ความรู้และวิธีการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากในเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการโพสต์เพื่อที่จะแชร์ความรู้และตอบคำถามให้แก่เพื่อนของผมท่านหนึ่งที่ได้ทำการสอบถามเข้ามาว่า

 

“ผมกำลังจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างอาคารโรงงานในจังหวัดทางภาคอีสาน โดยที่ต้องการจะใช้ระบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION โดยที่ผมตั้งใจที่จะทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT ดังนั้นผมจึงอยากที่จะทำการกำหนดให้จุดรองรับนั้นมีสภาพเป็นสปริงแบบยืดหยุ่นหรือ ELASTIC SPRING ซึ่งตอนนี้ผมกำลังมีปัญหาว่า ผมไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งหรือ STIFFNESS ในทิศทางของแกน x y และ z ได้อย่างไร รบกวนช่วยขอคำชี้แนะด้วยครับ”

 

โดยที่ผมก็ได้เริ่มต้นทำการโพสต์ๆ การให้คำแนะนำถึงวิธีในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินเอาไว้โดยสังเขปว่า ให้เราเริ่มต้นจากการสำรวจชั้นดิน ตามมาด้วยการคำนวณหาค่า Kv Kh และ Kr ทั้งนี้เราสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในแต่ละแกนได้จากเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความแข็งแกร่งของดินกับค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินหรือ SHEAR MODULUS OF SOIL หรือ Gsoil ทั้งนี้ค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินนี้ก็จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของดินหรือ ELASTIC MODULUS OF SOIL หรือ Esoil โดยที่อีกค่าหนึ่งที่เราควรจะทราบก็คือ ค่าอัตราส่วนปัวซองต์ซองของดินหรือ POISSON’S RATIO OF SOIL หรือค่า vsoil ซึ่งค่าๆ นี้จะมีค่าโดยประมาณอยู่ระหว่าง 0.30 ถึง 0.50 จากนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าโมดูลัสแรงเฉือนของดินได้จากสมการๆ นี้

 

Gsoil = Esoil / 2(1+vsoil)

 

ทั้งนี้ผมก็ยังได้ให้คำแนะนำไปอีกว่าเราสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่า Esoil นี้จากการจำแนกประเภทของชั้นดินโดยอาจจะใช้ค่าที่ BOWLES ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ดังที่ได้แสดงอยู่ในรูปในโพสต์ที่แล้วก็ได้ ทีนี้ก็ได้มีเพื่อนบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้กรุณาสอบถามผมเข้ามาโดยมีผลสืบเนื่องมาจากคำถามข้อนี้โดยมีใจความของคำถามว่า

 

“หากเราได้สั่งการให้มีการเจาะสำรวจสภาพของดินและเราทราบคุณลักษณะและชนิดของชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่สิ่งต่อมาที่มีความกังวลก็คือ จากสภาพของคุณลักษณะของชั้นดินที่ทราบจากการทำการทดสอบดินนั้นอาจจะไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าใดนัก ไม่ทราบว่าหากเราจะไม่ทำการประเมินค่า Esoil นี้จากลักษณะหรือประเภทของชั้นดินตามคำแนะนำของอาจารย์ตามเนื้อหาในโพสต์ที่แล้ว เราจะมีวิธีการอื่นๆ ในการที่จะคำนวณหาค่า Esoil นี้ได้อีกหรือไม่ครับ?”

 

ผมต้องขออนุญาตชมเชยเพื่อนท่านนี้สำหรับคำถามข้อนี้ด้วยนะครับ เพราะจริงๆ แล้วการที่เราจะสามารถทำการประเมินหาค่า Esoil จากคุณลักษณะหรือประเภทของชั้นดินตามคำแนะนำของผมในโพสต์ก่อนหน้านี้ได้ก็คือ ข้อมูลหรือผลจากการประเมินนั้นๆ จะต้องเป็นที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น ดังนั้นหากผลของการจำแนกประเภทของดินดังกล่าวอาจจะขาดความน่าเชื่อถือไปด้วยเหตุผลประการใดประการหนึ่ง ผมก็ไม่แนะนำให้ทำการประเมินค่า Esoil ตามคุณลักษณะหรือประเภทของชั้นดินครับ

 

เอาละ หากเพื่อนๆ เจอเข้ากับกรณีๆ นี้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไปเพราะเมื่อเราได้ทำการเจาะสำรวจหาข้อมูลต่างๆ ของชั้นดินก็จะทำให้เราทราบข้อมูลของ 2 พารามิเตอร์ซึ่งถือได้ว่าเป็นค่าพารามิเตอร์ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากมากๆ ซึ่ง 2 ค่านี้ก็คือค่า STANDARD PENETRATION TEST หรือค่า SPT และค่า CONE PENETRATION TEST หรือ CPT นั่นเองครับ

 

เราจะสามารถอาศัยข้อมูลจากการรวบรวมของ BOWLES ที่ได้ทำเอาไว้ในปี 1996 ซึ่งจะเป็นสมการในการคำนวณหาค่า Esoil โดยอิงความสัมพันธ์ระหว่างค่า SPT หรือค่า CPT ก็ได้ โดยที่เพื่อนๆ สามารถที่จะดูหน้าตาของสมการเหล่านี้ได้จากรูปที่แนบมาในโพสต์ๆ นี้นะครับ

 

หมายเหตุไว้ตรงนี้นิดนึงด้วยนะครับตามคำแนะนำของผม เราควรที่จะทำการคำนวณหาค่า Esoil ออกมาโดยอาศัยทั้งค่า SPT และ CPT จากนั้นก็ขอให้เราทำการเลือกใช้งานค่าน้อยระหว่างทั้ง 2 ค่าที่เราทำการคำนวณออกมาได้ โดยที่ค่า Esoil ที่จะทำการคำนวณได้จากรูปๆ นี้จะมีหน่วยเป็น kPa และความหมายของค่าต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณภายในตารางของรูปๆ นี้ก็จะมีค่าเท่ากับและใช้หน่วยของค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้ เริ่มต้นกันที่ค่า N ก็คือ ค่าตุ้มที่ใช้ในการตอกตามมาตรฐาน หรือค่า SPT N VALUE ค่า qc คือค่า กำลังแบบไม่โอบรัด หรือ UNCONFINED COMPRESSIVE STRENGTH มีหน่วยเป็น kPa ค่า Dr คือค่า ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของมวลดิน หรือ RELATIVE DENSITY และค่า e คือค่า อัตราส่วนของช่องว่างภายในมวลดิน หรือ VOID RATIO นั่นเองครับ

 

สุดท้ายนี้ผมขอสำทับไว้ตอนท้ายอีกนิดหนึ่งด้วยว่า สมการและค่าต่างๆ ที่ผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ใช้ในตารางที่อยู่ในรูปของโพสต์ๆ นี้จะเป็นค่าผมที่ได้แชร์มาจากการใช้งานโดยตรงจากประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ ของผม ดังนั้นหากพวกเราลองทำการคำนวณออกมาแล้วพบว่า ค่าต่างๆ นั้นค่อนข้างที่จะมีความ CONSERVATIVE หน่อย ก็ไม่จำเป็นต้องแปลกอกแปลกใจไป นั่นเป็นเพราะผมในฐานะที่เป็น STRUCTURAL ENGINEER ไม่ใช่ GEOTECHNICAL ENGINEER โดยตรง ทำให้เวลาที่ผมต้องทำการออกแบบงานจำพวกวิศวกรรมฐานราก ผมก็จำเป็นที่จะต้องใช้งานอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ผมก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดานะครับ แต่หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่เป็น GEOTECHNICAL ENGINEER อยู่แล้วและเล็งเห็นว่าค่าหนึ่งค่าใดที่ผมได้แนะนำให้ใช้นั้นมีความ CONSERVATIVE มากจนเกินไปและต้องการที่จะทำการปรับแก้ก็ขอเชิญทำการปรับแก้ได้ตามใจชอบของท่านเลยนะครับ

 

จริงๆ เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้ยังจะต้องพูดกันต่ออีกสักพักใหญ่แต่ไม่เป็นไรนะครับ ผมจะขออนุญาตพักเนื้อหาของสัปดาห์นี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนไม่อย่างนั้นเพื่อนๆ อาจจะมองว่าโพสต์นี้มันยืดยาวและน่าเบื่อมากจนเกินไปและในที่สุดก็อาจจะทำให้เพื่อนๆ ไม่สามารถที่จะจับใจความสำคัญของเรื่องๆ นี้ได้ ยังไงผมจะมาพูดถึงประเด็นๆ นี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อในสัปดาห์หน้าก็แล้วกันนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายถึงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งของดินในรูปของค่าสปริงยืดหยุ่นของฐานรากแบบตื้นครั้งที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com