การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก

การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)

k-ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก micropile spun micropile 26-03

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ

ในช่วงที่ผ่านมาหลายๆ วันนี้เนื้อหาที่ผมโพสต์และแชร์ก็จะหนักบ้างอะไรบ้างนะครับ ในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาโพสต์เบาๆ กันสักโพสต์ดีกว่า

โพสต์ของวันนี้ผมจะขอให้แฟนเพจทุกท่านร่วมสนุกกันกับเพจแบบมีสาระไปด้วยกัน และ ผมจะมาเฉลยคำตอบให้แก่ทกๆ
คนภายในวันพรุ่งนี้

โดยที่ QUIZ ในวันนี้ คือ จากรูปมีเสาเข็มสปันไมโครไพล์หน้าตัด กลม จำนวน 1 ต้น วางฝังตัวอยู่ในชั้นดินความยาวทั้งสิ้นเท่ากับ 20 M จากผลการสำรวจดินพบว่า

ที่ชั้นดิน (1) จะมีค่า แรงเสียดทานประลัยที่ผิวของเสาเข็ม (Qf,u) เท่ากับ 1.5 T/M^(2) มีค่า แรงแบกทานประลัยที่ปลายของเสาเข็ม (Qe,u) เท่ากับ 140 T/M^(2) และมีค่า แรงถอนที่เกิดจาก NEGATIVE SKIN FRICTION เท่ากับ 0 โดยที่เสาเข็มจะมีความยาวส่วนที่ฝังอยู่ในชั้นดินชั้นนี้เท่ากับ 18 M

ที่ชั้นดิน (2) จะมีค่า แรงเสียดทานประลัยที่ผิวของเสาเข็ม (Qf,u) เท่ากับ 1.8 T/M^(2) มีค่า แรงแบกทานประลัยที่ปลายของเสาเข็ม (Qe,u) เท่ากับ 160 T/M^(2) และมีค่า แรงถอนที่เกิดจาก NEGATIVE SKIN FRICTION เท่ากับ 0 โดยที่เสาเข็มจะมีความยาวส่วนที่ฝังอยู่ในชั้นดินชั้นนี้เท่ากับ 2 M

ผมจะขอทำการกำหนดให้ใช้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (SAFETY FACTOR) ในการออกแบบเสาเข็มต้นนี้เอาไว้เท่ากับ 2.50 ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองมาทำการออกแบบเสาเข็มต้นนี้กันดูเล่นๆ ดีมั้ยครับ ?

วันพรุ่งนี้เราจะมาดูกันว่าเพื่อนๆ จะสามารถทำการคำนวณหาค่ากำลังรับแรงตามแนวแกนที่ยอมให้ของเสาเข็มสปันไมโครไพล์ต้นนี้เท่ากับเท่าใดกันบ้างนะครับ ?

ขอให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนโชคดีและสนุกไปกับการคำนวณและออกแบบเสาเข็มต้นนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ