วิธีในการจำแนกว่า จุดต่อ SIMPLY SUPPORT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
ในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายกับเพื่อนๆ ถึงวิธีในการจำแนกว่า จุดต่อของเรานั้นเป็นจุดต่อแบบใดระหว่างจุดต่ออย่างง่าย หรือ SIMPLY SUPPORT เพียงเท่านั้น หรือ จุดต่อแบบยึดแน่น หรือ RIGID CONNECTION หรือ จุดต่อแบบกึ่งยึดแน่น หรือ SEMI-RIGID CONNECTION ไปแล้วซึ่งก็มีเพื่อนๆ หลายๆ คนให้ความสนใจและสอบถามผมเข้ามาหลังไมค์ในทำนองว่า หากจะอาศัยค่าแรงดัดของจุดต่อเป็นตัวชี้วัดตามเกณฑ์ที่ผมได้ให้ไว้ ก็ดูแล้วจะค่อนข้างมีความยุ่งยากมากพอสมควร ดังนั้นส่วนตัวแล้วหากว่าผมมีวิธีการใดๆ ที่อาจจะทำได้ง่ายต่อการจำแนกประเภทของจุดต่อของโครงสร้าง ก็อยากที่จะให้ผมได้นำมาอธิบายเพิ่มเติมน่ะครับ


ซึ่งผมก็ได้ให้คำอธิบายไปในเบื้องต้นแล้วว่าได้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างไรก็ดีเทคนิคที่มใช้นั้นก็ยังคงมีพื้นฐานมาจากหลักเกณฑ์ในการคำนวณตามเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วอยู่ดี ซึ่งเทคนิคที่ผมใช้นี้ผมจะเรียกว่า การคำนวณหาค่า สัดส่วนความแข็งแกร่งของจุดต่อ หรือ RIGIDTY RATIO OF CONNECTION นั่นเองครับ

ก่อนอื่นเรามาดูที่มาที่ไปของวิธีการนี้สักเล็กน้อยนะ โดยผมขอย้อนความไปเมื่อครั้งก่อนที่ผมได้อธิบายไปว่า ให้เราเริ่มต้นจากการคำนวณหาค่าแรงดัดของจุดต่อซึ่งก็จะแทนด้วยสัญลักษณ์ Mc ที่จุดต่อนั้นๆ จะสามารถมีความต้านทานได้ออกมาก่อน จากนั้นก็นำเอาไปเปรียบเทียบว่า หากค่า Mc นั้นมีค่าที่น้อยกว่าหรือเท่ากับค่า Wu×L^(2)/24 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่ออย่างง่ายแต่หากว่าผลการคำนวณของค่า Mc นั้นมีค่าที่สูงกว่าค่า Wu×L^(2)/24 แต่ก็พบด้วยว่าค่า Mc นั้นมีค่าที่น้อยกว่าหรือเท่ากับค่า 3×Wu×L^(2)/24 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่นและสุดท้ายหากว่าค่า Mc นั้นมีค่าที่มากกว่า 3×Wu×L^(2)/24 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่อแบบยึดแน่น ดังนั้นหากเราดูดีๆ ก็จะพบว่าค่าเกณฑ์ของค่าแรงดัดค่าแรกและค่าที่สองข้างต้นนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบของสัดส่วนของแรง ซึ่งก็จะได้แก่เกณฑ์ของค่าแรงดัดแรกนั่นก็คือ
Wu × L^(2) / 24 = 1 / 3 × [ Wu × L^(2) / 8 ] Wu × L^(2) / 24 = 0.33 × [ Wu × L^(2) / 8 ]

ส่วนเกณฑ์ของค่าแรงดัดที่สองซึ่งก็เป็นเกณฑ์สุดท้ายนั้นก็จะมีค่าเท่ากับ
3 × Wu × L^(2) / 24 = 3 / 3 x [ Wu × L^(2) / 8 ] 3 × Wu × L^(2) / 24 = 1.00 x [ Wu × L^(2) / 8 ]

ซึ่งหากเพื่อนๆ สังเกตดีๆ ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าวงเล็บก็คือค่าสัดส่วนความแข็งแกร่งของจุดต่อที่ผมได้เกล่าวถึงไปนั่นเอง ดังนั้นหากจะคำนวณง่ายๆ เราก็เพียงแค่แทนค่าของ Mc หารด้วยพจน์ของค่า แรงดัดสถิต หรือค่า STATIC MOMENT ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ Wu×L^(2)/8 หรือค่า Mo เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะได้ค่าสัดส่วนออกมาค่าหนึ่ง ต่อมาก็คือการนำเอาค่าสัดส่วนนี้ไปเปรียบเทียบโดยหากว่าค่าสัดส่วนนี้มีค่าที่น้อยกว่า 0.33 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่ออย่างง่ายและหากว่าค่าสัดส่วนนี้มีค่าที่มากกว่า 0.33 แต่ยังมีค่าที่น้อยกว่า 1.00 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่น สุดท้ายหากว่าค่าสัดส่วนนี้มีค่าที่มากกว่า 1.00 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะมี BOUNDARY CONDITION เป็นจุดต่อแบบยึดแน่นน่ะครับ

เรามาสรุปกันง่ายๆ อีกสักครั้งหนึ่งก็แล้วกันนะ เราสามารถที่จะทำการจำแนกประเภทของจุดต่อว่ามี BOUNDARY CONDITION เป็นแบบใดได้จากการแทนค่าหาสัดส่วนความแข็งแกร่งของจุดต่อออกมา โดยที่มีเกณฑ์ว่า หากค่า Mc/Mo นั้นมีค่าน้อยกว่า 0.33 แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะเป็นจุดต่อแบบอย่างง่าย แต่หากค่าสัดส่วนดังกล่าวนั้นออกมาเป็น 0.33 ≤ Mc/Mo < 1.00 ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะเป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่นและสุดท้ายหากค่าสัดส่วนดังกล่าวนั้นออกมาเป็น 1.00 ≤ Mc/Mo ก็แสดงว่าจุดต่อนั้นๆ จะเป็นจุดต่อแบบยึดแน่นนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้ประเภทของจุดต่อภายในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
#ครั้งที่5
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com