับแรงอัดหรือระยะ d’ ส่วนหัวข้อเล็กๆ ต่อมาก็จะว่าด้วยเรื่องของการคำนวณหาค่าโมเมนต์ดัดแบบที่ได้รับการเพิ่มค่าแล้วหรือ FACTORED MOMENT ซึ่งจะต้องถูกนำเอาไปใช้ในการออกแบบเหล็กเสริมต่างๆ ภายในหน้าตัดคาน คสล ของเรานะครับ

หัวข้อต่อมานี้ก็คือ หัวข้อว่าด้วยเรื่องของการคำนวณหาค่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงที่หน้าตัดคาน คสล ของเรานั้นต้องการหรือ Preq’d ซึ่งเมื่อทำการคำนวณเสร็จแล้วเราจะต้องนำเอาเปรียบเทียบกันกับค่า Pmin และ Pmax ที่คำนวณเอาไว้ก่อนหน้านี้ด้วย ทั้งนี้หากค่า Preq’d นั้นออกมามีค่าน้อยกว่า Pmin ก็จะต้องใช้ประมาณเหล็กเสริมรับแรงดึงภายในหน้าตัดไม่น้อยกว่าปริมาณเหล็กเสริมน้อยที่สุด หากค่า Preq’d นั้นออกมามีค่ามากกว่า Pmin และยังมีค่าน้อยกว่า Pmax ก็จะต้องใช้ปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงไม่น้อยกว่าปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงดึงที่หน้าตัดนั้นต้องการที่เราคำนวณออกมาได้ข้างต้นนะครับ

ในสองหัวข้อต่อมาก็จะเป็นรายละเอียดและจำนวนของการเสริมเหล็กรับแรงดึงหรือ TENSION DEBARS และเหล็กรับแรงอัดหรือ COMPRESSION DEBARS ที่เรามีความต้องการที่จะออกแบบให้แต่ละช่วงคานแต่ละช่วงนั้นมีเหล็กเสริมอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าเหล็กเสริมรับแรงดึงและเหล็กเสริมรับแรงอัดจะมีปริมาณมากที่สุดที่ตำแหน่งกึ่งกลางของคานเพราะที่ตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่มีความวิกฤติต่อค่าโมเมนต์ดัดแบบบวกมากที่สุดนั่นเองครับ

ในสองหัวข้อสุดท้ายของหน้าๆ นี้ก็จะเป็นการคำนวณหาคุณสมบัติต่างๆ ของหน้าตัดที่ได้รับการเสริมเหล็ก โดยที่พารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดในหัวข้อๆ นี้ก็คือ ค่าระยะความสูงที่ฐานของค่าแรงเค้นอัด หรือค่า kd และค่าโมดูลัสของหน้าตัดแบบแตกร้าวหรือ Icr ซึ่งหากเราลองทำการเปรียบเทียบค่าๆ นี้กับค่าโมดูลัสของหน้าตัดแบบไม่แตกร้าวหรือ Ig ที่ได้ทำการคำนวณเอาไว้ตั้งแต่ในหน้าที่ 1 ก็จะพบว่าค่า Icr ทุกๆ ค่านั้นจะออกมามีค่าที่น้อยกว่าค่า Ig เสมอ เนื่องจากการที่หน้าตัดของเรานั้นจะยังคงความไม่แตกร้าวอยู่ได้ภายใต้การรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากมากๆ เลย หากเป็นไปได้จริงก็แสดงว่าหน้าตัดของเรานั้นจะต้องมีขนาดที่ใหญ่มากๆ ซึ่งการเป็นเช่นนี้ก็จะไม่เป็นการตอบโจทย์ต่อเรื่องความประยัดในการออกแบบที่หน้าตัดนั้นควรที่จะมีนั่นเองครับ

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณในหน้าที่ 3 4 และ 5 กันต่อ หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมกันได้ในโพสต์ของวันพุธหน้าครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
#ครั้งที่3
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam