การทดสอบหากำลังอัดของคอนกรีต (CONCRETE COMPRESSIVE STRENGTH) ในโครงสร้างอาคารเดิม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อ 2-3 วันก่อน มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งได้มาปรึกษากับผมเรื่อง การทดสอบหากำลังอัดของคอนกรีต (CONCRETE COMPRESSIVE STRENGTH) ในโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งผมก็ได้ให้คำแนะนำถึงเกร็ดและเทคนิคการทำงานเล็กๆ น้อยๆ กับเพื่อนของผมท่านนี้ไป ต่อมาผมเลยนึกขึ้นได้ว่า หากผมนำเทคนิคนี้มาบอกเล่าให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบบ้าง ก็น่าที่จะเป็นการดีเช่นกันนะครับ

เพื่อนๆ เคย หรือ ไม่ ครับ ?

เวลาที่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างอาคารหลังเดิมที่ก่อสร้างมาสักพักโดยอาศัยวิธีการวัดขนาดแรงสะท้อนด้วยเครื่อง SCHMIDT HAMMER ซึ่งหลายๆ ครั้งสิ่งที่เรามักจะพบก็คือ ค่าที่อ่านได้จากการยิงด้วย SCHMIDT HAMMER นั้นจะให้ผลค่ากำลังอัดที่ค่อนข้างสูงมาก บางครั้งก็สูงจนดูผิดสังเกต

หากเป็นเช่นนี้เพื่อนๆ เลือกที่จะทำการแก้ไขปัญหานี้อย่างไรครับ ?

เทคนิคที่ผมจะแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้นั้นจะช่วยขจัดปัญหานี้ให้หมดไปได้นะครับ นั่นก็คือ เมื่อเพื่อนๆ ทำการทดสอบด้วยการวัดขนาดแรงสะท้อนด้วยเครื่อง SCHMIDT HAMMER แล้ว อีกการทดสอบหนึ่งที่เพื่อนๆ ควรที่จะทำควบคู่ด้วยเสมอเลยก็คือ การเจาะตัวอย่างคอนกรีต (CORING SAMPLE) เพื่อนำไปทดสอบหาค่ากำลังอัด โดยที่มีข้อแม้ว่า จำนวนของคอนกรีตตัวอย่างที่จะต้องทำการเจาะนั้น จะต้องมีปริมาณที่ถือได้ว่ามากเพียงพอ และ จะต้องมีการกระจายตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอด้วยนะครับ

เมื่อเราทำการทดสอบหาค่ากำลังอัดเสร็จแล้ว เราก็จะนำค่ากำลังอัดที่ทดสอบจากตัวอย่างจริงนี้ไปทำการปรับแก้กันกับค่าที่ได้จากการหาค่ากำลังอัดโดยอาศัยวิธีการวัดขนาดแรงสะท้อนด้วยเครื่อง SCHMIDT HAMMER การทำเช่นนี้จะทำให้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ได้จากการทดสอบด้วย SCHMIDT HAMMER นั้นจะมีค่าที่เข้าใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นนั่นเองนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ?

เพื่อนๆ สามารถที่จะนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ นี้ไปใช้ในการทำงานตรวจสอบอาคารจริงๆ ได้เลยนะครับ ผมไม่การสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com