วิธีการทำบ่อสังเกตการณ์ หรือ OBSERVATION WELL

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สืบเนื่องจากเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้พูดถึงเรื่อง ผลของระดับน้ำใต้ดิน และผมก็ได้แจ้งไปด้วยว่า ในวันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงวิธีในการที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบหาค่าของระดับน้ำใต้ดินที่ค่อนข้างให้ผลที่น่าเชื่อถือมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ

 

โดยที่วิธีการแรกที่ผมตั้งใจที่จะนำเอามาหยิบยกเล่าให้เพื่อนๆ ฟังในวันนี้ก็คือ วิธีการทำบ่อสังเกตการณ์ หรือ OBSERVATION WELL นั่นเองครับ

 

อย่างที่ผมได้เรียนไปในเนื้อหาของสัปดาห์ที่แล้วว่า ระดับของน้ำใต้ดินที่วัดได้ในระหว่างช่วงสำรวจสภาพของชั้นดินนั้นจะไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงระดับน้ำใต้ดินจริงๆ ได้ กล่าวคือวิธีการดังกล่าวไม่สามารถที่จะบอกกับผู้สำรวจให้ทราบได้ถึงระดับสูงสุดหรือต่ำสุดของน้ำใต้ดินที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในแต่ละปี ดังนั้นในวิธีการออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในโครงการหนึ่งๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากเรื่องน้ำใต้ดินจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินภายในช่วงของระยะเวลาที่ที่ค่อนข้างมีความยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย

 

วิธีการนี้จะมีวิธีการที่สามารถทำได้ค่อนข้างง่าย มีความตรงไปตรงมา ที่สำคัญคือ มีต้นทุนที่ราคาถูกมากๆ แต่ก็มีข้อจัดอยู่เพียงหนึ่งประการก็คือ วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้ทำการทดสอบสำหรับดินที่มีคุณสมบัติที่น้ำนั้นสามารถที่จะซึมผ่านไปได้และมีลักษณะของชั้นดินเป็นแบบชั้นเดียว หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ ระดับของน้ำใต้ดินจะมีเพียงแค่ค่าๆ เดียวเท่านั้น สำหรับวิธีการทำ เราก็จะทำการขุดหลุมเจาะแล้วก็ค่อยทำการติดตั้งบ่อสังเกตการณ์แบบถาวรเพื่อใช้สำหรับการสำรวจและตรวจวัดระดับของน้ำใต้ดินที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ ตลอดทั้งปี โดยที่เราจะอาศัยท่อ PVC ที่มีการเจาะรูและหุ้มปลายด้วยตาข่ายที่มีตาค่อนข้างจะละเอียดสักหน่อย จากนั้นเราก็จะทำการหย่อนเจ้าท่อๆ นี้ลงไปในหลุมเจาะ จากนั้นก็จะทำการเราก็จะทำการดึงท่อกรุกันดินขึ้นมาเพื่อทำการวัดระดับของน้ำใต้ดิน ทั้งนี้วิธีในการวัดระดับของน้ำในบ่อจะสามารถทำได้โดยการหยั่งหาค่าความลึกของระดับน้ำใต้ดินโดยตรงเลยหรืออาจจะใช้ทุ่นลอยต่อเข้ากันกับเครื่องมือที่จะทำหน้าที่ในการบันทึกค่าต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่บนพื้นผิวของดิน

 

อย่างที่ผมได้เรียนไปข้างต้นถึงข้อจำกัดของวิธีการนี้ เช่น หากว่าสภาพของดินนั้นมีคุณสมบัติเป็นดินที่มีค่อนข้างมีความทึบน้ำ หากว่าสภาพของดินไม่เป็นไปตามที่ผมได้ระบุถึงหรือว่าชั้นดินอาจจะมีซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ระดับของน้ำใต้ดินนั้นมีหลายค่ามากๆ เป็นต้น เราก็อาจจะจำเป็นต้องใช้วิธีการและอุปกรณ์อื่นๆ เข้าช่วยในการติดตามและทำการตรวจวัดเป็นพิเศษ ซึ่งผมขออนุญาตเก็บเอาไว้เล่าต่อในครั้งต่อไปก็แล้วกัน ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามบทความๆ นี้ได้ในครั้งต่อไปที่เราจะได้กลับมาพบกันนะครับ

 

ปล ผมต้องขอขอบคุณและให้เครดิตรูปภาพที่นำมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้ที่ผมได้นำมาจากเอกสารนำเสนอเนื้อหาทางวิชาการเรื่อง การเจาะสำรวจดิน ที่ได้มีการจัดทำโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปัฐพี ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายถึงความสำคัญของขั้นตอนในการตรวจสอบระดับของน้ำใต้ดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com