การออกแบบวิศวกรรมพลศาสตร์ (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING หรือ SDE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมพลศาสตร์ (STRUCTURAL DYNAMICS ENGINEERING หรือ SDE) นะครับ

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าเวลาที่ผมมักจะพูดถึง การออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ (LARGE MACHINE FOUNDATION) ที่มีการสั่นตัวมาก (LARGE VIBRATION AMPLITUDE) ทางผู้ออกแบบเค้ามีวิธีการดูอย่างไรว่าโครงสร้างที่รองรับเครื่องจักรเหล่านี้มีความใช้ได้แล้ว ? สามารถที่จะทำการก่อสร้างเพื่อที่จะใช้เป็นฐานรากเพื่อรองรับเครื่องจักรนั้นๆ ได้แล้ว ?

วันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาทำการไขข้อข้องใจในข้อสงสัยประการนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ

ในความเป็นจริงนั้นในการออกแบบฐานรากรองรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีการสั่นตัวมาก ทางผู้ออกแบบไม่สามารถที่จะดูและเปรียบเทียบค่าการเสียรูปที่ยอมให้ (ALLOWABLE DISPLACEMENT) กับค่าการเคลื่อนตัวสูงสุด (MAXIMUM DISPLACEMENT) ในโครงสร้างที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักรตามหลักการในการออกแบบโครงสร้างแบบสถิตศาสตร์ทั่วๆ ไปได้นะครับ เพราะ ลักษณะของการเสียรูปที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นไปในลักษณะที่เป็นแบบพลศาสตร์ พูดง่ายๆ คือตัวฐานรากจะเกิดการเสียรูปไปเสียรูปมาในโหมดของการสั่นไหวตามความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรที่ตัวโครงสร้างฐานรากนี้จะรองรับด้วยนั่นเองนะครับ

ดังนั้นในชั้นตอนนี้เราจำเป็นที่จะต้องนำหลักการทางด้านพลศาสตร์ของโครงสร้างมาใช้ประเมินและวิเคราะห์มาใช้แล้ว ซึ่งจริงๆ ก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีนะครับ แต่ วิธีการที่ผมจะนำมาแนะนำกับเพื่อนๆ ในวันนี้จะเป็นวิธีการหนึ่งที่เรานิยมนำมาใช้กัน นั่นก็คือ แผนภูมิภาพที่แสดงถึงระดับของการยอมรับได้และความรู้สึก หรือ PERCEPTION GRAPH (เพื่อนดูรูปประกอบได้นะครับ)

แผนภูมิอันนี้ถูกสร้างขึ้นตามหลักการของทางด้านพลศาสตร์ของโครงสร้าง โดยร่วมกันกับการเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากคนที่ต้องทำงานอยู่กับโครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการต้านทานการเคลื่อนตัวแบบพลศาสตร์ชนิดต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น เครื่องจักรหนัก สะพาน ทางเดินลอย เป็นต้น

หลักการง่ายๆ ในการใช้งานแผนภูมินี้คือ เราจะต้องทำการคำนวณเสียก่อนนะครับว่าโครงสร้างของเรานั้นมีค่าความถี่ตามธรรมชาติของการสั่นตัวเท่ากับเท่าใด (FREQUENCY) จากนั้นก็ต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีพลศาสตร์ตามกรณีของ นน บรรทุกแบบพลศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ (DYNAMIC LOAD CASE) เพื่อที่ดูว่าโครงสร้างของเรานั้นมีปริมาณค่าการเสียรูปเชิงพลศาสตร์มากที่สุด (DISPLACEMENT AMPLITUDE) เท่ากับเท่าใด

เมื่อนำค่าความถี่ตามธรรมชาติของการสั่นตัวมาพล็อตทางแกน X และนำปริมาณค่าการเสียรูปเชิงพลศาสตร์มากที่สุดมาพล็อตทางแกน Y เราจะลากเส้นตัดทั้ง 2 แกนเพื่อที่จะดูว่าตำแหน่งของเส้นตัดนี้จะตกอยู่ในบริเวณ ZONE ใด โดยที่ในแผนภูมินี้จะแบ่ง ZONE ออกเป็นช่วงๆ ตามระดับของความรู้สึก (PERCEPTION) ซึ่งในที่สุดก็จะสามารถบอกให้เราทราบได้นะครับว่าโครงสร้างของเรานั้นมีระดับของความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานมากหรือน้อยเพียงใดนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ? หวังว่าในวันนี้เพื่อนๆ น่าที่จะพอเข้าใจถึงหลักในการการออกแบบโครงสร้างเชิงพลศาสตร์กันไปพอสังเขปกันแล้วใช่มั้ยครับ ?

เอาเป็นว่าในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตนำรายการคำนวณทางด้านพลศาสตร์โครงสร้างมาฝากแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกัน หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com