“ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

ในการโพสต์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างหรือ CONFINED COMPRESSIVE STRESS ของหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ที่ถูกทำการโอบรัดด้วยเหล็กปลอกให้กับเพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากเพื่อนๆ ยังพอจำได้ว่าในการโพสต์สองครั้งก่อนหน้านี้ผมได้ทำการอธิบายไว้ว่า สาเหตุและความสำคัญที่พวกเรามีความจำเป็นที่จะต้องทำการพิจารณานำเอามาค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนี้มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ของเราเป็นเพราะหากย้อนกลับไปดูในมาตรฐานการออกแบบเสา คสล ตามมาตรฐานของฝั่งอเมริกาหรือฝั่งบ้านเราก็ดี เช่น มาตรฐาน ACI และมาตรฐาน EIT ตามลำดับ จะพบว่าในมาตรฐานการออกแบบนั้นได้มีการระบุเอาไว้ว่า หน้าตัดโครงสร้างเสา คสล ภายในโครงสร้างของอาคารทั่วๆ ไปนั้นจะมีค่าหน่วยแรงอัดสูงสุดของคอนกรีตอยู่ในช่วงประมาณ 180 KSC ถึง 250 KSC และสำหรับเหล็กเสริมนั้นจะมีค่าหน่วยแรงที่จุดครากอยู่ในช่วงประมาณ 3000 KSC ถึง 4000 KSC ทั้งนี้หากพูดถึงเรื่อง ค่าความเครียด หรือค่า STRAIN บ้างก็จะพบว่า วัสดุคอนกรีตจะมีค่าความเครียดอัดสูงสุดก่อนที่จะเกิดการวิบัติมีค่าเท่ากับ 0.003 MM/MM

ในขณะที่วัสดุเหล็กเสริมนั้นจะมีค่าความเครียดที่จุดครากอยู่ที่ประมาณ 0.002 MM/MM ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ค่าความเครียดในเหล็กเสริมที่อยู่ภายในโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นจะถึงจุดครากก่อนที่คอนกรีตนั้นจะถูกอัดจนถึงค่าความเครียดอัดสูงสุดที่จะสามารถรับได้อยู่เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้หากเราทำการพิจารณาดูภายในหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล เราก็จะพบว่า เหล็กเสริมที่เป็นเหล็กยืนนั้นจะต้องถูกโอบรัดทางด้านข้างด้วยเหล็กปลอกที่อยู่ในแนวขวางอยู่แล้ว ซึ่งผลจากการทดสอบจากงานวิจัยหลายๆ งานได้ทำการสรุปและบ่งชี้ว่า ลักษณะของการโอบรัดดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ค่าหน่วยแรงอัดในคอนกรีตส่วนนี้มีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นในเมื่อเราสามารถที่จะทำการคำนวณหาออกมาได้ว่าค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด เราก็ควรจะต้องสามารถที่จะทำการประมาณการได้ด้วยว่า ค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นตอนที่เกิดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างสูงสุดนั้นมีค่าเท่ากับเท่าใดด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าเราจะมีค่าส่วนต่างระหว่างค่าความเครียดของเหล็กเสริมและของคอนกรีตอยู่มากหรือน้อยเพียงใดนั่นเอง ซึ่งเราจะสามารถทำการประมาณหาค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นตอนที่เกิดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างสูงสุดได้จากสมการข้างล่างนี้นะครับ
εcc = εc×{ 1 + 5×[ fcc’/(C×fc’) ‒ 1 ] }

ซึ่งค่า εc ก็คือ ค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นในคอนกรีตซึ่งยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างและค่า εcc ก็คือ ค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นในคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขออนุญาตมาทำการสาธิตขั้นตอนในการคำนวณในกรณีที่เรานั้นทราบว่า ค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นเท่ากับเท่าใดเป็นที่เรียบร้อยแล้วและเราต้องการที่จะทำการคำนวณหาว่า ค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นตอนที่เกิดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างสูงสุดนั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใด ให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน ซึ่งผมก็จะใช้ข้อมูลในการสมมติจากปัญหาในข้อที่แล้วที่ผมได้ทำการกำหนดให้ใช้ค่า C เท่ากับ 0.85 ซึ่งจะเป็นไปตามที่มาตรฐานการออกแบบได้แนะนำให้ใช้ ส่วนค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ยังไม่ถูกโอบรัดและถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นจะมีค่าเท่ากับ 210 KSC และ 260 KSC ตามลำดับ ทั้งนี้ผมก็จะทำการกำหนดให้ค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นในคอนกรีตซึ่งยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นมีค่าเท่ากับ 0.003 ดังนั้นผมก็จะสามารถทำการประมาณหาค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นตอนที่เกิดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างสูงสุดได้โดยการแทนค่าต่างๆ ข้างต้นลงในสมการข้างต้น ซึ่งก็จะให้ผลการคำนวณออกมาดังต่อไปนี้
εcc = εc×{ 1 + 5×[ fcc’/(C×fc’) ‒ 1 ] }
εcc = 0.003×{ 1 + 5×[ 260/(0.85×210) ‒ 1 ] }
εcc = 0.0099

จะเห็นได้จากผลการคำนวณข้างต้นว่าค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นตอนที่เกิดค่าหน่วยแรงอัดของคอนกรีตซึ่งถูกโอบรัดทางด้านข้างสูงสุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.0099 นั้นจะมีส่วนต่างระหว่างค่าความเครียดของเหล็กเสริมซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.002 อยู่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว ยิ่งหากทำการเปรียบเทียบกันกับค่าของความเครียดที่เกิดขึ้นในคอนกรีตซึ่งยังไม่ถูกโอบรัดทางด้านข้างซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.003 ด้วยก็จะพบว่า เราจะได้ค่าความเครียดที่เกิดขึ้นในคอนกรีตที่เพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 3 เท่ากว่าๆ เลย ซึ่งก็จะเหมือนกันกับที่ผมได้ทิ้งท้ายเอาไว้ในการโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า หากเรามีความต้องการที่จะเพิ่มค่าสัดส่วนของค่าความเครียดนี้ให้มีค่าที่เพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อีก เราก็เพียงแค่จะต้องทำการลดระยะช่วงว่างของเหล็กปลอกให้มีความถี่มากยิ่งขึ้นและ/หรือทำการเพิ่มขนาดของพื้นที่หน้าตัดของเหล็กปลอกในแต่ละชั้นให้มีค่าที่มากยิ่งขึ้นไปอีกก็เท่านั้นเองนะครับ

ทั้งนี้เพื่อนๆ น่าที่จะพอมองภาพรวมออกแล้วว่าหากเราไม่ทำการคำนวณหาว่าค่าหน่วยแรงอัดและค่าหน่วยความเครียดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้างนั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด เราก็จะไม่มีทางที่จะมั่นใจได้จริงๆ ว่า โครงสร้างของเรานั้นมีค่าความเหนียวหรือ DUCTILITY ที่อยู่ในระดับที่เราพึงพอใจแล้วหรือยัง ดังนั้นผมคาดหวังเอาไว้ว่า การที่ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมได้ทำการอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างเกี่ยวกับจุดประสงค์และประโยชน์ของการออกแบบและคำนวณเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ไปนั้น เพื่อนๆ น่าที่จะมีมุมมองและความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความสำคัญของหน่วยแรงอัดของคอนกรีตที่ถูกโอบรัดทางด้านข้าง
#ครั้งที่3
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam