ปัญหาการทำงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากบนชั้นดินอ่อน และความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

ตามที่ผมได้แจ้งเพื่อนๆ ไปเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตหยิบยกนำเอาเนื้อหาเกี่ยวกับกรณีของการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนเอามาฝากเพื่อนๆ อีกสักโพสต์และสำหรับวิธีที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนที่ผ่านมาที่ได้รับผลค่อนข้างที่จะดีซึ่งผมจะนำมาสรุปให้ฟังในวันนี้ก็ได้แก่

1.วิธีการถ่ายน้ำหนักของดินถมหรือสิ่งปลูกสร้างให้ลงไปสู่ชั้นดินที่มีความแข็งแรงมากกว่าและมีอัตราของการทรุดตัวที่น้อยกว่า ซึ่งก็ได้แก่การใช้เสาเข็มดินซีเมนต์หรือ SOIL-CEMENT COLUMN ซึ่งโดยรวมก็พบว่าสามารถที่จะใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งแต่ก็ยังพบว่ายังปัญหาอยู่บ้าง เช่น การใช้งานเสาเข็มดินซีเมนต์ในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนจะทำให้เกิดการยุบตัวที่ไม่สม่ำเสมอของดินระหว่างพื้นที่ๆ มีการใช้งานเสาเข็มดินซีเมนต์และสำหรับบางกรณีก็อาจจะพบการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของผิวทางบริเวณขอบของผิวถนนและลาดไหล่ทางที่มีการกระจายตัวของหน่วยแรงลงสู่เสาเข็มดินซีเมนต์ที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น ซึ่งสามารถดูรูปที่ 1 ประกอบได้นะครับ

 

2.วิธีการเร่งให้เกิดค่าการทรุดตัวโดยการกดทับด้วยน้ำหนักกดทับล่วงหน้าหรือ PRE-LOADING โดยที่หลักการของวิธีการนี้ก็คือ การกดทับดินเหนียวอ่อนด้วยน้ำหนักที่มากกว่าน้ำหนักที่จะมีการใช้งานจริงๆ แล้วก็ทำการเร่งให้เกิดค่าการทรุดตัวโดยการเร่งระบายน้ำให้ออกจากมวลดิน ซึ่งก็จะทำให้เกิดค่าการทรุดตัวไปตามน้ำหนักที่ทำการ PRE-LOADING และเมื่อการทรุดตัวนั้นสิ้นสุดลงก็จะนำเอาน้ำหนักที่ใช้ในการ PRE-LOADING นั้นๆ ออกไปให้คงเหลือเพียงแต่น้ำหนักสุดท้ายของโครงสร้างที่จะคงอยู่อย่างถาวร ซึ่งก็จะรวมไปถึงน้ำหนักของดินที่ถูกทำให้ทรุดตัวจมลงไปและค่าน้ำหนักดังกล่าวนี้ก็จะต้องมีค่าที่น้อยกว่าค่าน้ำหนักที่ใช้ในการ PRE-LOADING ที่ทำขึ้นในครั้งแรกด้วย ซึ่งสามารถดูรูปที่ 2 ประกอบได้นะครับ

 

สาเหตุที่ผมได้ทำการรวบรวมและสรุปวิธีการในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนในโพสต์ๆ นี้นั้นเป็นเพราะว่าจริงๆ แล้วตัวของผมเองเคยได้ทำการกล่าวถึงเรื่องและหัวข้อเหล่านี้ไปบ้างหลายครั้งแล้วเหมือนกันแต่อาจจะเนื่องกล่าวด้วยเป็นการกล่าวถึงแบบต่างกรรมต่างวาระกัน พูดง่ายๆ ก็คือ ผมเคยได้ทำการกล่าวถึงเนื้อเรื่องข้างต้นโดยทำการแยกเนื้อหาออกจากกัน หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจอยากจะอ่าน ก็ลองไปย้อนอ่านบทความเหล่านี้ได้จากในเพจได้นะครับ

 

ในวันนี้ผมจึงมีความคิดและความคาดหวังว่า สำหรับเพื่อนๆ ที่อาจจะกำลังประสบพบเจอกับปัญหาเรื่องการทำงานก่อสร้างบนพื้นที่ๆ มีลักษณะเป็นดินอ่อนอยู่ก็น่าที่จะมองเห็นแนวทางและวิธีในการทำงานพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนที่มีการใช้งานจากในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันได้ไม่มากก็น้อย ที่สำคัญก็คือวิธีการที่ผมนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ล้วนแล้วแต่ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างจะดีมากๆ ดังนั้นหากเพื่อนๆ จะลองนำเอาวิธีการดังกล่าวนี้มาพิจารณาใช้บ้าง ก็น่าที่จะมีความคุ้มค่าที่จะนำเอามาประยุกต์ใช้ในการทำงานพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินอ่อนของเพื่อนๆ ได้เช่นกันนะครับ

 

ปล ผมต้องขออนุญาตและกราบขอบพระคุณสำหรับรูปภาพและเนื้อหาบางส่วนที่ผมได้นำมาใช้ในการโพสต์ในวันนี้จากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ เลขบทความที่ วศ.ปฐพีและฐานราก 61/1 เรื่องการแก้ปัญหาการทรุดตัวของงานถนน งานถมที่ และถมบ่อดิน ในพื้นที่ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ด้วยการปรับปรุงคุณภาพดินและเทคนิค VCM ซึ่งได้มีการจัดทำไว้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ GERD โดยมีท่าน รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของศูนย์วิจัย อีกทั้งท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฐพีและฐานรากที่เก่งมากๆ ด้วยครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ความรู้เรื่องปัญหาการทำงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากบนชั้นดินอ่อนและความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดิน

#ตอนที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com