ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ปัญหาในวันนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือเรื่องความเชื่อถือได้ของผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนวณด้วยมือและการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT นะครับ

อย่างที่ผมได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ถูกต้องแบบแม่นตรงแบบเป๊ะๆ เลยโดยการคำนวณด้วยมือ เพื่อนๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โดยรวมผลทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโครงสร้างจริงๆ เข้าไปในขั้นตอนของการวิเคราะห์ด้วย มิเช่นนั้นผลก็จะเกิดค่าความคลาดเคลื่อนออกไปเหมือนกับที่ผมได้ยกตัวอย่างให้ดูกันในสัปดาห์ที่แล้ว

ในทำนองเดียวกันหากเราต้องการคำตอบที่แม่นยำที่เกิดขึ้นภายในโครงสร้างจริงๆ จากการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT เพื่อนๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทำการป้อนข้อมูลต่างๆ ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโครงสร้างจริงๆ เข้าไปในซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำเช่นนั้น อย่างไรเสียก็ยังจะเกิดค่าความคลาดเคลื่อนออกไปอยู่ดี

สิ่งนี่เองจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคำพูดผมที่ผมมักจะพูดอยู่บ่อยๆ ว่ามันมีความจำเป็นจริงๆ ว่า วิศวกรโครงสร้างนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะทางด้านความรู้ทางด้านการวิเคราะห์โครงสร้างที่ดีเพียงพอ สำหรับในบางครั้งการวิเคราะห์โครงสร้างก็สามารถทำได้โดยการประมาณการ เราก็อาจจะเลือกใช้วิธีการแบบประมาณค่า หรือ APPROXIMATE METHOD ได้แต่ในหลายๆ ครั้งเช่นกันที่การวิเคราะห์โครงสร้างนั้นก็จำเป็นที่จะต้องทำโดยวิธีการแบบแม่นยำ หรือ EXACT METHOD ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสถานะของความวิกฤติของแต่โครงสร้างแต่ละโครงสร้างที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นมีสถานะที่ไม่เหมือนกันหรือพูดง่ายๆ คือมีความแตกต่างกันออกไป

 

อันจะเห็นได้จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างโดยซอฟต์แวร์ทาง FE ของปัญหาที่ผมได้ทำไว้เมื่อวันอาทิตย์และวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เมื่อเราได้นำคำตอบไปเปรียบเทียบกับการคำนวณด้วยมือซึ่งจะรวมเอาผลเฉพาะจากค่าแรงดัดเพียงอย่างเดียวก็จะทำให้เห็นได้ว่าค่าของคำตอบนั้นจะมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง โดยที่ปัญหาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผมได้ทำการคำนวณค่าการเสียรูปในแนวราบที่จุด B ซึ่งเป็นจุดรองรับแบบ ROLLER ด้วยมือจะมีค่าเท่ากับ 37.5 มม และสำหรับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ทาง FE นั้นจะมีคำตอบเท่ากับ 36.88 มม และสำหรับปัญหาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาที่ผมได้ทำการคำนวณค่าการเสียรูปในแนวราบที่จุด C ซึ่งเป็นจุดต่อด้วยมือจะมีค่าเท่ากับ 44.44 มม และสำหรับค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ทาง FE นั้นจะมีคำตอบเท่ากับ 45.07 มม

 

เพื่อนๆ จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นระหว่างการคำนวณด้วยมือเมื่อทำการเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์ทาง FE นั้นมีค่าน้อยกว่า 1 มม ด้วยซ้ำไป ซึ่งก็ต้องถือว่าค่าการเสียรูปดังกล่าวนั้นมีค่าที่น้อยมากๆ ซึ่งก็เป็นผลจากการที่เราไม่ได้รวมเอาผลของการเสียรูปเนื่องจากแรงกระทำประเภทอื่นๆ เข้าไปในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างด้วย เช่น ผลจากการเสียรูปอันเนื่องมาจากแรงเฉือน ผลจากการเสียรูปอันเนื่องมาจากแรงกระทำตามแนวแกน เป็นต้นครับ

 

ดังนั้นผมอยากที่จะขอเน้นยำกับตัวผมเองและเพื่อนๆ อีกสักครั้งหนึ่งว่าจริงๆ แล้วการวิเคราะห์โครงสร้างที่ดีนั้นไม่ใช่เป็นการวิเคราะห์ด้วยวิธีการแบบหนึ่งแบบใดเสมอไป แต่ว่าการวิเคราะห์โครงสร้างที่ดีคือ การที่ผู้ทำการวิเคราะห์นั้นทำการเลือกใช้วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีความเหมาะสมต่อบริบทและองค์ประกอบจริงๆ ของโครงสร้างและการนำไปใช้งานนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาเรื่องการเชื่อถือได้ของผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนวณด้วยมือและการใช้ซอฟต์แวร์ทางFiniteElement

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com