วิธีการแก้ปัญหา โครงสร้างพื้นที่มีการทรุดตัวไม่เท่ากัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
หลังจากที่ในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมานั้นผมเคยได้หยิบยกและนำเอากรณีตัวอย่างของการแก้ไขเหตุการณ์ที่โครงสร้างส่วนบนนั้นเกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันให้กับเพื่อนๆ ไปบ้างแล้ว ในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอากรณีตัวอย่างของของการแก้ไขเหตุการณ์ที่โครงสร้างส่วนล่างนั้นเกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งวิธีในวันนี้เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ ใช้งบประมาณไม่เยอะเท่าใดนัก เราจะมาดูกันซิว่าการแก้ไขด้วยวิธีการนี้มีข้อดีหรือข้อด้อยอย่างไรนะครับ


วิธีการที่ว่าก็คือ การปล่อยให้โครงสร้างส่วนล่างหรือจะเรียกว่าพื้นก็ได้ ให้เกิดการทรุดตัวแบบแตกต่างกันไปเลยโดยที่จะไม่ทำการซ่อมแซมโครงสร้างทั้งส่วนใหม่และเก่านี้เลย โดยเพียงแค่ทำการซ่อมแซมเฉพาะแค่รอยต่อระหว่างโครงสร้างพื้นทั้งสองโดยการใช้ยางมะตอยหรือ ASPHALT เป็นตัวเชื่อมและประสานปิดระหว่างรอยแยกดังกล่าวนี้ สาเหตุที่ผมได้แจ้งไปตอนต้นว่างบประมาณที่ต้องใช้ในการซ่อมแซมด้วยวิธีการนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างต่ำนั้นเป็นเพราะว่า จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าวัสดุที่เป็นยางมะตอยและก็มีค่าแรงของคนงานที่ต้องใช้ในการทำงานครั้งนี้เพียงไม่กี่สตางค์เท่านั้น ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะเห็นได้ว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีการนี้ก็ใช้ได้เหมือนกันแต่ดูแล้วไม่มีความเรียบร้อยเอาเสียเลย ซึ่งจริงๆ แล้วความเรียบร้อยของการซ่อมแซมก็จะมีความสอดคล้องกันกับงบประมาณที่ใช้นั่นเองครับ

สุดท้ายนี้ผมไม่ได้ต้องการที่จะชี้ว่า การซ่อมพื้นที่มีการทรุดตัวแบบแตกต่างกันด้วยวิธีการๆ นี้มีความถูกต้องหรือเหมาะสมมากหรือน้อยแต่ประการใดเพราะแน่นอนว่าการตัดสินใจใช้วิธีการใดๆ ในการแก้ไขงานทรุดตัวของโครงสร้างนั้นย่อมเป็นสิทธิของเจ้าของโครงสร้าง ซึ่งบางครั้งอาจจะมีงบประมาณที่ค่อนข้างน้อยเลยมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างแบบนี้ ผมเพียงแต่อยากจะชี้ให้เพื่อนๆ ได้เห็นอีกสักครั้งว่า ในการทำงานก่อสร้างใดๆ ก็ตามแต่หากมีความใส่ใจและสนใจเกี่ยวกับการป้องกันมิให้โครงสร้างนั้นเกิดการทรุดตัวของดินตั้งแต่ในขั้นตอนแรกๆ ของการทำงานก่อสร้างก็ย่อมที่จะส่งผลตามมาที่ดีกว่าการจะมานั่งแก้ปัญหาโครงสร้างในภายหลัง ซึ่งอาจจะทำงานซ่อมแซมได้ยากกว่าตอนที่ทำการก่อสร้างในครั้งแรกหรืออาจจะแลดูแล้วไม่มีความเรียบร้อยเหมือนกันกับตัวอย่างที่ผมได้นำเอามาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันในวันนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ตัวอย่างของวิธีการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นที่มีการทรุดตัวไม่เท่ากันแบบที่ไม่มีความเรียบร้อยเอาเสียเลย
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com