การยกตัวอย่างเพื่ออธิบายเรื่องการกระจายตัวซ้ำของแรงภายในระบบโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อในสปัดาห์ที่แล้วที่ผมได้แชร์คลิปๆ หนึ่งจากเพจ OFFSHORE STRUCTURAL CORNER ซึ่งภายคลิปๆ นั้นเป็นกำลังฉายภาพคนงานที่กำลังรื้อถอนโครงสร้างเสาที่อยู่ทางด้านล่างของโครงสร้างอาคารหนึ่งออกไป ซึ่งเท่าที่ดูแล้วอาคารหลังนี้ก็น่าจะเป็นอาคารสูงด้วย ซึ่งผมได้ให้คำอธิบายไว้ว่า อาคารหลังนี้น่าที่จะได้รับการก่อสร้างด้วยกรรมวิธีปกติธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งพอโครงสร้างของเรานั้นมีกระบวนการๆ ก่อสร้างตามวิธี CONVENTIONAL METHOD ทั่วๆ ไปแล้ว โครงสร้างลักษณะดังกล่าวนี้มักจะมีค่าของ “แรงตัวเกิน” หรือในภาษาอังกฤษเรามีชื่อเรียกว่า “REDUNDANCY” ที่ค่อนข้างที่จะมากในระดับหนึ่ง เนื่องด้วยคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบโครงสร้างเองนั่นก็คือ การที่ระบบโครงสร้างดังกล่าวนั้นเป็นระบบโครงสร้างที่ไม่สามารถจะทำการวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการอย่างง่าย หรือ STATICALLY INDETERMINATE STRUCTURAL SYSTEM นั่นเองครับ

ดังนั้นต่อให้ชิ้นส่วนโครงสร้างบางชิ้นส่วนซึ่งคอยทำหน้าที่ในการถ่ายน้ำหนักภายในโครงสร้างนั้นจะ หายไป หรือ เสียหายไป เจ้าแรงภายในชิ้นส่วนโครงสร้างที่อยู่ด้านบนนั้นก็จะเกิดพฤติกรรมที่มีชื่อเรียกว่า “การกระจายตัวซ้ำ” หรือในภาษาอังกฤษเรามีชื่อเรียกว่า “FORCE REDISTRIBUTION” โดยจะถ่ายแรงภายในดังกล่าวนี้ไปยังโครงสร้างหลักส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ก็จะส่งผลทำให้โครงสร้างที่อยู่ในรูปๆ นี้ก็จะยังคงสามารถที่จะตั้งอยู่ได้โดยไม่เกิดการถล่มลงมาแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมของโครงสร้างโดยรวมนั้นย่อมต้องได้รับผลกระทำและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อยแหละ ทั้งนี้โครงสร้างดังกล่าวนี้จะเกิดการวิบัติหรือพังทลายลงมาก็ต่อเมื่อ การกระจายตัวซ้ำของแรงภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างที่เกิดขึ้นนั้น มีค่าที่มากเกินขีดความสามารถที่ระบบโครงสร้างโดยรวมจะสามารถต้านทานเอาไว้ได้น่ะครับ

ซึ่งผลจากโพสต์นั้นก็มีเพื่อนๆ ของผมหลายคนสอบถามกันเข้ามาอยากให้ผมทำการอธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มอีกสักเล็กน้อย ผมเลยคิดว่า ผมน่าที่จะใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อที่จะเป็นการให้คำอธิบายและก็ให้ความรู้กับเพื่อนๆ ในเพจของเราได้ ซึ่งก็คงจะไม่เสียหายอะไร ซึ่งผมได้ทำตัวอย่างง่ายๆ ขึ้นมาหนึ่งตัวอย่าง เรามารับชมไปพร้อมๆ กันเลยนะครับ

ผมทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขององค์อาคารโครงสร้างโครงข้อแข็งแบบ PORTAL FRAME ขึ้นมาสองโครง โดยที่รูปทางด้านซ้ายมือคือรูประบบโครงสร้างโครงข้อแข็งในสภาวะปกติ ส่วนรูปทางด้านขวามือคือรูประบบโครงสร้างโครงข้อแข็งในสภาวะที่ไม่ปกติ โดยความไม่ปกติดังกล่าวก็คือ โครงสร้างเสาต้นที่อยู่ทางด้านขวามือสุดนั้นเกิดเหตุความเสียหายขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลบางประการ จนทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเสาดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะรับกำลังได้ ผมจึงทำการตัดชิ้นส่วนโครงสร้างเสาต้นนี้ออกไปเลยครับ

โดยที่ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างก็จะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนนะครับว่า การที่ชิ้นส่วนโครงสร้างดังกล่าวนั้นหายไป ไม่ได้หมายความว่าโครงสร้างทั้งระบบจะเสียหายหรือไม่สามารถที่จะรับกำลังได้ ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วว่า แรงภายในชิ้นส่วนโครงสร้างที่อยู่ด้านบนนั้นก็จะเกิดพฤติกรรมที่มีชื่อเรียกว่า การกระจายตัวซ้ำ ซึ่งแรงภายในที่เคยมีอยู่ในระบบโครงสร้างก็จะเกิดการถ่ายเทไปยังโครงสร้างหลักส่วนอื่นๆ ทั้งนี้โครงสร้างดังกล่าวนี้จะเกิดการวิบัติหรือพังทลายลงมาก็ต่อเมื่อ การกระจายตัวซ้ำของแรงภายในชิ้นส่วนของโครงสร้างที่เกิดขึ้นนั้น มีค่าที่มากเกินขีดความสามารถที่ระบบโครงสร้างโดยรวมจะสามารถต้านทานเอาไว้ได้ ทั้งนี้หากเราทำการพิจารณาชิ้นส่วนโครงสร้างคานที่เคยวางตัวอยู่บนโครงสร้างเสาต้นที่ได้หายไป โดยการพิจารณาเฉพาะเพียงแค่ค่าโมเมนต์ดัดเพียงอย่างเดียวก็จะเห็นได้ว่า โครงสร้างคานๆ นี้จะต้องทำหน้าที่ในการรับภาระของค่าโมเมนต์ดัดแบบลบที่มีค่าสูงกว่าตอนที่โครงสร้างเสาต้นดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ประมาณเกือบๆ 2 เท่า ซึ่งผลดังกล่าวนี้ก็เกิดจากการกระจายตัวซ้ำของค่าแรงโมเมนต์ดัดในชิ้นส่วนโครงสร้างคานดังกล่าวนั่นเองครับ

ดังนั้นการที่ระบบโครงสร้างลักษณะดังกล่าวนี้จะสามารถคงสภาพอยู่ได้โดยที่ยังไม่เกิดการวิบัติลงมานั้นก็เป็นเพราะว่าภายในระบบโครงสร้างๆ นี้ยังมีค่าของ “แรงตัวเกิน” ที่มีค่าของ “จำนวน” และ “ความสามารถ” ที่มากเพียงพอ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการที่ระบบโครงสร้างนั้นเป็นระบบโครงสร้างที่ไม่สามารถจะทำการวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีการอย่างง่ายจึงอาจถือได้ว่าเป็นข้อดีที่สุดอย่างหนึ่งของการที่เราเลือกใช้งานระบบการก่อสร้างด้วยวิธี CONVENTIONAL METHOD เลยก็ว่าได้นะครับ
ผมคาดหมายว่าตัวอย่างง่ายๆ ที่ผมได้นำเอามาใช้ในการอธิบายแก่เพื่อนๆ ในวันนี้น่าที่จะช่วยทำให้เพื่อนๆ นั้นมีความรู้และความเข้าใจ รวมถึงช่วยให้เพื่อนๆ นั้นมองภาพของพฤติกรรมการกระจายตัวซ้ำของแรงภายในโครงสร้างได้ดีมากยิ่งขึ้นในระดับหนึ่งนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#การยกตัวอย่างเพื่ออธิบายเรื่องการกระจายตัวซ้ำของแรงภายในระบบโครงสร้าง
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam