ลักษณะโครงสร้างชั้นดินเหนียวกรุงเทพ หรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า Bangkok Clay

ดินเหนียวอ่อนโดยทั่วไปเป็นดินท่ีตกตะกอนอยู่บริเวณปากแม่น้ํา โดยลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณน้ีเม็ดดินจะถูกพัดพาจากแม่น้ำลงสู่ทะเลและน้ำทะเลก็หนุนกลับเข้ามาตกตะกอน ทําให้ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีทั้งแบบตกตะกอนในแม่น้ําและในทะเล ซึ่งเป็นลักษณะการเกิดของดินเหนียวอ่อนบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินเหนียวกรุงเทพ (Bangkok Clay) โดยมีลักษณะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนหนาประมาณ 10-15 เมตร ชั้นถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งและชั้นทรายสลับกันไป ดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ (Bangkok Clay) มีลักษณะชั้นดินและคุณสมบัติของดิน ดังนี้ ชั้น Crust ที่มีความลึกประมาณ 0-2 เมตร … Read More

ฐานราก (Footing) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง

สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว

การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู … Read More

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต…มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ปัญหาได้โดยวิธีไหน

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต เป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัสดุที่มีความแข็งหรือจากการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักดังนี้ การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไป และมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้า … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป

คอนกรีตหมดอายุ…เราจะรู้ได้ยังไง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิตเสร็จ ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแล้วจะต้องเร่งเทคอนกรีตให้ทันภายในเวลา 2 ชั่วโมง เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ ดังนั้นก่อนจะสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อมาใช้ในงานก่อสร้าง ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมไปถึงควรเตรียมพื้นที่หน้างานและคนงานให้พร้อม … Read More

ในงานตอกเสาเข็ม Last 10 Blow Count ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นอันดับแรก

โดยปกติถ้าเป็นดินที่อยู่แถวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นดินอ่อน การจะตอกเสาเข็มให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งได้ก็จะต้องตอกให้ลึกประมาณ 21 เมตร หากใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ก็จะต้องใช้เสาเข็ม 14 ท่อนในการตอก 1 ต้น แต่เนื่องจากว่าหน้าดินของแต่ละที่ไม่เหมือนกันดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มที่ตอกไปลงลึกจนถึงระดับที่จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการนับโบว์เคาท์ Last 10 Blow Count หมายถึงระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณฑ์ … Read More

ผนังอิฐมวลเบา สามารถแขวนของหนักได้มากแค่ไหน

ในวงการก่อสร้างช่วงหลังมานี้ นิยมนำอิฐมวลเบามาใช้ในงานก่อสร้างกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอิฐแบบทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจึงช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ ลดความร้อน และทนต่อไฟไหม้ได้มากกว่า ทั้งยังช่วยให้ทำงานก่อสร้างได้ง่ายขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในทำงานอีกด้วย การออกแบบบ้านหรือว่าคอนโดส่วนใหญ่จะเน้นแบบโมเดิร์น ซึ่งนิยมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เป็นแบบเจาะติดผนังเลย เช่น การติดตั้งโทรทัศน์แบบแขวนติดผนัง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำชั้นวางหนังสือแบบยึดติดผนัง หลายคนอาจจะสงสัยว่าผนังบ้านที่ใช้อิฐมวลเบาจะสามารถแขวนของที่มีน้ำหนักมากขนาดนี้ได้ไหม ในบล็อกนี้จึงขอเอาข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

1 74 75 76 77 78 79 80 81