ค่า PARAMETER ที่สำคัญค่าหนึ่งทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคนะครับ ค่า SPT นี้จะนิยมใช้สำหรับดินทราย

SPT ย่อมาจากคำว่า STANDARD PENETRATION TEST ซึ่งวิธีการทดสอบนี้เป็นที่นิยมมากในงานวิศวกรรมธรณีเทคนิคในประเทศไทย       ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม ref:  http://bit.ly/2zbGQ4X   สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน … Read More

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 … Read More

อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)

อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (CORROSION INHIBITOR)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (CONCRETE COVERING) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก ระยะหุ้มคอนกรีตต่ำสุดที่ … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง … Read More

ผนังอิฐมวลเบา สามารถแขวนของหนักได้มากแค่ไหน

ในวงการก่อสร้างช่วงหลังมานี้ นิยมนำอิฐมวลเบามาใช้ในงานก่อสร้างกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอิฐแบบทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจึงช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ ลดความร้อน และทนต่อไฟไหม้ได้มากกว่า ทั้งยังช่วยให้ทำงานก่อสร้างได้ง่ายขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในทำงานอีกด้วย การออกแบบบ้านหรือว่าคอนโดส่วนใหญ่จะเน้นแบบโมเดิร์น ซึ่งนิยมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เป็นแบบเจาะติดผนังเลย เช่น การติดตั้งโทรทัศน์แบบแขวนติดผนัง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำชั้นวางหนังสือแบบยึดติดผนัง หลายคนอาจจะสงสัยว่าผนังบ้านที่ใช้อิฐมวลเบาจะสามารถแขวนของที่มีน้ำหนักมากขนาดนี้ได้ไหม ในบล็อกนี้จึงขอเอาข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน โดยทั่วไปหากเราเลือกที่ได้มาตรฐานมาใช้ในการสร้างบ้าน ผนังที่สร้างจากอิฐมวลเบาก็จะสามารถรองรับน้ำของสิ่งของพวกนี้ได้หมดครับ แต่มีเคล็ดลับอยู่ที่การเจาะติดตั้ง … Read More

ฐานราก (FOOTING) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น … Read More

การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร จนน้ำซึมเข้าในอาคารหรือตัวบ้าน

ดาดฟ้า เป็นบริเวณสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านและอาคาร เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำฝนและแสงแดดโดยตรง ควรดูแลรักษาดาดฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม เพราะน้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้เหล็กเส้นโครงสร้างภายในคอนกรีตเป็นสนิม และดันคอนกรีตปริแตก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารได้ สาเหตุ ของปัญหาพื้นดาดฟ้าร้าว รั่ว คอนกรีตกระเทาะหลุดร่อน มาจากน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาคารเก่าที่ไม่ได้ทำระบบกันซึมเอาไว้ หรืออาจจะทำแล้วแต่ว่าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทพื้นดาดฟ้าไม่ได้ระดับทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาถึงเหล็กโครงสร้างจนเกิดสนิม เมื่อเหล็กเริ่มเป็นสนิมจะเกิดการพองตัวไปดันคอนกรีตที่หุ้มผิวด้านนอกจนแตกร้าวและหลุดร่อนออกมา การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร ส่วนดาดฟ้า … Read More

1 32 33 34 35 36