บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

สร้างใหม่ เลือกใช้เสาเข็มแบบไหน? ฐานรากถึงจะมั่นคงแข็งแรงไม่ทรุดตัว

สร้างใหม่ เลือกใช้เสาเข็มแบบไหน? ฐานรากถึงจะมั่นคงแข็งแรงไม่ทรุดตัว เสาเข็มเป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมด และการตอกเสาเข็ม จะต้องมีการออกแบบการรับน้ำหนักโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ และทำการตอกเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินทรายแข็ง เพื่อให้เกิดแรงต้านบริเวณปลายเสาเข็มและชั้นดินทรายแข็ง ทำให้การรับน้ำหนักเป็นไปอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามหลักวิศวกรรม หากตอกเสาเข็มไม่ได้ความยาวตามที่วิศวกรออกแบบ อาจทำให้เสาเข็มไม่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย จนก่อให้เกิดการทรุดตัวและเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างได้ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในงานก่อสร้าง เพราะสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่วิศวกรออกแบบ ถึง15-50 ตัน/ต้น (ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่) และภูมิสยาม … Read More

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES จุดประสงค์ของการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง คือ การป้องกันการเคลื่อนตัวของมวลดิน ไม่ให้ดินเกิดการเคลื่อนที่เข้ามาสู่ตัวโครงสร้างจนโครงสร้างเกิดการวิบัติขึ้น ทั้งนี้การประยุกต์ใช้โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังในทางวิศวกรรรม เช่น งานดินถม งานดินขุด งานสะพาน งานโครงสร้างเพื่อป้องมิให้น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังนั้นมักที่จะก่อสร้างขึ้นในรูปแบบของกำแพงหรือ WALL ที่จะทำหน้าที่ในการกันดิน … Read More

ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง การออกแบบเสายาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้เมื่อในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ว่า ในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาตัวอย่างที่เป็นการแสดงขั้นตอนในการคำนวณหาค่า MAGNIFICATION FACTOR โดยวิธีการละเอียดเอามาฝากให้แก่เพื่อนๆ โดยที่ตัวอย่างที่ผมจะนำเอามาให้เพื่อนๆ ดูในวันนี้จะเป็นการอธิบายการคำนวณให้ดูเฉพาะเพียงแค่การรับแรงดัดรอบแกนอ่อนของโครงสร้างเสา หรือ WEAK AXIS เพียงแค่แกนเดียว … Read More

การรับน้ำหนักบรรทุกของ ฐานรากแบบเสาเข็ม (Pile Foundation)

เสาเข็ม (Pile) สามารถต้านทานน้ำหนักอาคารได้โดยมี 2 กลไกหลัก คือ ความฝืดหรือแรงเสียดทาน (Friction) กับ แรงแบกทาน (End bearing) ดังนั้นรูปร่างหน้าตัดของเสาเข็มกับความยาวของเสาเข็ม ตลอดจนวัสดุท่ีใช้ทําเสาเข็ม จึงมีผลต่อการรับหนักนักของเสาเข็มด้วย แรงฝืดหรือกําลังแบกทานของดิน จะกระทำระหว่างผิวเสาเข็มกับดินท่ีล้อมรอบ ส่วนแรงแบกทานท่ีปลายเสาเข็มเกิดจากน้ำหนักของอาคารถ่ายลงฐานราก แล้วถ่ายต่อลงไปยังเสาเข็ม ซึ่งวางอยู่บนช้ันดินแข็งหรือชั้นหิน … Read More

1 174 175 176 177 178 179 180 202