ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ เป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น?

ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ เป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น?

โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ หนึ่งที่ถือได้ว่า มีผล และ มีความสำคัญ อย่างมากต่อการออกแบบให้อาคารหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้ นั่นก็คือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพของชั้นดินในสถานที่ๆ จะทำการก่อสร้าง นั่นเองนะครับ

what is ไมโครไพล์ what happens to the structures

จากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในอดีตแสดงให้เราเห็นได้ว่า สภาพของชั้นดินซึ่งที่เป็นที่ตั้งของอาคารจะมีผลต่อความเสียหายของโครงสร้างอาคารอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหวเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ระดับของการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวจะขึ้นตรงกับชนิดของชั้นดินที่อยู่ใต้ฐานของอาคาร โดยที่อาคารที่ต้องอยู่บน ชั้นดินแข็ง จะค่อนข้างมีระดับความเสียหายที่ ต่ำกว่า อาคารที่ตั้งอยู่บน ชั้นดินอ่อน นะครับ

กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองเม็กซิโกในปี คศ1985 ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองประมาณ 400 กม ซึ่งถือว่าไกลพอสมควร แต่ กลับสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนเป็นอย่างมากเนื่องมาจากการที่อาคารเหล่านี้ตั้งอยู่บนชั้นดินที่มีความอ่อนตัว ซึ่งหากเราเปรียบเทียบอาคารที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ศูนย์กลางมากกว่า แต่ ที่ฐานนั้นเป็นชั้นดินแข็งกลับพบได้ว่ามีความเสียหายที่ต่ำกว่า สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า ดินอ่อน มีความสามารถในการที่จะขยายค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้มากกว่า 5 เท่า ถึง 50 เท่า เมื่อเทียบกันกับกรณีของดินแข็ง

อีกกรณีศึกษาหนึ่งก็คือ เหตุแผ่นดินไหวในปี คศ 1976 ที่เมืองฉางซาน ประเทศจีน โดยที่อาคารร้อยละ 50 ที่ตั้งอยู่บน ชั้นดินอ่อน ที่ค่อนข้างมีความหนาได้เกิดความเสียหายอย่างราบคาบ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารอื่นๆ จะพบว่ามีอาคารเพียงร้อยละ 12 ที่มีการตั้งอยู่บริเวณชั้นดินที่มีความแข็งกว่าซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กันกับสถานที่ๆ นั้นเกิดความเสียหายในระดับที่น้อยถึงน้อยมากๆ เลยนะครับ

อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยผนังอิฐก่อ หรือ MASONRY BUILDING และ อาคารที่มีค่าความแข็งแกร่งสูงๆ หรือ HIGH STIFFNESS BUILDING จะได้รับความเสียหายในระดับที่ถือว่าสูงมาก เมื่อตั้งอยู่ในบริเวณชั้นดินที่มีความแข็ง หากทำการเปรียบเทียบกับอาคารที่มีลักษณะเหมือนๆ กันซึ่งตั้งอยู่บนชั้นดินที่มีความอ่อนแอกว่า ดังเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวระยะใกล้ที่เกิดขึ้นในเมือง KOYNA ประเทศอินเดียในปี คศ1967 และ NORTH YEMEN ในปี คศ1980 นะครับ

หากดูในกฎหมายในบ้านเราก็จะพบว่า กฎกระทรวงได้ทำการกำหนดให้การรับ นน ความต้านทาน ความคงทน ของอาคาร และ พื้นดิน ที่ทำหน้าที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว พศ 2550 ได้กำหนดให้ผู้ออกแบบใช้ค่าตัวคูณ S ที่เป็นค่าสัมประสิทธิ์ซึ่งจะขึ้นกับลักษณะของชั้นดินที่ตั้งของอาคาร โดยที่ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1.00 สำหรับหิน 1.20 สำหรับดินแข็ง 1.50 สำหรับดินอ่อน และ 2.50 สำหรับดินอ่อนมากครับ

ด้วยเหตุนี้เองหากพวกเราสังเกตดูดีๆ จากการที่กฎกระทรวงได้มีการบังคับใช้ให้ผู้ออกแบบอาคารนั้นทำการคำนวณแรงกระทำจากแผ่นดินไหวโดยอาศัยค่าสัมประสิทธิ์นี้ เพราะ เมื่อชั้นดินนั้นมีความอ่อนแอที่มาก ก็จะยิ่งทำให้แรงกระทำที่เกิดจากแผ่นดินไหวนั้นเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วยนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันศุกร์
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพของชั้นดินในการออกแบบแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449