ชนิด และ ประเภท ของ คำว่า BOUNDARY CONDITIONS

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง ชื่อ ชนิด และ ประเภท ของ คำว่า BOUNDARY CONDITIONS กันนะครับ

เพื่อนๆ อาจจะงงนะครับว่าคำว่า BOUNDARY CONDITIONS นั้นมีประเภทด้วยหรือ คำตอบคือ มีครับ

โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้จัก BOUNDARY CONDITIONS จากสมการเงื่อนไขคุณสมบัติของจุดรองรับกันใช่มั้ยครับ ? วันนี้ผมจะมาขยายความคำๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ นะครับ

เราสามารถแบ่ง BOUNDARY CONDITIONS ออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

(1) GEOMETRIC BOUNDARY CONDITIONS
บางครั้งเราก็เรียกแทนว่า FORCED BOUNDARY CONDITIONS หรือ ESSENTIAL BOUNDARY CONDITIONS

(2) NATURAL BOUNDARY CONDITIONS
บางครั้งเราก็เรียกแทนว่า FORCES BOUNDARY CONDITIONS หรือ NON-ESSENTIAL BOUNDARY CONDITIONS

ดูจากรูปที่แนบมานะครับ ในรูปเป็นคานยื่นที่ปลายด้านหนึ่งยึดเข้ากับจุดรองรับแบบแน่น (FIXED SUPPORT) ที่ปลายอีกข้างหนึ่งเป็นปลายอิสระมี CONCENTRATED LOAD กระทำมีค่าเท่ากับ P ในทิศทางลง

หากดูค่า GEOMETRIC BOUNDARY CONDITIONS ของโครงสร้างนี้ก็ได้แก่

y (x=0) = 0
y’ (x=0) = 0

หากดูค่า NATURAL BOUNDARY CONDITIONS ของโครงสร้างนี้ก็ได้แก่

EI y” (x=L) = 0 (MOMENT มีค่าเท่ากับ 0)
EI y”‘(x=L) = -P (CONCENTRATED LOAD มีค่าเท่ากับ -P)

โดยที่
y คือ DISPLACEMENT EQUATION ของคาน
y’ คือ ROTATION EQUATION ของคาน
y” คือ MOMENT EQUATION ของคาน
y”’ คือ SHEAR EQUATION ของคานA

จะเห็นได้ว่าเราสามารถนำเงื่อนไขจาก BOUNDARY CONDITIONS ทั้งแบบ GEOMETRIC BOUNDARY CONDITIONS และ NATURAL BOUNDARY CONDITIONS เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านงานวิศวกรรมโครงสร้างได้มากมายนะครับ ในโอกาสถัดๆ ไปผมจะนำ ตย เหล่านี้มาสาธิตให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยนะครับ จนกว่าจะพบกันใหม่

ADMIN JAMES DEAN