การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอนกรีตประเภทนี้อีกสักเล็กน้อย โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องของข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์มให้แก่เพื่อนๆ นะครับ

ผมได้ทำการสรุปข้อแนะนำและข้อควรพึงระวังเมื่อเราต้องทำการเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้ครับ

สปันไมโครไพล์ ไมโครไพล์ micro pile spunpile spunmicro 1

1. ในขั้นตอนของการสั่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มนั้นเราจำเป็นที่จะต้องแจ้งประเด็นๆ นี้รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ แวดล้อมการทำงานให้ชัดเจนกับทางโรงงานผู้ผลิต เช่น สถานที่ก่อสร้างนั้นตั้งอยู่ในสถานที่ๆ มีความยากง่ายในการเข้าออกมากน้อยเพียงใด เป็นต้น เพราะทางโรงงานผู้ผลิตนั้นจะได้ทราบและทำการออกแบบสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ตามที่เราได้แจ้งไปให้มากที่สุดนะครับ

2. เมื่อมีการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มที่หน้างานอย่าลืมกำชับให้ทีมวิศวกรที่คอยทำหน้าที่ในการตรวจสอบค่าการยุบตัวของคอกนรีต หรือ SLUMP TEST ให้เก็บข้อมูลตัวอย่างและค่าของการยุบตัวของคอนกรีตสำเร็จรูปทุกๆ คันที่เข้ามาที่หน้างานด้วย เราไม่ควรที่จะทำการสุ่มตรวจข้อมูลดังกล่าวเหมือนกันกับขั้นตอนในการเทคอนกรีตทั่วๆ ไป เพราะ การทำงานกับสลิปฟอร์มนั้นค่อนข้างที่จะมีความพิเศษแตกต่างออกไปจากขั้นตอนในการก่อสร้างทั่วๆ ไปนะครับ

3. ขั้นตอนของการติดต่อประสานงานกับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเทคอนกรีตนั้นเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในขณะที่ทำการเทคอนกรีตเลยนะครับ เพราะ หากมีเหตุอันใดที่จะทำให้ระยะเวลาในการเทนั้นเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ก็ตาม เช่น ต้องทำการหยุดการเทคอนกรีตชั่วขณะเพราะประสบกับเหตุใดๆ หรือ ต้องทำการเร่งขั้นตอนการเทคอนกรีตให้เร็วยิ่งขึ้น อาจเพราะรถคอนกรีตนั้นมารอเป็นจำนวนมากเกินไป เป็นต้น เราจึงควรที่จะทำการแก้ปัญหานี้โดยการติดต่อประสานงานกับโรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปโดยด่วน ทั้งนี้ก็เพื่อให้โรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนั้นจะได้สามารถทำการปรับสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีระยะเวลาในการก่อตัวของคอนกรีตที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับระยะเวลาทำงานจริงๆ ที่หน้างานซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยนะครับ

4. สำหรับขั้นตอนเมื่อกำลังทำการเทคอนกรีตนั้นเราควรที่จะทำการแบ่งการเทออกเป็นชั้นๆ และควรให้ขนาดความหนาของคอนกรีตที่ทำการเทนั้นมีความสม่ำเสมอใกล้เคียงกันตลอดทั้งหน้าตัด โดยเราอาจจะทำการเฉลี่ยความหนาดังกล่าวให้อยู่ที่ประมาณ 30 CM ถึง 40 CM ต่อชั้นนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการควบคุมการก่อตัวของคอนกรีตในแต่ละชั้นที่ทำการเทให้มีความใกล้เคียงกันให้มากที่สุดนั่นเองนะครับ

5. สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ เรื่องระยะเวลาในการเท โดยเราควรที่จะใช้อัตราความเร็วในการเทคอนกรีตให้มีความสอดคล้องกันกับอัตราการลำเลียงคอนกรีตและการเคลื่อนที่ของแบบหล่อสลิปฟอร์มที่เราใช้ในการเทด้วยนะครับ

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะทิ้งท้ายเอาไว้ในวันนี้ก็คือ การเทคอนกรีตโดยการใช้แบบสลิปฟอร์มนั้นถือได้ว่ามีประโยชน์มากๆ เลยนะครับ เพราะ จะสามารถช่วยให้งานการเทคอนกรีตนั้นสามารถทำออกมาได้อย่างรวดเร็ว สวยงามและเรียบร้อย แต่ เราในฐานะของคนที่ทำการก่อสร้างก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดีด้วย มิเช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้มากมายเลยนะครับ ดังนั้นเราจึงควรที่จะทำการศึกษาหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ ให้รอบด้าน และ สิ่งสำคัญที่สุด คือ เราควรที่จะทำการป้องกันเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการเทคอนกรีตชนิดดังกล่าวนี้เอาไว้ก่อน ดีกว่าที่จะปล่อยให้เกิดเหตุใดๆ ขึ้นแล้วค่อยมานั่งคิดวิธีในการแก้ไขปัญหาก็จะเป็นการดีที่สุดครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 063-889-7987
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449

mr.micropile

#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์
#เสาเข็ม
#ตอกเสาเข็ม
#micropile
#spunmicropile
#microspunpile
#spunpile
#microspun