อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) ทางเลือกใหม่ของงานก่อสร้าง

อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ

งานตอกเสาเข็มสำหรับต่อเติมบ้านจัดสรร ที่จุดต่อเติมอยู่ติดกับตัวโครงสร้างของบ้านเดิม

งานต่อเติมโครงการบ้านจัดสรร บ้านสถาพร รังสิต คลอง 3 งานตอกเสาเข็มสำหรับต่อเติมบ้านจัดสรร ที่จุดต่อเติมอยู่ติดกับตัวโครงสร้างของบ้านเดิม แถมยังอยู่ใกล้กับรั้วบ้านของเพื่อนบ้าน ถ้าหากว่าใช้เสาเข็มตอกขนาดใหญ่ก็เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเดิม จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เหมาะกับงานต่อเติมในลักษณะนี้มากกว่า

เครื่องสั่นคอนกรีต (Concrete Vibrator) เครื่องมือขาดไม่ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

ในงานคอนกรีตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอัดแน่นคอนกรีตก่อนที่จะแข็งตัว เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่ดี ทำให้เนื้อคอนกรีตอัดแน่นสม่ำเสมอ ไม่เป็นรูโพรง ไม่มีแตกตัวหรือแยกตัวออกจากกัน มีการยึดเกาะยึดเหนี่ยวที่ดีของเหล็กที่ผูกไว้เป็นแบบหล่อ หรือเป็นเหล็กเส้นที่เสริมระหว่างคอนกรีต วิธีการอัดแน่นคอนกรีต สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ – การเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugation) – การกระทุ้ง (Tamping) – การตำ (Rodding) – การเขย่า … Read More

งานดีดบ้าน อาคารไม้หลังเก่า สำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี

ตัวอย่างงานที่ใช้เสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เป็นงานซ่อมแซมอาคารไม้หลังเก่า สำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี ซึ่งทรุดโทรมมากเพราะมีอายุหลายสิบปีเริ่มตั้งแต่สร้างมา และผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่มาหลายรอบ ทางสำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี ต้องการที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังเก่าเอาไว้ จึงได้ให้ผู้รับเหมาเข้ามาปรับปรุงอาคารไม้หลังนี้ แอดมินเห็นว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากในการนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์มาใช้ ก็เลยนำมาเขียนเป็นตัวอย่างให้ดูกันครับ

คอนกรีตผสมเสร็จ ควรเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้วลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิต ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแพล้นท์คอนกรีตจะไม่ยอมให้การเทคอนกรีตล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมงอยู่แล้ว เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกปูนออกมาอีกด้วย และจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปให้กับลูกค้ารายอื่นไม่ทันอีกด้วย

คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้ ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด … Read More

เหล็กปลอก (Stirrup) เหล็กสำหรับเสริมความแข็งแรงให้กับเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

เหล็กปลอก (Stirrup) คือ เหล็กที่ใช้เสริมอยู่ภายในเสาหรือคานในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กที่ใช้ส่วนมากคือคือเหล็กเส้นกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร โดยจะดัดเหล็กเส้นเป็นรูปร่างเดียวกับพื้นที่หน้าตัดของเสาหรือคานที่จะใช้ ติดตั้งล้อมรอบเหล็กยืน ตลอดความยาวของโครงสร้างเป็นระยะห่างอย่างสม่ำเสมอ หากเสาคอนกรีตมีแต่แกนเหล็กแต่ไม่มีเหล็กรัดรอบ เมื่อเสารับน้ำหนักจนเกินกำลังที่รับได้ เสาจะเกิดการวิบัติในลักษณะแตกระเบิด ก่อนเกิดการโก่งตัว ดังนั้นเหล็กปลอกจึงช่วยต้านทานการแตกของคอนกรีตภายในได้ เสาจะไม่แตกระเบิด แต่ค่อยๆ โกงตัวจนกระทั่งเกิดการวิบัติในที่สุด

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (Concrete Covering) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก

เหล็กเสริมคอนกรีต (Reinforced Steel Bar)

เหล็กเส้น (Rebar) ใช้สำหรับนำมาเสริมคอนกรีตในบริเวณที่รับแรงดึงหรือต้านทานการแตกร้าวในคอนกรีต แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) และ เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar, DB) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 20-2543 … Read More

1 75 76 77 78 79 80 81