การตรวจสอบสภาวะการใช้งาน (SERVICEABILITY)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ช่วงนี้ผมจะมาโพสต์เอาใจนักออกแบบกันสักเล็กน้อยนะครับ

หลายๆ ครั้งเวลาที่เราทำการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ สิ่งหนึ่งที่เราพบเจออยู่ได้บ่อยๆ ก็คือ เมื่อออกแบบหน้าตัดคานเหล็กทางสภาวะการรับกำลัง (STRENGTH) เสร็จแล้ว เราต้องทำการตรวจสอบสภาวะการใช้งาน (SERVICEABILITY) ด้วยทุกครั้งไปครับ

เวลาที่เราทำการตรวจสอบเพื่อนๆ หลายๆ ท่านอาจจะงงว่าเหตุใดเมื่อใช้ นน บรรทุกคงที่ และ นน บรรทุกจร รวมกันแล้วคำนวณค่าการโก่งตัวสูงสุด (MAXIMUM DISPLACEMENT) เหตุใดถึงต้องมีการคำนวณค่าการโก่งตัวที่ยอมให้ (ALLOWABLE DISPLACEMENT) ?

สาเหตุที่ต้องตรวจสอบสภาวะการใช้งานนี้ก็เพราะว่า โครงสร้างแต่ละโครงสร้างจะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น คานเหล็กที่เป็นคานรับ นน ของชั้นหลังคาที่ไม่มีผนังอยู่ด้านล่าง ก็ย่อมที่จะยอมให้เกิดการโก่งตัวได้มากกว่าคานเหล็กที่ใช้รับ นน ที่ชั้นทั่วๆ ไป เพราะว่าที่ชั้นทั่วๆ ไปใต้คานจะมีผนังที่ก่อขึ้นมาชนท้องคานพอดี หากปล่อยให้การโก่งตัวนี้มีค่ามากจนเกินไป จะทำให้ท้องคานคานโก่งตัวจนชนผนังจนแตกร้าวได้ (ดูรูปที่ 1) เป็นต้นครับ

ด้วยประการฉะนี้เอง เวลาที่เราทำการออกแบบโครงสร้างคานเหล็กที่ตำแหน่งของโครงสร้างต่างกัน จึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบค่าการโก่งตัวที่ยอมให้โดยใช้ค่าที่ยอมให้สูงสุดที่แตกต่างกันออกไปครับ (ดูรูปที่ 2)

วันพรู่งนี้ผมจะมาพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อนะครับ ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านกันนะครับ

 

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชนต่อตัวท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JD @ ภูมิสยามไมโครไพล์