โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL

 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL กันอยู่และหลังจากที่ก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงหลายๆ เรื่องที่มีความเกี่ยวพันกันกับโครงสร้างเหล็กรูปพรรณไปแล้ว เช่น โครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ STRUCTURAL STEEL BEAM โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เป็นต้น ดังนั้นต่อจากวันนี้ไปผมก็จะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับงานโครงสร้างเหล็กรูปพรรณนั่นก็คือ โครงสร้างพื้น หรือ FLOOR STRUCTURE ที่เรามักจะนำมาใช้ในงาน โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ กันบ้างนะครับ

ในวันนี้พื้นประเภทแรกที่ผมจะขอนำมาใช้ในการอธิบายถึงก็คือ โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก หรือ STRUCTURAL STEEL GRATING โดยที่พื้นชนิดนี้ก็จะมีรูปร่างและการใช้งานเป็นไปตามรูปที่ 1 2 3 และ 4 ที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งเจ้าพื้นตะแกรงเหล็กที่ได้ทำออกมานั้นก็จะมีทั้งลวดลายและรูปแบบที่มีขนาดความหนาต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นโครงสร้างพื้นในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่ลวดลายของเจ้าโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนี้ก็มักจะทำออกมาให้มีช่องว่างเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้น้ำนั้นสามารถที่จะระบายผ่านไปได้โดยที่ไม่ต้องทำให้พื้นนั้นมีความลาดเอียง หรือ SLOPE ใดๆ เลย พูดง่ายๆ ก็คือ จุดประสงค์ของการทำให้ช่องว่างเหล่านี้นั่นเป็นเพราะเราไม่ต้องการที่จะให้น้ำนั้นต้องขังอยู่ในโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเพราะสุดท้ายแล้วหากเกิดมีน้ำขัง ยิ่งนานวันเข้าก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นเป็นสนิมได้ ซึ่งหากเราต้องการที่จะนำเอาโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกไปใช้ในพื้นที่ๆ มีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างจะมีความรุนแรงมากๆ อาจจะเป็นความรุนแรงที่เกิดจากน้ำหรือความชื้นหรืออาจจะเกิดจากสารเคมีก็แล้วแต่ เราก็อาจจะเลือกใช้งานโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกที่มีการทาด้วยสีกันสนิมก็ได้แต่เนื่องด้วยกระบวนการทานั้นอาจจะทำให้สีกันสนิมนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงช่องว่างทั้งหมดที่มีอยู่ในโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกได้ เราก็อาจที่จะเลือกใช้เป็นการนำเอาโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกไปชุบด้วยกัลป์วาไนซ์เหมือนกันกับพื้นตะแกรงเหล็กฉีกในรูปที่ 5 ก็ได้ ซึ่งก็อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าวัสดุนั้นเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อยแต่สุดท้ายแล้วผลที่จะได้ก็จะมีความคุ้มค่าอย่างแน่นอนครับ

ต่อมาเมื่อเราพูดถึงโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเมื่อใด เราก็ต้องนึกถึงระบบของโครงสร้างที่จะมาทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนี้ ซึ่งเราก็มักที่จะใช้เป็น โครงสร้างระบบตงเหล็ก หรือ STEEL JOIST STRUCTURAL SYSTEM ซึ่งขนาดของระยะห่างของตงเหล็กนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดความหนาของเจ้าโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกเป็นหลัก โดยที่หากดูจากรูปที่ 6 ซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่แนะนำให้ใช้ เช่น ค่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานในแนวดิ่งกับค่าระยะห่างของตงเหล็กเมื่อมีการวางแบบช่วงเดียวหรือต่อเนื่องเป็นช่วงๆ เป็นต้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ยิ่งโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นมีความหนาที่มาก มีระยะห่างของตงเหล็กที่ถี่มากๆ และมีรูปแบบของการวางที่มีความต่อเนื่องแบบหลายๆ ช่วงมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกของเรานั้นมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งที่มากขึ้นตามไปด้วยนะครับ

สุดท้ายสิ่งที่ผมอยากจะขอฝากเอาไว้สำหรับโครงสร้างพื้นประเภทนี้ก็คือ เนื่องจากตัวโครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีกนั้นมีขนาดความหนาที่ค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยตงเหล็กมาช่วยเป็นตัวซอยเพื่อให้สามารถที่จะช่วยในการรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งได้ ดังนั้นหากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบผมอยากจะขอให้คำแนะนำเอาไว้เพียงสั้นๆ ว่า เพื่อนๆ ควรที่จะหลีกเลี่ยงการที่จะทำการออกแบบอาคารของเพื่อนๆ ให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM แต่หากมีความต้องการที่จะทำการจำลองให้มีคุณลักษณะของ DIAPHRAGM จริงๆ ก็อาจจะต้องพิจารณานำเอาค่า EQUIVALENT LATERAL STIFFNESS ที่มีอยู่ในโครงสร้างตงเหล็กมาใช้ก็พอได้แต่ก็จะต้องพิจารณาเรื่องจำเป็นอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น ต้องทำการพิจารณาและออกแบบให้โครงสร้างส่วนนี้ให้สามารถที่จะมีกำลังรับแรงกระทำตามแนวแกนหรือ AXIAL FORCE CAPACITY ที่มีความเพียงพอด้วยเสมอ เป็นต้นนะครับ
ในสัปดาห์หน้าผมจะนำเอาเรื่องพื้นประเภทใดมาอธิบายต่อเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องประเภทของพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างพื้นที่มีการใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com