การรับแรงกระทำตามแนวแกนร่วมกันกับแรงดัดในโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

หลังจากที่ในสัปดาห์ที่แล้วผมพูดจบไปแล้วถึง วิธีในการคำนวณหาค่าNORMAL FORCE STIFFNESS หรือ AXIAL STIFFNESS หรือ ซึ่งเราอาจจะแทนค่าๆ นี้ด้วยค่า Ka และ BENDING FORCE STIFFNESS หรือ ROTATIONAL STIFFNESS ซึ่งเราอาจจะแทนค่าๆ นี้ด้วยค่า Kr ของโครงสร้างเสาเข็ม รวมถึงที่มาที่ไปของวิธีในการคำนวณหาค่า Ka และ Kr ข้างต้นด้วย ซึ่งก็ตามที่ผมได้ทำการอธิบายและสรุปไปก่อนหน้านี้แล้วว่า วิธีการข้างต้นนั้นเป็นเพียงวิธีการ “โดยประมาณ” เท่านั้น ดังนั้นต่อไปผมจะมาทำการอธิบายถึงวิธีการ “โดยละเอียด” กันบ้างนะครับ

 

ก่อนอื่นผมต้องขอใช้พื้นที่ตรงนี้ในการเริ่มต้นทำการอธิบายก่อนว่า วิธีการที่ผมจะเล่าให้ทราบต่อไปนี้เมื่อฟังดูแล้วอาจจะมีความสับสนเกิดขึ้นได้เพราะหลักการที่ผมจะนำมาอธิบายนั้นเป็นวิธีการหนึ่งในการที่เราจะใช้ในการประมาณการค่า “ความสามารถในการรับแรงกระทำที่ด้างข้าง” และ “ความสามารถในการรับแรงดัด” ของโครงสร้างเสาเข็มได้เลย ซึ่งจะแตกต่างออกไปจากวิธีการ “โดยประมาณ” ที่เราต้องทำการคำนวณหาค่า ความแข็งเกร็ง หรือ STIFFNESS ของโครงสร้างเสาเข็ม ทั้งในรูปแบบของ ค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน หรือ AXIAL STIFFNESS และ ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัด หรือ ROTATIONAL STIFFNESS นะครับ

 

ทั้งนี้เป็นเพราะหากจะถามว่า เราจะสามารถทำการคำนวณหาค่า ค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน และ ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัด ของ “ดิน” ได้หรือไม่ ?

 

คำตอบคือ ได้ครับ แต่จะมีความยุ่งยากมากในระดับหนึ่งเลย ผมจึงมีความคิดว่าเพื่อเป็นการลดความยุ่งยากในการคำนวณข้างต้น หากจะว่ากันตามกรณีปกติทั่วๆ ไป เราจะมีการทำการทดสอบดิน หรือ BORING LOG ในสถานที่ก่อสร้างของเพื่อนๆ พวกเราจะทราบกันดีอยู่แล้วจากรายงานการทดสอบดินว่า ค่าความสามารถในการรับแรงกระทำตามแนวแกนของโครงสร้างเสาเข็มเมื่ออยู่ใน “ดิน” ณ สถานที่นั้นๆ จะมีค่าเท่ากับเท่าใด ผมจึงจะขอให้คำแนะนำแก่น้องแฟนเพจท่านนี้รวมถึงเพื่อนๆ ทุกคนให้ได้ทราบถึงวิธีในการคำนวณหา ค่าความสามารถของการรับแรงกระทำทางด้านข้าง และ ค่าความสามารถของการรับแรงดัด ของดินเลยน่าจะเป็นการดีและสะดวกกว่า ส่วนหากเพื่อนๆ ท่านใดที่สนใจวิธีในการคำนวณคำนวณหาค่า ค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกน และ ค่าความแข็งเกร็งต่อการดัด ของดินจริงๆ ไว้ผมค่อยนำเอาเรื่องนี้มาทำการอธิบายให้ในภายหลังก็ได้นั่นเองนะครับ

 

แต่ก่อนที่ผมจะเริ่มต้นทำการอธิบายถึงวิธีในการคำนวณตามที่ได้เกริ่นให้ทราบไปข้างต้น น้องแฟนเพจท่านนี้ก็มีคำถามเพิ่มเติมสั้นๆ เข้ามาว่า

 

“สำหรับกรณีของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ต้องทำหน้าที่ในการรับโมเมนต์ดัด เราจะต้องทำการเสริมความยาวของเหล็กเสริมพิเศษเท่ากับเท่าใดจึงจะเพียงพอครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจตรงนี้อีกนิสนึงครับ”

 

ก่อนที่ผมก็จะขอทำการอธิบายถึงเนื้อหาตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ผมจะขออนุญาตทำการแทรกตอบคำถามสั้นๆ ข้อนี้ให้น้องแฟนเพจท่านนี้เสียก่อน พร้อมกับทำการยกตัวอย่างประกอบให้ด้วยนะครับ

 

หลักการก็คือ หากเรามีเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงอยู่ต้นหนึ่ง เราจะต้องทราบเสียก่อนนะครับว่า

 

(1) เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงต้นนั้นๆ ของเราจะมีค่าความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัด หรือ BENDING FORCE CAPACITY ร่วมกันกับแรงกระทำตามแนวแกน หรือ AXIAL FORCE CAPACITY ของโครงสร้างเสาเข็มเท่ากับเท่าใด ซึ่งเราก็จะสามารถทำการคำนวณได้ตามวิธีการที่ผมเคยหยิบยกมาทำการอธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้นะครับ

 

(2) ต่อมาก็คือ เราจะต้องทราบด้วยว่า เมื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างเสร็จแล้ว เสาเข็มของเรานั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดค่าแรงโมเมนต์ดัดที่กระทำกับเสาเข็มว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดนะครับ

 

(3) เราจะต้องนำเอาค่าจาก (1) มาเปรียบเทียบกับ (2) เพื่อดูว่าค่าใดมีค่ามากกว่ากัน ซึ่งหากค่าจาก (1) นั้นมีค่ามากกว่า (2) นั่นก็แสดงว่าค่าแรงโมเมนต์ดัดนั้นมีค่าน้อยกว่าค่าความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัดของเสาเข็ม เราอาจจะแค่ทำการเสริมเหล็ก DOWEL ด้วยปริมาณ “ขั้นต่ำ” ก็เป็นการเพียงพอแล้ว แต่ หากค่าจาก (1) นั้นมีค่าน้อยกว่า (2) นั่นก็แสดงว่าค่าแรงโมเมนต์ดัดนั้นมีค่ามากกว่าค่าความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัดของเสาเข็มซึ่งก็จะทำให้ทราบว่า จำเป็นที่จะต้องทำการเสริมด้วยเหล็กเสริมพิเศษจริงๆ แล้วละครับ

 

(4) จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างในข้อที่ (3) หากว่าโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีความจำเป็นที่จะต้องทำการเสริมด้วยเหล็กเสริมพิเศษจริงๆ เราก็จะทราบด้วยว่า “ระยะ” ของการที่เกิดแรงโมเมนต์ดัดจริง ที่มีค่า “มากกว่า” ค่าความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัดของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงต้นนั้นๆ จะมีค่าเท่ากับระยะเท่าใด ซึ่งระยะดังกล่าวนั้นก็จะเป็นระยะที่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยเหล็กเสริมพิเศษนั่นเองครับ

 

(5) พอเราทราบข้อมูลว่าระยะที่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยเหล็กเสริมพิเศษนั้นเท่ากับเท่าใด เราก็จะเลือกทำการหยุดเสริมเหล็กดังกล่าวนี้โดยที่จะต้องให้เลยระยะที่มีความต้องการเหล็กเสริมนี้ออกไป โดยที่จะต้องทำการพิจารณาถึงเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

(5.1) ระยะการฝังยึดที่จะสร้างแรงยึดเหนี่ยวที่ต้องมากเพียงพอ

 

(5.2) ระยะการหยุดเหล็กเสริมในทางปฏิบัติต้องมากกว่าระยะการหยุดเหล็กเสริมในทางทฤษฎี

 

(5.3) ระยะของความยาวของเสาเข็มจริงๆ ที่จะเลือกนำมาใช้งาน

 

(5.4) ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง

 

โดยที่ผมจะขอยกตัวอย่างขึ้นง่ายๆ ดังนี้ ผมจะสมมติว่า ผมมีเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงต้นหนึ่งซึ่งมีความยาวของเสาเข็มเท่ากับ 18 เมตร โดยที่ผมเลือกใช้เสาเข็มที่มีความยาวต่อท่อนเท่ากับ 6 เมตร จำนวนทั้งหมด 3 ท่อนนำมาต่อกัน และเสาเข็มต้นนี้ของผมจะมีค่าความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัดเท่ากับ 2 ตัน-เมตร แต่ เมื่อทำการวิเคราะห์โครงสร้างเสร็จแล้ว เสาเข็มของเรานั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดค่าแรงโมเมนต์ดัดที่กระทำกับเสาเข็มเท่ากับ 5 ตัน-เมตร โดยที่ระยะที่จะเกิดค่าโมเมนต์ดัดเท่ากับ 2 ตัน-เมตร นั้นจะอยู่ที่ ระดับความลึก 9 เมตร จากผิวดิน คำถามก็คือ เราจะเลือกทำการเสริมเหล็กเสริมพิเศษความยาวเท่ากับเท่าใดและทำการเสริมเสาเข็มทั้งหมดจำนวนกี่ท่อน ?

 

หากเพื่อนๆ ทำการพิจารณาจากสถานการณ์ข้างต้นก็จะพบว่า ที่ระดับของความลึกนี้จะอยู่ในช่วงความยาวของเสาเข็มต้นที่ 2 ดังนั้นจึงทำให้เหลือความยาวของเสาเข็มต้นที่ 2 อีกถึง 3 เมตร ซึ่งมีความมากเพียงพอต่อปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะการฝังยึดที่จะสร้างแรงยึดเหนี่ยวที่ต้องมากเพียงพอ ระยะการหยุดเหล็กเสริมในทางปฏิบัติต้องมากกว่าระยะการหยุดเหล็กเสริมในทางทฤษฎี ระยะของความยาวของเสาเข็มจริงๆ ที่จะเลือกนำมาใช้งาน และปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง เป็นต้น ผมจึงตัดสินใจที่จะสั่งให้ทำการเสริมเหล็กพิเศษให้เต็มความยาวของเสาเข็มต้นที่ 2 นี้เลยนะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมคิดว่าน่าที่จะสามารถมาเริ่มต้นทำการอธิบายถึงวิธีการ “โดยละเอียด” ในการประมาณการค่า “ความสามารถในการรับแรงกระทำที่ด้างข้าง” และ “ความสามารถในการรับแรงดัด” ของโครงสร้างเสาเข็มกันได้เสียที หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ตอบปัญหาเรื่องการรับแรงกระทำตามแนวแกนร่วมกันกับแรงดัดในโครงสร้างเสาเข็ม

#ตอนที่5

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com