ความรู้เรื่องRollerBearingและRockerBearing

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วนั้นผมได้ทำการตอบคำถามของน้องผู้หญิงท่านหนึ่งไปโดยที่ใจความของคำถามนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ
“ทำไมตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเสาตอม่อกับคาน คอร เหมือนในรูปๆ นี้จึงมักที่จะมีการทำเป็นช่องว่างเอาไว้คะ เหมือนเอาอะไรมาหนุนเอาไว้ ไม่ทราบว่าจุดประสงค์นั้นเพื่อทำให้จุดรองรับนี้เป็นแบบ ROLLER หรือเปล่าคะ ? และเหตุใดเค้าจึงต้องยกขึ้นนิดนึงด้วยคะ ?”


ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปในเบื้องต้นแล้วว่ารูปของช่องว่างที่น้องเห็นนั้นมีเอาไว้เพื่อติดตั้ง แผ่นยางรองคอสะพาน หรือ BEARING PAD แต่ผมยังไม่ได้ทำการลงลึกไปถึงเรื่อง หากผมมีความต้องการที่จะกำหนดให้ BOUNDARY COUNDITIONS ของจุดรองรับให้เป็นแบบ IDEAL ROLLER หรือ IDEAL HINGED เราจะมีวิธีการในการก่อสร้างลักษณะของจุดรองรับนี้ให้มีรายละเอียดจริงๆ เป็นอย่างไร ในวันนี้ผมจึงจะมาขออนุญาตมาขยายความในประเด็นๆ นี้ให้แก่น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกๆ คนไปพร้อมๆ กันนะครับ

หากเราเป็นผู้ออกแบบงานสะพานหนึ่งๆ และเรามีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างให้จุดรองรับของเรานั้นมีสภาพจริงๆ เป็น ROLLER SUPPORT เราจะต้องเลือกใช้ประเภทของ BEARING ของเราให้เป็นแบบ ROLLER BEARING ซึ่งลักษณะโดยทั่วๆ ไปของ ROLLER BEARING นั้นก็จะเป็นดังรูปที่ 1 และ 2 ที่ผมได้นำเอามาใช้ในโพสต์ๆ นี้ซึ่งก็จะมีลักษณะเป็นจุดรองรับที่จะเป็นล้อที่สามารถจะเลื่อนไปเลื่อนมาในทิศทางทางด้านข้าง ไม่ว่าจะเป็นทางซ้ายหรือขวาก็ตาม ซึ่งแน่นอนว่าต่อให้ล้อดังกล่าวนี้จะสามารถเคลื่อนที่ได้แต่ก็จะถูกจำกัดเอาไว้ให้อยู่ที่ขอบเขตค่าหนึ่งๆ เพียงเท่านั้นซึ่งทางผู้ออกแบบจะเป็นผู้วิเคราะห์ออกแบบและจะทำการกำหนดขอบเขตดังกล่าวนี้นะครับ

สำหรับกรณีที่เรามีความต้องการที่จะทำการก่อสร้างให้จุดรองรับของเรานั้นมีสภาพจริงๆ เป็น HINGED SUPPORT เราจะต้องเลือกใช้ประเภทของ BEARING ของเราให้เป็นแบบ ROCKER BEARING ซึ่งลักษณะโดยทั่วๆ ไปของ ROCKER BEARING นั้นก็จะเป็นดังรูปที่ 3 และ 4 ที่ผมได้นำเอามาใช้ในโพสต์ๆ นี้ซึ่งก็จะมีลักษณะเป็นจุดรองรับที่จะมีฐานของจุดรองรับนั้นเป็นลักษณะรูปทรงโค้งซึ่งจะสามารถหมุนตัวรอบแกนหลักของโครงสร้างได้แต่จะไม่ได้มีลักษณะเป็นล้อที่สามารถจะเลื่อนไปเลื่อนมาในทิศทางทางด้านข้างเหมือนกันกับ ROLLER BEARING ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัสดุที่จะคอยมาทำหน้าที่ในการยึดรั้งมิให้ ROCKER BEARING นั้นเคลื่อนที่ทางด้านข้างได้ก็มักจะถูกใช้เป็นวัสดุประเภท ANCHOR BOLT ซึ่งจะยึดติดอยู่ระหว่างฐานแผ่นเหล็กกับตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็กนั่นเองครับ

สำหรับ ELASTOMERIC BEARING รวมถึง ROLLER BEARING และ ROCKER BEARING ข้างต้นนั้นจะมีลักษณะอย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กันนั่นก็คือ เมื่อใช้ไปแล้วสักระยะหนึ่ง จะต้องมีการบำรุงรักษาชิ้นส่วนโครงสร้างด้วยเพราะหากไม่ทำการสำรวจและบำรุงรักษาแล้วละก็ นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหาในการใช้งานโครงสร้างในระยะยาวได้ สำหรับในโอกาสต่อๆ ไปหากผมสะดวกและมีเวลา ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องสาเหตุและรูปแบบของการวิบัติของ BEARING พวกนี้มาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไป หากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ของผมได้ในการพบกันในครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เรื่องRollerBearingและRockerBearing
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com